บริการสำหรับผู้ป่วย - ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง

รายชื่อศูนย์การแพทย์หรือคลินิกของโรงพยาบาลรามคำแหง

 

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง

 



 

ด้วยทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจและหลอดเลือดครบทุกสาขา ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลรามคำแหง พร้อมดูแลรักษาหัวใจคุณตั้งแต่การป้องกัน ดูแลรักษาแก้ไขความผิดปกติของหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด ผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของหัวใจ ไปจนถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด เพื่อให้คุณได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างแข็งแรงอีกครั้ง

 

ศูนย์รักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบและความผิดปกติของหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด พร้อมให้การดูแลรักษาตลอด 24 ชั่วโมง ให้การวินิจฉัยและรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและขดลวดค้ำยัน แม้ในความผิดปกติที่ยากต่อการรักษา ด้วยการใช้หัวกรอกากเพชร (Rotablator) และหัวอัลตร้าซาวด์ภายในหลอดเลือด (IVUS) ช่วยลดโอกาสที่จะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดลงได้ การแก้ไขภาวะความผิดปกติของผนังกั้นหัวใจและลิ้นหัวใจ ด้วยการสวนหลอดเลือดเพื่อขยายลิ้นหัวใจตีบและใส่ลิ้นหัวใจเทียมหรือวัสดุปิดผนังกั้นห้องหัวใจผ่านสายสวนหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัด

 

 

ศูนย์หัวใจ

 

  • แผนกฉุกเฉินโรคหัวใจ ตลอด 24 ชั่วโมง
  • แผนกขยายหลอดเลือดหัวใจ & ฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจ
  • แผนกผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ และการผ่าตัดโรคหัวใจทุกประเภท
  • แผนกผ่าตัดหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องหัวใจ-ปอดเทียม (Off Pump Surgery)
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด (Cardiac Rehabilitation)

 

แผนกหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • หัวใจเต้นพลิ้ว AF
  • การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดปกติ ด้วยเครื่อง CARTO Technology
  • การตรวจ & วินิจฉัยผู้ป่วย ที่มีปัญหาเรื่องหัวใจเต้นผิดจังหวะ (EP&RF Ablation)
  • แผนกบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Holter Monitor)
  • การวินิจฉัยและรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ต้นตอของความผิดปกติ ด้วย CARTO XP EP navigation system
  • การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร (Pacemaker)
  • เครื่องมือที่ช่วยตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ
  • การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT 128 Slice
  • การตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงอุดตันด้วยเครื่อง ABI
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าด้วยเครื่อง EKG
  • การตรวจรักษาผู้ป่วย ที่มีความผิดปกติของการส่งสัญญาณไฟฟ้าหัวใจชนิดเต้นช้าโดยใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจใช้เครื่องวิทยุความถี่สูง
  • การตรวจรักษาผู้ป่วย ที่มีความผิดปกติของการส่งสัญญาณไฟฟ้าชนิดเต้นเร็วโดยการใช้เครื่อง CARTO
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงก่อนและหลังออกกำลังกาย (Exercise Stress Echocardiography)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหลังได้รับยา (Dobutamine Echocardiography)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านหลอดอาหาร (Trans Esophageal Echocardiography TEE)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงแบบ 3 มิติ (Echocardiography, Echo 3D)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านหลอดอาหารแบบ 3 มิติ (Trans Esophageal Echocardiography TEE 3 D)
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจ ขณะออกกำลังกายด้วยเครื่อง EST (Exercise Stress Test)
  • เครื่องบันทึกคลื่นหัวใจผิดปกติแบบพกติดตัว Loop event recorder
  • การบันทึกความดันโลหิตแบบต่อเนื่องชนิดพกติดตัว Ambulatory Blood pressure monitoring system
  • การตรวจระบบประสาทอัตโนมัติหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ (Tilt table Test)
  • รถพยาบาลฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ (Mobile CCU)
  • หออภิบาลผู้ป่วยหนักโรคหัวใจและหอพักผู้ป่วยโรคหัวใจ (Cardiac care unit/ CCU cardio ward)
  • การรักษาโรคหัวใจและการผ่าตัดหัวใจ 

