เสียงจากผู้รับบริการ

อดีตผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวขณะวิ่ง

อดีตผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวขณะวิ่ง

คุณสมชาย สอนดี ให้สัมภาษณ์

 

"...ผมเป็นคนที่ชอบวิ่งประจำครับ ไม่เคยตรวจร่างกายประจำปี เมื่อ 3 ปีก่อนเคยหน้ามืด แต่เดินต่อได้ เคยเป็นครั้งเดียว ผมไม่มีโรคประจำตัวนะ ครั้งนี้ผมลงวิ่งฮาล์ฟมาราธอน 21.1 กิโลเมตร เป็นงานแรก หลังจากหยุดมา 3 ปี เพราะโควิด ผมมีเวลาซ้อมน้อย ช่วงกิโลเมตรที่ 8 วิ่งอยู่บนสะพานที่ 2 ระหว่างหลังสะพานรู้สึกเหนื่อย แล้วหน้ามืดและไม่รู้สึกตัว หลังจากหมดสติได้รับการช่วยด้วยการทำ CPR ผมรู้สึกตัวตอนขึ้นรถพยาบาล ได้ยินเสียงคุณหมอที่เป็นนักวิ่งพูดว่า “ดีใจมากเลยที่ช่วยพี่เขาได้” ผมก็น้ำตาไหลเลยครับ..."

..คิดแค่ว่ามีคนวิ่งชนเราหรือเปล่าคิดแค่นี้เลย ผมลืมตาไม่ขึ้น เจ็บหน้าอก เวียนหัว พูดไม่ได้ ตอนนั้นเราคิดว่าตัวเองมีโอกาสแค่ 50/50 ว่าจะอยู่หรือไป ตอนมาถึงโรงพยาบาลก็เข้าห้องฉุกเฉิน มีเครื่องออกซิเจน เครื่องต่างๆ เต็มตัวเราไปหมดเลย ตอนคุณหมอทำการรักษา ทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ ผมรู้สึกตัวนะ ไม่เจ็บเลยครับ

ดีทุกอย่างเลยครับ
ทีมงานและโรงพยาบาลมีความพร้อม โดยที่ไม่ต้องรอเลย รวมถึงระบบการช่วยเหลือ การนำส่ง แม้กระทั่งห้องฉุกเฉิน ห้อง Cath Lab ห้อง CCU คุณหมอ และพยาบาล ถ้าผมไม่สบายอีกผมจะมาที่นี่อีกครับ

 

นพ.สมศักดิ์ เอกปรัชญากุล แพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ แพทย์ที่ให้การรักษากล่าวว่า

"...ตอนมาถึงโรงพยาบาลคุณสมชายรู้สึกตัวแล้วนะครับ ก็เริ่มการตรวจวินิจฉัยคนไข้ EKG มีความผิดปกติ มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เห็นได้จาก EKG ขั้นตอนต่อไปเลยรีบทำการสวนหัวใจฉีดดูว่าเส้นเลือดเป็นยังไง เส้นหัวใจเรามี 3 เส้น 1 ใน 3 เส้นตีบมาก ตีบเกือบตัน เราใช้วิธีการรักษาด้วยการสวนหัวใจ เส้นไหนตีบเราจะเอาสายสวนออกแล้วเอาบอลลูนเข้าไปรอยตามแล้วทำการขยายหลอดเลือดได้เลย หลังจากนั้นเอาขดลวดเข้าไปกางให้เป็นโครงค้ำยันหลอดเลือดไว้ ทั้งหมดทำในขั้นตอนเดียวกัน คนไข้เคสนี้ถือเป็นภาวะหัวใจหยุดเต้นนะครับ ไม่มีเลือดออกจากหัวใจ ไม่มีเลือดขึ้นสมอง ไม่กี่วินาทีก็หมดสติแล้ว การกู้ชีวิตสำคัญมากตั้งแต่ช่วง 5 นาทีแรกหลังหมดสติ ถ้าฟื้นมาได้ก็ต้องรีบทำการขยายหลอดเลือดหัวใจภายใน 4 ชั่วโมง..."

คุณสุธี รังสาคร

 

ผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น และติดเชื้อโควิด-19

คุณจัสมิน รังสาคร ลูกชายให้สัมภาษณ์

 

“ให้การรักษาแบบเข้าใจง่ายแบบอธิบายให้เข้าใจ เห็นภาพ แล้วก็รักษาไว รวดเร็วมาก”

 

