โรคสั่น (ET : Essential Tremor) อีกภาวะที่ไม่ใช่โรคพาร์กินสัน

March 24 / 2025

โรคสั่น

 

 

 

 

     โรคสั่น เป็นภาวะที่ทำให้ร่างกายเกิดการสั่นโดยไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งมักพบในมือและแขน แต่ไม่ใช่โรคพาร์กินสันแม้จะมีอาการคล้ายคลึงกัน โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ การวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องจะช่วยทุเลาอาการและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

 

โรคสั่นแบบไม่ทราบสาเหตุ

     โรคสั่นชนิด ET (Essential Tremor) คือภาวะผิดปรกติซึ่งเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะสมองส่วนเซรีเบรั่มซึ่งทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวและการทรงตัว ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการสั่นขณะเคลื่อนไหว เช่น ขณะเอื้อมมือจับแก้วน้ำ โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพันธุกรรม

 

อาการของโรคสั่น

     อาการเกิดได้กับทุกอายุซึ่งมักเกิดกันทั้งสองข้างพร้อม ๆ กัน บางรายอาจมีอาการหัวสั่นหรือเสียงสั่น โดยอาการเหล่านี้อาจได้รับผลกระทบจากพันธุกรรมถึง 50 เปอร์เซ็น อาการอาจเป็นมากขึ้นเวลามีความเครียด ภาวะหมดแรงและการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

 

โรคพาร์กินสันและโรคสั่นแตกต่างอย่างไร

     อาการของโรคพาร์กินสันจะเกิดได้ขณะผู้ป่วยอยู่นิ่ง แต่โรคสั่นเกิดขณะเริ่มเคลื่อนไหวร่างกาย โดยทั้งสองโรคต่างมีจุดที่เหมือนกัน นั่นคือจะเริ่มสั่นเมื่อเกิดอาการเครียด ตื่นเต้นและตกใจ


 

การวินิจฉัยของโรคสั่น

     การวินิจฉัยโรคอาการสั่นชนิด ET อาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกายจากแพทย์ทางระบบประสาทและการตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุอื่นของการสั่น เช่น โรคไทรอยด์

 

 

 

 

โรคสั่น

 


 

 

การรักษาโรคสั่น

     ผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์เฉพาะโรคเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เบื้องต้นแพทย์จะต้องรู้ก่อนว่าผู้ป่วยใช้ยาชนิดใดมาก่อนหรือไม่ เช่น ยาขยายหลอดลม ยาจิตเวช จากนั้นแพทย์จึงเลือกการรักษาร่วมกับการฟื้นฟูที่เหมาะสม ปัจจุบันสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดแบบ Deep Brain Stimulation  ในรายที่เป็นมากซึ่งไม่สามารถควบคุมด้วยยา 

 

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคสั่นชนิด ET

เนื่องจากโรคสั่นเป็นกลุ่มอาการที่สืบเนื่องจากพันธุกรรม การรักษาโรคเป็นแบบประคับประคอง กล่าวคือ แพทย์อาจเลือกรักษาด้วยยาหรือไม่ใช่ยาที่ก่อเกิดอาการสั่นดังกล่าว

 

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ก่อเกิดอาการสั่น เช่น คาเฟอีน
  • รักษาโรคที่ทำให้เกิดอาการสั่น เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล
  • ควรปรึกษาแพทย์เรื่องการทานยาลดอาการสั่น หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวร่วม เช่น โรคหอบหืด


 

แหล่งอ้างอิง

ดร. นพ. จรุงไทย เดชเทวพร. (2560). โรคสั่น โดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากอะไร ?. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2568,

จาก https://bit.ly/4b3SgGm