 


ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหงให้การดูแลผู้ป่วยทุกท่านอย่างทุ่มเทและคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ โดยทางโรงพยาบาลมีบริการตลอด 24 ชั่วโมง ในกรณีฉุกเฉินที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จะมีการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจภายใน 90 นาทีตามมาตรฐานสากล

 

  • ระบบกระแสไฟฟ้าหัวใจ 

    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจรวมถึงการรักษาด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (ablation)
    • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
    • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจโดยใช้เครื่อง ICD (implantable cardioverter defibrillator)
    • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจโดยใช้เครื่อง CRT (cardiac resynchronization therapy)
  • กลุ่มหลอดเลือดหัวใจ 

    • การสวนหัวใจและการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ
    • การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวนและใส่ขดลวดค้ำยัน
  • หัวใจพิการแต่กำเนิด 

    • การผ่าตัดปิดรูรั่วผนังหัวใจห้องบน
    • การผ่าตัดปิดรูรั่วผนังหัวใจห้องล่าง
    • การผ่าตัดปิดเส้นเลือด ductus arteriosus ซึ่งเชื่อมอยู่ระหว่าง aorta และ pulmonary artery​​
  • ระบบลิ้นหัวใจ 

    • การผ่าตัดลิ้นหัวใจ
    • การเปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด
  • กลุ่มหลอดเลือด 

    • การใส่ขดลวดค้ำยันบริเวณหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง
    • การใส่ขดลวดค้ำยันบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต
    • การใส่ขดลวดค้ำยันบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงแขนขา

 

 

ศัลยกรรมหัวใจและช่องอก 

 

  • กลุ่มหลอดเลือดหัวใจ 
    • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจแบบที่ใช้และไม่ใช้เครื่องปอด-หัวใจเทียม
    • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดมาแล้ว​
  • กลุ่มลิ้นหัวใจ 

    • การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ
    • การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ​
  • กลุ่มหัวใจพิการแต่กำเนิด 

    • การผ่าตัดซ่อมแซมรูรั่วผนังหัวใจห้องบน
    • การผ่าตัดซ่อมแซมรูรั่วผนังหัวใจห้องล่าง
    • การผ่าตัดปิดเส้นเลือด ductus arteriosus
    • การผ่าตัดที่มีความซับซ้อนของหัวใจพิการแต่กำเนิด​
  • กลุ่มหลอดเลือด 

    • การผ่าตัดซ่อมแซมหลอดเลือดแดงโป่งพองในช่องท้อง
    • การผ่าตัดสอดสายสวนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้อง
    • การผ่าตัดสอดสายสวนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดโป่งพองในทรวงอก

 

การบริการทางการแพทย์ 

 

  • การตรวจวินิจฉัยทางหัวใจ
  • การผ่าตัดหัวใจ
  • การติดตามการทำงานของคลื่นหัวใจ
  • การตรวจเกี่ยวกับสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
  • การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
  • การตรวจหัวใจด้วยสนามแม่เหล็ก
  • การตรวจปฏิบัติการหัวใจ
  • การตรวจหัวใจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ 
  • ห้องบำบัดผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ 8 ห้อง

 

ศูนย์หัวใจ ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบโดยไม่ต้องผ่าตัด 

 

พร้อมให้การดูแลรักษาตลอด 24 ชม ให้การวินิจฉัยและรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการขยายหลอดเลือด ด้วยบอลลูนและขดลวดค้ำยัน แม้ในความผิดปกติที่ยากต่อการรักษา ด้วยการใช้หัวกรอกากเพรช (Rotablator) และหัวอัลตราซาวภายในหลอดเลือด IVUS ช่วยลดโอกาสที่จะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดลงได้ การแก้ไขภาวะความผิดปกติของผนังกั้นหัวใจและลิ้นหัวใจ ด้วยการสวนหลอดเลือด เพื่อขยายลิ้นหัวใจตีบ และใส่ลิ้นหัวใจเทียมหรือวัสดุปิดผนังกั้นห้องหัวใจผ่านสายสวนหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัด รักษาหัวใจคุณด้วยเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ/แพทย์ผู้ทำการขยายหลอดเลือดหัวใจ 

  • การตรวจรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ตลอด 24 ชั่วโมง
  • การตรวจวินิจฉัย เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ การรักษาด้วยบอลลูน ขดลวด และหัวกรอกากเพชร
  • การตรวจรักษาผู้ป่วย ที่มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจชนิดห้องขวาตีบ ด้วยบอลลูน
  • การตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของผนังกั้นห้องหัวใจด้วยวงขดลวด
  • การผ่าตัดหัวใจ และทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยใช้เครื่องหัวใจ-ปอดเทียม (Heart lung machine) และไม่ใช้เครื่องหัวใจ-ปวดเทียม (off pump surgery)
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและหัวใจ

 

 

บริการตรวจวินิจฉัยทางโรคหัวใจ 

 

  • ตรวจความผิกปกติของหัวใจด้วย Cardiac MRI
  • ตรวจความผิดปกติของหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT 128 Slide
  • ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยเครื่อง Exercise Stress Test
  • ตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง Echocardiogram
  • ตรวจหาสาเหตุภาวะเป็นลมหมดสติ Tilt table test
  • ตรวจวินิจฉัยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG
  • ตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงอุดตันด้วยเครื่อง ABI
  • ตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจพกพาเคลื่อนที่ตลอด 24-48 ชั่วโมงที่บ้าน ด้วยเครื่อง Holter monitor
  • ตรวจวินิจฉัยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และมีอาการผิดปกติผ่านทางโทรศัพท์ Event loop recorder monitor
  • ตรวจวัดความดัน 24 ชั่วโมงด้วยเครื่อง ABPM

 

 

สายด่วน Hot Line 083-990-8989   ปรึกษาปัญหาโรคหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณธนพงค์ เฉลิมราษฎร์

อดีตคนไข้โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

“ ตอนแรกผมก็ตกใจเหมือนกัน แต่ด้วยทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญและเครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้ผมเบาใจขึ้น หลังจากเข้ารับการรักษาด้วยการใส่บอลลูนขยายหลอดเลือด ผมนอนโรงพยาบาลแค่ 1 คืนก็กลับบ้านได้ ” 

จากกรณีนี้เห็นได้ชัดว่า พฤติกรรมของเราส่งผลต่อร่างกายอย่างมากนะครับ เพราะฉะนั้นการดูแลตัวเองอยู่เสมอ และการหมั่นสังเกตอาการผิดปกติแล้วรีบมาพบแพทย์ จึงเป็นทางที่ดีที่สุด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคร้ายต่าง ๆ นั่นเองครับ

เสียงจากผู้รับบริการ

ร.ต.ต.วรานนท์ ฤาไชยเกียรติ

 

“ไม่ได้เจ็บปวดแต่อย่างใดเพียงแต่รู้สึกเหมือนมีอะไรวิ่งอยู่ในตัวเท่านั้น และหลังออกจากห้องปฏิบัติการสวนหัวใจแล้วรู้สึกโล่งหน้าอกโดยไม่เจ็บแผล แค่ง่วงนิดหน่อยครับ” 

 

     เมื่อกลางดึกวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา คณะแพทย์ประจำศูนย์ขยายหลอดเลือดหัวใจ รพ.รามคำแหง ได้ทำปฏิบัติการสวนหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยรายหนึ่งคือ ร.ต.ต.วรานนท์ ฤาไชยเกียรติ อายุ 44 ปี ซึ่งหลังจากผ่านพ้นปฏิบัติการสวนหัวใจครั้งสำคัญในชีวิตแล้ว ผู้หมวดรายนี้ได้เล่าให้ฟังถึงที่มาของการเข้ารับการรักษาโรคหัวใจของตนนั้นเป็นผลจากกรณีที่แพทย์ผู้ตรวจในเบื้องต้นได้พบว่ามีไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจในระดับสูงถึง 3 เส้นหลังจากที่ตนไปเข้ารับการตรวจเพราะเกิดอาการเจ็บหน้าอกเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ได้รับทราบจากแพทย์ว่าหลอดเลือดหัวใจเส้นหนึ่งนั้นอยู่ในขั้นอุดตันแบบชนิดที่เลือดผ่านไปไม่ได้เลยหรือจะว่าตีบสนิทก็ได้ ขณะที่อีก 2 เส้นก็มีสภาพอุดตันในระดับอันตรายอีกด้วย เป็นผลให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาในเบื้องต้นแนะนำให้เข้ารับการบำบัดรักษาที่ศูนย์ขยายหลอดเลือดหัวใจ รพ.รามคำแหง ซึ่งมีความพร้อมในการบำบัดรักษาสภาวะดังกล่าวโดยไม่ต้องทำการผ่าตัดทำ “บายพาส” ซึ่งทำให้รู้สึกดีใจมากเพราะตนและครอบครัวมีความกังวลกับการผ่าตัดมาก 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณอุดมพร คชหิรัญ

