จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า

August 31 / 2023

 

 

จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า

 

 


จะรู้ได้อย่างไร ว่าเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า 


คนจำนวนไม่น้อยที่รู้ว่าตัวเองกำลังเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ และมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่หลงไปว่าอาการที่ตัวเองเป็นอยู่บ่อยๆ เป็นอาการของโรคที่ไม่ร้ายแรง เป็นเพราะมีกรดในกระเพาะมาก เป็นเพราะเพลียจากการหักโหมงาน กินยาขับลมช่วยย่อย หรือพองานน้อยลงทุกอย่างก็จะดีไปเอง กว่าจะรู้ว่ามันเป็นอาการของโรคหัวใจมันก็สายไปเสียแล้ว วิธีที่ดีที่สุดจะบอกให้ได้แน่นอนว่าอาการต่างๆ ที่น่าสงสัยนั้นเป็นอาการของโรคหัวใจหรือเปล่าก็คือการไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คให้แน่ใจ

 

 

วิธีการตรวจความผิดปกติของหัวใจทำได้หลายวิธี 


การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือที่เรียกว่า EKG เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ โดยจะมีรูปแบบของคลื่นไฟฟ้าอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจอาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผิดปกติของหัวใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจถือว่าเป็นการตรวจที่ง่ายและสะดวก ผู้รับการตรวจจะไม่เจ็บ จากการตรวจ การตรวจทำได้โดยการวัดคลื่นไฟฟ้าของหัวใจผ่านทางสื่อนำคลื่นไฟฟ้าขนาดเล็กที่วางไว้ตามจุดต่างๆของร่างกาย ได้แก่บริเวณหน้าอก แขน และขา แล้วบันทึกกราฟแสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นลงบนกระดาษ ขั้นตอนการตรวจนี้ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที แต่บางทีเราอาจจะไม่พบสิ่งผิดปกติในคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจบางชนิดได้ ในการตรวจตามธรรมดา เนื่องจากถ้าหัวใจ ไม่ได้ทำงานหนักขึ้นการเปลี่ยนแปลงของคลืนไฟฟ้าหัวใจอาจจะยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งอาจต้องใช้การทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกายต่อไป 

 

 

 

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าชนิดติดตัว (Holter moniter) 


ในผู้ป่วยบางรายที่มารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้วไม่พบความผิดปกติในขณะนั้น แต่ผู้ป่วยอาจจะยังมีอาการที่น่าสงสัยว่า หัวใจอาจมีความผิดปกติ แพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดติดตัว ซึ่งผู้รับการตรวจจะต้องนำเครื่องมือนี้พกติดตัวตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้ทราบว่ากิจกรรมต่างๆ ใน 24 ชั่วโมง ของผู้รับการตรวจมีผลทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ และเมื่อครบตามกำหนดเวลาจึงนำเทปที่บันทึกไว้มาแปลผลโดยเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ต่อไป วิธีนี้จะทำให้สามารถบันทึกคลื่นหัวใจของผู้ที่มารับการตรวจในช่วงเวลาต่างกัน ในขณะที่มีกิจกรรมต่างๆ ตลอดวัน 

 

 

 

การตรวจสภาพหัวใจ (Exercise Stress Test) 


เป็นการตรวจสมรรถภาพของหัวใจโดยผู้ป่วยออกกำลังกายด้วยการเดินบนสายพานเลื่อนหรือปั่นจักรยาน เพื่อทดสอบว่าภายใต้สภาวะที่หัวใจทำงานมากขึ้น มีความต้องการออกซิเจนจากเลือดที่หล่อเลี้ยงมากขึ้นนั้น จะมีปริมาณเลือดมาเลี้ยงเพียงพอหรือไม่ ในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตันอยู่ เมื่อทำการทดสอบคลื่นไฟฟ้า หัวใจจะแสดงสภาพของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้อย่างชัดเจน และบ่งบอกระดับความรุนแรงของโรค ว่าจะต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมด้วยการสวนหัวใจแล้วหรือยัง 

