กินอย่างไรดี...เมื่อมีโคเลสเตอรอลสูง

February 27 / 2024

 

 

กินอย่างไรดี...เมื่อมีโคเลสเตอรอลสูง

 

 

"........ภัยเงียบ...ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจขาดเลือดหลอดเลือดสมองตีบ........ "

 

ไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ระดับไขมันในเลือดมีความสำคัญต่อการเกิดหลอดเลือดตีบตัน โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาตได้

 

 

มาทำความรู้จักกับโคเลสเตอรอล (Cholesterol) กันดีกว่า.... 

 

โคเลสเตอรอล เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่พบเฉพาะในสัตว์แม้จะไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่มีประโยชน์ในการสร้างกรดน้ำดีสำหรับย่อยไขมันในอาหาร สร้างวิตามินดี และฮอร์โมนบางชนิดรวมทั้งเป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ต่างๆ โดยส่วนหนึ่งของโคเลสเตอรอลนั้นร่างกายสร้างได้เอง และอีกส่วนหนึ่งมาจากอาหารที่รับประทาน

 

 

ปริมาณโคเลสเตอรอล 

 

(มิลลิกรัม/100กรัมของอาหาร)

 

 

ชนิดของโคเลสเตอรอลในเลือด

 

  • LDL-cholesterol (โคเลสเตอรอลชนิดไม่ดีหรือไขมันเลว) หากมีมากเกินไปจะส่งผลให้เกิดการสะสมของไขมันตามผนังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบตันได้
  • HDL-cholesterol (โคเลสเตอรอลชนิดที่ดีหรือไขมันดี) ทำหน้าที่ขนส่ง LDL-cholesterol บางส่วนจากหลอดเลือดแดงเพื่อนำกลับไปใช้ที่ตับ ซึ่งการมีระดับ HDL-cholesterol ในเลือดต่ำ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้

 

 

ระดับโคเลสเตอรอลที่เหมาะสม

 

  • ค่าโคเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) ที่ได้จากการตรวจเลือดควรมีค่าน้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • LDL-cholesterol ควรมีค่าน้อยกว่า 100-130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ขึ้นกับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล
  • HDL-cholesterol ควรมีค่ามากกว่า 40-60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 

 

 

 

สาเหตุที่ทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูง

 

  • เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ หรืออาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง
  • เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมและถ่ายทอดในครอบครัว
  • เกิดจากโรคบางอย่าง เช่น เบาหวาน โรคอ้วน ไตวาย หรือยาบางชนิด

 

 

ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อควบคุมระดับโคเลสเตอรอล

 

  1. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ (Partially hydrogenated oil) เช่น เบเกอรี่ เค้ก คุกกี้ เนยเทียม ครีมเทียม วิปปิ้งครีม
  2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไขมัน จากสัตว์ หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน กะทิ น้ำมันปาล์ม
  3. เลือกรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว 
  4. เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีเส้นใย เช่น ผัก ผลไม้ ข้าว-แป้งไม่ขัดสี 
  5. ควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอลจากอาหารน้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน
  6. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

 

 

ข้อแนะนำในการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร

 

ควรเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีไขมันทรานส์ (ไขมันทรานส์ 0 กรัม) หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง โดยดูข้อมูลได้จากฉลากโภชนาการบนผลิตภัณฑ์อาหาร

 

 

ไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาตได้

แก้ไขล่าสุด 09/06/63

 

 

 

 

 

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ความดันโลหิตสูง (ผู้ชาย) - รพ.รามคำแหง

"ตรวจสุขภาพความดันโลหิตสูงเป็นประจำ" ตรวจก่อน รู้ก่อน ก็สามารถรักษาอาการผิดปกติได้ทันที

ราคา 5,390 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวานสำหรับผู้ชาย l รพ.รามคำแหง

"โรคเบาหวาน" ไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด เป็นแล้วรักษาไม่หายขาด รู้ทันป้องกันได้

ราคา 4,890 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้ชาย คัดกรองมะเร็ง l โรงพยาบาลรามคำแหง

การตรวจคัดกรองจะช่วยป้องกันโรคในอนาคต หรือได้รับการรักษาทันท่วงที

ราคา 6,790 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานคุณผู้ชาย เพื่อลูกน้อยในอนาคต

ตรวจสุขภาพให้ชัวร์ก่อนเริ่มต้นชีวิตคู่ เพราะคุณผู้ชายอาจมีโรคแฝงและปัญหาสุขภาพที่อาจส่งผลต่อลูกน้อยและครอบครัวในอนาคต

ราคา 5,190 บาท

Running Economy โปรแกรมทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักวิ่ง

รับคำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬาเพื่อออกแบบการฝึกซ้อม การแข่งขันและเพิ่มสมรรถนะทางการวิ่ง

ราคา 4,900 บาท