 

 

“ผมรู้สึกว่าจะมีผู้ร้ายอยู่ในหัวใจโดยสงสัยว่าจะเป็นผู้ร้ายตัวใหม่ที่เข้ามาแทนที่ตัวเก่าซึ่งเคยสร้างความวุ่นวายในหลอดเลือดหัวใจจนคุณหมอต้องไล่ออกไปโดยใช้บอลลูนขยายให้ เจ้าตัวใหม่นี้ทำให้รู้สึกวูบวาบ พลิ้วเหมือนใจสั่น เหมือนอาการคนหิวจัดๆ เหมือนจะเป็นลม มันเต้นเร็วเหลือเกินแต่ไม่ได้ตกใจเพราะรู้ดีว่าจะทำให้หัวใจยิ่งเต้นเร็วขึ้น จึงพยายามตั้งหลักสูดหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ แล้วค่อยๆ ผ่อนลงจึงตั้งสติไปโรงพยาบาลใกล้ที่สุดและเคยรักษากันอยู่ก่อนแต่ตรวจทุกอย่างแล้วปกติ หัวใจไม่ขาดเลือด ฉีดสีดูก็เห็นหัวใจปลอดโปร่งจึงกลับบ้านก็เป็นอีก เลยเชื่อว่าต้องมีผู้ร้ายตัวใหม่ซ่อนอยู่แน่ คุณหมอผู้รักษาจึงแนะให้ปรึกษากับคุณหมอบัญชา และนัดไปตรวจที่รพ.รามคำแหงซึ่งมีทีมงานและเครื่องตรวจจับผู้ร้ายในหัวใจโดยใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงเพื่อค้นหาและจัดการจี้ด้วยคลื่นวิทยุจนเจ้าตัวร้ายถูกกำจัดและหัวใจของผมกลับมาเต้นเป็นปกติครับ” 

  • การรักษาหลอดเลือดหัวใจ โดยไม่ต้องผ่าตัด

  • การวัดสมรรถภาพความฟิตของร่างกาย ด้วยเทคโนโลยี VO2 MAX

  • อาการปวดหลังกับโรคหัวใจ

  • เทคโนโลยีวัดอัตราเผาผลาญออกซิเจนในปอดขณะออกกำลังกาย CPET

  • การพัฒนาสมรรถภาพหัวใจด้วยเทคโนโลยีVO2MAX

  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจกับการรับชมกีฬา

  • ความเครียดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ

  • สัญญาณเตือนโรคหัวใจ

  • ภาวะลิ่มเลือดในปอด

  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • การตรวจสวนหัวใจ

  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณธนพงค์ เฉลิมราษฎร์

อดีตคนไข้โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

“ ตอนแรกผมก็ตกใจเหมือนกัน แต่ด้วยทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญและเครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้ผมเบาใจขึ้น หลังจากเข้ารับการรักษาด้วยการใส่บอลลูนขยายหลอดเลือด ผมนอนโรงพยาบาลแค่ 1 คืนก็กลับบ้านได้ ” 

จากกรณีนี้เห็นได้ชัดว่า พฤติกรรมของเราส่งผลต่อร่างกายอย่างมากนะครับ เพราะฉะนั้นการดูแลตัวเองอยู่เสมอ และการหมั่นสังเกตอาการผิดปกติแล้วรีบมาพบแพทย์ จึงเป็นทางที่ดีที่สุด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคร้ายต่าง ๆ นั่นเองครับ