 

 การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography) 


การตรวจหัวใจภายนอกโดยใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ ช่วยในการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง จะทำให้เห็นการเคลื่อนและการบีบตัวของหัวใจว่าปกติดีหรือไม่ ความเร็วและความดันเลือดเป็นอย่างไร ตลอดจนตรวจดูความพิการของหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจและโรคหัวใจชนิดอื่นๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าจะใช้การรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดและพยากรณ์โรคได้ ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้จะไม่มีอันตรายและไม่มีความเจ็บปวดใดๆ ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 20-30 นาที ใช้หลักการของการส่งคลื่นความถี่สูงลงไปบริเวณหัวใจ เมื่อกระทบส่วนต่างๆ ของหัวใจก็สะท้อนกลับมายังเครื่องเครื่องก็จะแสดงผลเป็นเงาตามความหนาบาง เนื้อเยื่อที่เลี้ยงไปกระทบและส่งกลับ ทำให้ทราบถึงรูปร่างของหัวใจ ความหนาของผนังหัวใจผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับลิ้นหัวใจ สามารถดูการเคลื่อนไหวของผนังหัวใจเปรียบเทียบกัน ทั้งขณะที่พักหรือนอนเฉยๆ กับขณะที่มีการออกกำลังกาย การตรวจวิธีนี้สามารถดูได้จากจอแสดงผล และบันทึกเก็บไว้เป็นรูปภาพได้ เพื่อการตรวจสอบต่อไปในอนาคต บางคนเรียกการตรวจวิธีนี้ว่า “ตรวจเอ็กโคหัวใจ”

 

 

 

การตรวจความผิดปกติของหลอดเลือดขนาดใหญ่ 


ตรวจความผิดปกติของหลอดเลือดขนาดใหญ่ ช่วยบ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ อัมพาต อัมพฤกษ์ ซึ่งเมื่อพบความผิดปกติ สามารถพิจารณาให้ยาเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง รวมทั้งการตรวจวัดดัชนีการแข็งตัวของหลอดเลือด โดยใช้เครื่องวัด ABI (Ankle-Brachial Index) ซึ่งเป็นการวัดความผิดปกติของหลอดเลือดด้วยการวัดแรงดันโลหิตตรงส่วนปลายขา เทียบสัดส่วนกับแรงดันโลหิตที่แขนข้างเดียวกัน ซึ่งเป็นการบ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ อัมพาต อัมพฤกษ์ ได้

 

 

 

MRI (Magnetic Resonance Imaging) 


เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยล่าสุดที่รังสีแพทย์ใช้ในการตรวจและแสดงภาพอวัยวะต่างๆ ได้ใกล้เคียงกับอวัยวะจริงมากที่สุด เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคที่มีความไวและจำเพาะในการวินิจฉัยโรค โดยการส่งผ่านคลื่นความถี่วิทยุไปยังผู้ป่วยอยู่ในอุโมงค์สนามแม่เหล็กแรงสูง ซึ่งไม่มีสารรังสีเอกซเรย์หรือสารทึบรังสีประเภทไอโอดีน ในการตรวจ MRI จะบอกความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ และสามารถใช้ดูเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ ว่าอุดตันหรือไม่ การตรวจนี้ไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหารก่อนเข้ารับการตรวจ สำหรับผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือในการนอนนิ่งๆได้ดี นานประมาณ30-90นาที โดยขณะนอนตรวจต้องนอนนิ่งๆ และหายใจเป็นจังหวะตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำ จะไม่เจ็บปวดขณะตรวจ

 


 

 

การตรวจสวนหัวใจ (Coronary angiogram) 