คุณพ่อมีอาการแน่นหน้าอก เหมือนกินข้าวแล้วกลืนไม่ลงก็คือเป็นมาก็สักพัก ประมาณ 2 อาทิตย์ เขาก็คิดว่านอนน้อย หรือแบบว่าเป็นกรดไหลย้อนอะไรหรือเปล่า ก็ลองนอนพักเยอะขึ้น ก็ยังไม่ดี ทีนี้คือแน่นหน้าอกตลอด นอนไม่หลับ นอนไม่ได้ครับ ก็คือพอมาทราบทีหลังเหมือนเป็นอาการน้ำใกล้จะท่วมปอด เพราะเขานอนราบแล้วมันจะแน่น คือนอนไม่ได้เลย กลางคืนก็ไม่หลับ เช้าก็ไม่หลับ ก็จนคืนนั้นคุณพ่ออาการไม่ไหวแล้ว คือหายใจไม่ไหว ก็เลยไปโรงพยาบาลกันครับ โดยตรวจพบว่าหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น รักษาด้วยการผ่าตัดทำบอลลูนครับ และในช่วงนั่นประจวบเหมาะกับช่วงโอไมครอนกำลังระบาดแล้วคุณพ่อติดโควิด แต่ก็ถือว่าดีที่สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันทีเพราะช่วงนั่นหาเตียงยากครับ

 

หมอคือดูแลดีครับ เครื่องมือทันสมัย พร้อมทุกอย่างแล้วก็ให้คำแนะนำดีครับ ให้คำแนะนำในการรักษาดีว่าควรจะทำยังไงต่อไป ให้การรักษาแบบเข้าใจง่ายแบบอธิบายเข้าใจ เห็นภาพ แล้วก็รักษาไว รวดเร็วมาก แปปเดียวคุณพ่อเข็นออกมาแล้วครับ สุดท้ายที่อยากฝากนะครับ เรื่องของสุขภาพต้องตรวจสุขภาพเป็นประจำหน่อย ถ้าเราไม่ดูแลตัวเอง ก็ต้องหันมาตรวจสุขภาพ และที่อยากฝากอีกเรื่องนึงที่สำคัญคือ บางทีโรคหัวใจนี่มันอันตรายตรงที่มันสะสมครับ คิดว่ามันมองเป็นกรดไหลย้อนก็ได้ มองเป็นอย่างอื่นก็ได้ ถ้าเป็นเนิ่น ๆ ตอนที่ยังเดินไหวรีบไปดีกว่า อย่าให้แบบนอนแล้วขึ้นเปลไปมันจะไม่ทันครับ 

 

 

 

คุณวันชัย ใยโพธิ์ทอง

 

ผู้ป่วยผ่าตัดปลูกถ่ายไต

 

“รู้สึกดีมากหลังผ่าตัดแล้วไม่ต้องขับรถหรือลูกต้องพามาฟอกไตอีกแล้ว...ก็เหมือนได้ชีวิตใหม่-เหมือนเป็นคนใหม่เลยครับ

 

“...ผมเป็นโรคไต 10 ปีรวมทั้งฟอกไตคือ 11 ปีครึ่ง เป็นทั้งโรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคเกาต์ ความดันจึงได้กินยาพวกแก้ปวดเรื่อยมา ไปตรวจร่างกายประจำปีพบว่าค่าไตสูงขึ้น 1.9 จึงมารักษากับคุณหมอถนอมศักดิ์ อัศวดิลกชัย ที่ รพ.รามคำแหง ได้รับยามาทานแต่ต่อมาอาการแย่ลงก็ได้ประคองตัวมาเรื่อย ๆ และไม่ยอมฟอกไตอยู่เป็นปี จนไม่ไหวก็ได้ตัดสินใจฟอกไตอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 4 ชั่วโมงครับ ซึ่งเป็นจุดใหญ่ที่ทำให้ผมตัดสินใจเลือกเปลี่ยนไตซึ่งอาจารย์ถนอมศักดิ์ท่านแนะนำว่าโรงพยาบาลรามคำแหงมีโครงการปลูกถ่ายไตซึ่งได้ลงชื่อไว้กับสภากาชาดไทยด้วย ผมจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนี้และรออยู่ไม่ถึงปีก็ได้รับแจ้งจากหมอที่ รพ.ในช่วงคืนวันจันทร์ว่าได้รับไตแล้วและให้ผมมารอผ่าตัดที่ รพ.รามคำแหงวันอังคารและผมได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตคืนวันอังคารที่ 24 พ.ค.65 นั้นเลย เพราะได้รับการตรวจเช็คร่างกายล่วงหน้ามาแล้ว จึงได้รับการตรวจวัดความดันโลหิต คลื่นหัวใจอีกนิดหน่อย ก็ได้รับการผ่าตัดสี่ทุ่มครึ่งใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมงก็เสร็จและได้พักอยู่ในโรงพยาบาลครึ่งเดือน...คุณหมอนัดมาตรวจเป็นระยะ ๆ ครับ...รู้สึกดีมากหลังผ่าตัดแล้วไม่ต้องขับรถหรือลูกต้องพามาฟอกไตอีกแล้ว...ก็เหมือนได้ชีวิตใหม่-เหมือนเป็นคนใหม่เลยครับ...”