อาการ สาเหตุ และการรักษา ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ
อาการ สาเหตุ และการรักษา ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ
August 18 / 2022

 

อาการ สาเหตุ และการรักษา ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ

 

 

ฮอร์โมนเพศชายต่ำ หรือ Hypogonadism เป็นภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายได้ไม่เพียงพอ ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้มีส่วนช่วยในการสร้างและรักษามวลกล้ามเนื้อ มวลกระดูก อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบุคลิกทางเพศ เมื่อขาดฮอร์โมนชนิดนี้จะส่งผลให้ร่างกายไม่มีแรง ความรู้สึกและอารมณ์ทางเพศลดลง และมีการผลิตอสุจิน้อยลงในเพศชายซึ่งนำไปสู่ภาวะมีลูกยากได้ โดยภาวะนี้เกิดจากการที่ต่อมใต้สมองหรือต่อมเพศเกิดความผิดปกติ จึงทำให้ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศได้อย่างเพียงพอ

 

 

สาเหตุของภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ

อาการฮอร์โมนเพศชายต่ำอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • อุบัติเหตุบริเวณลูกอัณฑะ อาจจะมีการบาดเจ็บร่วมด้วย เช่น แผลบาดเจ็บ การทำหมัน การฉายรังสี หรือ การทำเคมีบำบัด
  • การติดเชื้อที่ลูกอัณฑะ
  • ความผิดปกติทางด้านฮอร์โมนจากโรคเลือดกับสมอง เช่น โรคหรือเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง ซึ่งเป็นส่วนที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนเพศ
  • โรคที่เกี่ยวกับระบบต่างๆ เช่น โรคเอดส์ โรคตับและไตเรื้อรัง ไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วน
  • มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น สูบบุหรี่จัด ดื่มสุรา มีความเครียดสูง พักผ่อนไม่เพียงพอ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

 

 

 

อาการของภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ

ผู้ชายที่มีระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำ ส่งผลกับด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ทำให้มีอาการดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดง่าย
  • ไม่กระฉับกระเฉง
  • มวลกระดูกและกล้ามเนื้อลดลง
  • อ้วนลงผุงหรือมีเส้นรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว
  • นอนไม่หลับ
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • อวัยวะเพศแข็งตัวได้ไม่เต็มที่
  • ขาดความมั่นใจ หรือซึมเศร้า

 

 

 

ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำรักษาได้อย่างไร?

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย สามารถรักษาได้ด้วยการเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย มี 2 วิธีหลักๆ คือ

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เป็นการลดปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย และเพิ่มปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นร่างกายให้สร้างฮอร์โมนเพศชายได้ดีขึ้น มีรายละเอียดดังนี้

  • งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ควบคุมการรับประทานอาหารประเภทแป้งและไขมันให้เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานของหวานและของทอด เน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/วัน ทำ 5 วัน/สัปดาห์
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อย หรือมากจนเกินไป
  • พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียดจนเกินไป

 

 

2.รักษาด้วยยา หรือที่เรียกว่า "การให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน" เป็นการให้ฮอร์โมนเพศชายเพื่อเสริมส่วนที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น การคงสภาวะกระดูก กล้ามเนื้อ อารมณ์ ความต้องการทางเพศ และสมรรถภาพทางเพศ การให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน มี 3 รูปแบบหลักๆ ได้แก่

  • ยารับประทาน
  • ยาทาผิวหนัง เป็นลักษณะเจลใสบรรจุอยู่ในซอง ใช้ทาบนผิวหนังที่แห้งและสะอาด บริเวณหัวไหล่ ต้นแขน หรือหน้าท้อง
  • การฉีดยา โดยจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อของผู้เข้ารับการรักษา

 

 

การรักษาด้วยยาจะต้องทำร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

แก้ไข

18/08/2565

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี

อายุมากขึ้นสุขภาพก็ต้องมาก่อนกับโปรแกรมตรวจสุขภาพผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี

ราคา 4,200 บาท

Strong & Healthy package ผู้ชาย

"ใครที่โหมงานหนักทุกวัน จนร่างกายใกล้พัง..อย่ารอช้า! “แพ็กเกจตรวจสุขภาพ เอาใจวัยทำงาน” ตอบโจทย์แน่นอน

ราคา 8,490 บาท

แพ็กเกจผ่าตัดคลอดแบบเหมาจ่าย...อุ่นใจ สบายกระเป๋า

ดูแลครอบคลุม คุ้มค่ากับราคาเหมาๆ ดูแลใส่ใจคุณแม่และลูกน้อยทุกขั้นตอนอย่างดีที่สุด

ราคา 72,000 บาท

Premium Health package ผู้ชาย

"เพราะปัญหาสุขภาพอาจไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า อย่ารอให้เจ็บป่วยค่อยใส่ใจ"

ราคา 3,990 บาท

Healthy heart package (ผู้หญิง)

ฝากหัวใจ..ให้เราดูแลกับ "Healthy heart package (ผู้หญิง)" ตรวจก่อนรู้ก่อน อย่าปล่อยให้หัวใจอ่อนแอ..เกินเยียวยา

ราคา 5,990 บาท