แพทย์จะทำการตรวจหรือการฉีดสีโดยการใช้สายสวนขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 2 มม.ใส่เข้าไปตามหลอดเลือดแดง อาจจะใส่จากบริเวณขาหนีบ ข้อพับแขน หรือข้อมือ ไปจนถึงจุดที่เป็นรูเปิดของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจทั้งซ้ายและขวา จากนั้นแพทย์จะใช้สารละลายทึบรังสีเอกซเรย์ หรือที่เรียก“สี” ฉีดเข้าทางสายสวนนั้นไปที่หลอดเลือดโคโรนารี่ (ซึ่งก็คือเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ) เพื่อตรวจสอบดูว่ามีการตีบแคบหรือตันของหลอดเลือดหรือไม่ ความรุนแรงมากน้อยขนาดไหน และที่ตำแหน่งใดบ้าง เกิดขึ้นที่เส้นเลือดกี่เส้น ล้วนเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 30 นาที-1 ชั่วโมง 

 


 

 

ตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 128 Slice 


เพื่อตรวจพยาธิสภาพของหลอดเลือดหัวใจ โดยไม่ต้องใส่สายสวนผ่านหลอดเลือดแดง เพื่อใช้ในการวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจ อีกทั้งสามารถตรวจหาปริมาณแคลเซียมหรือหินปูนที่เกาะตามผนังหลอดเลือดหัวใจ และสามารถตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ลักษณะทางกายภาพของหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจ ภาพที่ได้จะถูกประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพชัดเจน และแม่นยำใช้เวลาตรวจเพียง 15-30 นาที ผู้รับการตรวจสามารถกลับบ้านได้ทันที เมื่อทำการตรวจเสร็จ

 

 

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพ 


ก่อนที่ท่านกลับบ้าน ท่านจะได้รับการอธิบายเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและยาที่จำเป็น โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัดและบุคลากรที่ชำนาญ เพื่อให้คำแนะนำและดูแลอย่างต่อเนื่องในช่วงฟื้นฟูสุขภาพภายหลังการผ่าตัดอย่างถูกต้อง ตลอดจนการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยนำไปปฏิบัติต่อไป การกลับมาพบแพทย์ตามนัดภายหลังจากการกลับบ้านเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะอาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าเส้นเลือดของหัวใจมีการไหลเวียนโลหิตได้ดี 

 

คนจำนวนไม่น้อยที่รู้ว่าตัวเองกำลังเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ และมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่หลงไปว่าอาการที่ตัวเองเป็นอยู่บ่อยๆ เป็นอาการของโรคที่ไม่ร้ายแรง

 

 

 

 

 

Healthy heart package (ผู้หญิง)

ฝากหัวใจ..ให้เราดูแลกับ "Healthy heart package (ผู้หญิง)" ตรวจก่อนรู้ก่อน อย่าปล่อยให้หัวใจอ่อนแอ..เกินเยียวยา

ราคา 5,990 บาท

Healthy heart package (ผู้ชาย)

ฝากหัวใจ..ให้เราดูแลกับ "Healthy heart package (ผู้ชาย)" ตรวจก่อนรู้ก่อน อย่าปล่อยให้หัวใจอ่อนแอ..เกินเยียวยา

ราคา 5,990 บาท

“Healthy start program” โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

ดูแลหัวใจและปอดของคุณและคนที่คุณรัก ด้วยโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

ราคา 3,000 บาท

บริการอุปกรณ์ตรวจเช็คคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พกพาได้

ติดตามการเต้นของหัวใจแบบทางไกล เหมาะกับใครบ้าง ผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ พบอาการไม่บ่อยเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งไม่สามารถตรวจพบหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยวิธีตรวจอื่นๆ

ราคา 12,000 บาท

บันทึกการเต้นของหัวใจในโลกยุคดิจิทัล "ป้องกันภาวะหัวใจวาย"

Multiday Patch Holter (แผ่นบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ) อุปกรณ์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดแผ่น แปะติดที่หน้าอก สามารถบันทึกการเต้นของหัวใจติดต่อกันได้หลายๆ วัน

ราคา 6,000 บาท