เสียงจากผู้รับบริการ

ร.ต.ต.วรานนท์ ฤาไชยเกียรติ

 

“ไม่ได้เจ็บปวดแต่อย่างใดเพียงแต่รู้สึกเหมือนมีอะไรวิ่งอยู่ในตัวเท่านั้น และหลังออกจากห้องปฏิบัติการสวนหัวใจแล้วรู้สึกโล่งหน้าอกโดยไม่เจ็บแผล แค่ง่วงนิดหน่อยครับ” 

 

     เมื่อกลางดึกวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา คณะแพทย์ประจำศูนย์ขยายหลอดเลือดหัวใจ รพ.รามคำแหง ได้ทำปฏิบัติการสวนหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยรายหนึ่งคือ ร.ต.ต.วรานนท์ ฤาไชยเกียรติ อายุ 44 ปี ซึ่งหลังจากผ่านพ้นปฏิบัติการสวนหัวใจครั้งสำคัญในชีวิตแล้ว ผู้หมวดรายนี้ได้เล่าให้ฟังถึงที่มาของการเข้ารับการรักษาโรคหัวใจของตนนั้นเป็นผลจากกรณีที่แพทย์ผู้ตรวจในเบื้องต้นได้พบว่ามีไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจในระดับสูงถึง 3 เส้นหลังจากที่ตนไปเข้ารับการตรวจเพราะเกิดอาการเจ็บหน้าอกเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ได้รับทราบจากแพทย์ว่าหลอดเลือดหัวใจเส้นหนึ่งนั้นอยู่ในขั้นอุดตันแบบชนิดที่เลือดผ่านไปไม่ได้เลยหรือจะว่าตีบสนิทก็ได้ ขณะที่อีก 2 เส้นก็มีสภาพอุดตันในระดับอันตรายอีกด้วย เป็นผลให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาในเบื้องต้นแนะนำให้เข้ารับการบำบัดรักษาที่ศูนย์ขยายหลอดเลือดหัวใจ รพ.รามคำแหง ซึ่งมีความพร้อมในการบำบัดรักษาสภาวะดังกล่าวโดยไม่ต้องทำการผ่าตัดทำ “บายพาส” ซึ่งทำให้รู้สึกดีใจมากเพราะตนและครอบครัวมีความกังวลกับการผ่าตัดมาก 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณอุดมพร คชหิรัญ

 

 

“ผมรู้สึกว่าจะมีผู้ร้ายอยู่ในหัวใจโดยสงสัยว่าจะเป็นผู้ร้ายตัวใหม่ที่เข้ามาแทนที่ตัวเก่าซึ่งเคยสร้างความวุ่นวายในหลอดเลือดหัวใจจนคุณหมอต้องไล่ออกไปโดยใช้บอลลูนขยายให้ เจ้าตัวใหม่นี้ทำให้รู้สึกวูบวาบ พลิ้วเหมือนใจสั่น เหมือนอาการคนหิวจัดๆ เหมือนจะเป็นลม มันเต้นเร็วเหลือเกินแต่ไม่ได้ตกใจเพราะรู้ดีว่าจะทำให้หัวใจยิ่งเต้นเร็วขึ้น จึงพยายามตั้งหลักสูดหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ แล้วค่อยๆ ผ่อนลงจึงตั้งสติไปโรงพยาบาลใกล้ที่สุดและเคยรักษากันอยู่ก่อนแต่ตรวจทุกอย่างแล้วปกติ หัวใจไม่ขาดเลือด ฉีดสีดูก็เห็นหัวใจปลอดโปร่งจึงกลับบ้านก็เป็นอีก เลยเชื่อว่าต้องมีผู้ร้ายตัวใหม่ซ่อนอยู่แน่ คุณหมอผู้รักษาจึงแนะให้ปรึกษากับคุณหมอบัญชา และนัดไปตรวจที่รพ.รามคำแหงซึ่งมีทีมงานและเครื่องตรวจจับผู้ร้ายในหัวใจโดยใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงเพื่อค้นหาและจัดการจี้ด้วยคลื่นวิทยุจนเจ้าตัวร้ายถูกกำจัดและหัวใจของผมกลับมาเต้นเป็นปกติครับ”