โรคสมองเสื่อม มีกี่ระยะและมีวิวัฒนาการวินิจฉัยอย่างไร

April 08 / 2025

ระยะของโรคสมองเสื่อม

 

 

     โรคสมองเสื่อมไม่ได้เกิดจากแค่อายุที่มากขึ้น แต่ยังรวมถึงลักษณะการใช้ชีวิตโดยรวมที่ผ่านมา การรู้ถึงระยะของโรคและเข้าพบหมอเพื่อรับการตรวจก่อนเกิดโรคทำให้เราเตรียมรับมือป้องกันการเกิดโรคได้ดียิ่งขึ้น

 

6 ระยะของโรคสมองเสื่อม

     NIA-AA (National Institute on Aging – Alzheimer’s Association) ได้กำหนด 6 ระยะของ AD โดยเน้นไปที่ความสามารถด้านการรับรู้และการทำงานในชีวิตประจำวัน ดังนี้

 

1) ช่วงก่อนแสดงอาการ

  • ระยะ 1 ยังไม่แสดงอาการผิดปกติทางความคิดและความจำ แต่เริ่มมีความผิดปรกติเกิดขึ้นแล้ว
  • ระยะ 2 หรือ ‘TCD’ อาจหลงลืมเล็กน้อยแต่ไม่กระทบต่อชีวิต
  • ระยะ 3 หรือช่วง ‘MCI’ เมื่อถึงระยะนี้ ผู้ป่วยจะจำเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้ เริ่มมีปัญหาเรื่องการตัดสินใจหรือทำกิจกรรมที่ซับซ้อน อย่างไรก็ตาม ผู้นั้นสามารถใช้ชีวิตตามปรกติได้ แต่เริ่มต้องการความช่วยเหลือบางด้าน 

 

 

โรคสมองเสื่อม ระยะ

 

 

2) ช่วงแสดงอาการ

  • ระยะ 4 ระยะแรก ประสิทธิภาพการคิดและการจำลดลง เริ่มลืมเหตุการณ์สำคัญของชีวิตหรือจำชื่อคนไม่ได้ ผู้ป่วยอาจเริ่มมีอารมณ์แปรปรวนหรือหลงลืมตำแหน่งของสิ่งของบ่อยขึ้น
  • ระยะ 5 ระยะปานกลาง ประสิทธิภาพการคิด การจำและอารมณ์ลดลงอย่างชัดเจนและส่งผลต่อการใช้ชีวิต เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า ซึ่งเป็นระยะที่ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
  • ระยะที่ 6 ระยะรุนแรง การทำงานของสมองเสื่อมลงอย่างหนัก ผู้ป่วยจึงสูญเสียความสามารถในการทำกิจกรรมพื้นฐานและต้องพึ่งพาผู้อื่นตลอดเวลา


 

อ่านเพิ่มเติม: 5 สัญญาณบ่งอาการโรคสมองเสื่อม ขี้ลืมบ่อย ความจำเสื่อม


 

วิวัฒนาการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม

     วงการแพทย์ได้พัฒนาเกณฑ์การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมควบคู่กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในแต่ละสมัย โดยแพทย์ขอแบ่งวิวัฒนาการวินิจฉัยโรคเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรก ช่วงกลาง และช่วงปัจจุบัน

 

 

โรคสมองเสื่อม ระยะ

 

 

1) การวินิจฉัยโรคช่วงเริ่มแรก ปี 1984 - 1999

     NINCDS-ADRDA จัดเป็นเกณฑ์แรกที่ใช้วินิจฉัยโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ โดยอาศัยการซักถาม ดูประวัติ ดูอาการและการตรวจร่างกายผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี ทำให้แพทย์ยังไม่สามารถตรวจหาตัวบ่งชี้โรคจากเลือดได้ แพทย์จึงจำแนกระยะของโรคเป็นแบบกว้างว่าผู้ป่วย ‘มีอาการ’ หรือ ‘มีแนวโน้ม’ เป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่

 

 


ระหว่างนั้นกลุ่มแพทย์จึงได้ศึกษาโรคจนพบว่าผู้ป่วยมีภาวะสูญเสียความจำระยะสั้นหรือ Amnastic Syndrome ร่วมด้วย


 

 

 

ระยะของโรคสมองเสื่อมระยะของโรคสมองเสื่อม


 

2) การวินิจฉัยโรคช่วงกลาง (2004 - 2014)

     ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้แพทย์สามารถตรวจเชิงลึกผ่าน ‘ตัวบ่งชี้’ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อม เช่น CSF Aβ42 โปรตีนเทาว์ (P-Tau) อะไมลอยด์เบต้า (Beta-Amyloid) ในเนื้อสมอง หากสิ่งเหล่านี้มีปริมาณมากหรือน้อยเกินไปย่อมส่งผลให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง ก่อนกลายเป็นอาการหลงลืมบ่อย  ลืมสิ่งที่พูดไปเมื่อไม่นาน ซึ่งเรียกรวมว่า  ‘MCI’ (Mild Cognitive Impairment)

 

รู้จักกับ MCI

     MCI เป็นช่วงกึ่งกลางก่อนกลายเป็นโรคสมองเสื่อม เราจึงต้องรู้สิ่งผิดปรกติในร่างกายก่อนเกิด MCI โดยไม่ละเลยพิจารณาการเกิดโรคจากสาเหตุอื่น เช่น ภาวะสมองฝ่อ โรคหลอดเลือดสมอง


 

3)  การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมในปัจจุบัน

     เมื่อตรวจเชิงลึกได้จึงเกิดแนวคิด ATN Framework เพื่อให้รู้ถึงกระบวนการก่อนเกิดโรคและช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้แม่นยำยิ่งขึ้น เหตุผลนี้ทำให้เรารู้ว่าตัวเรานั้น ‘มีแนวโน้ม’ ว่าจะเป็นโรคสมองเสื่อมตั้งแต่ระยะก่อนมีอาการ หากเราเจอ ‘ตัวบ่งชี้’ (Biomarkers) ควบคู่กับอาการที่สังเกตเห็น

 

อ่านเพิ่มเติม: การวินิจฉัยและการตรวจหาสาเหตุของโรคสมองเสื่อม

 

 

 

โรคสมองเสื่อม ระยะ

 

 

 

การรักษาตามระยะของโรค

อาการของโรคจะทุเลาลงได้จำเป็นต้องอาศัยการรักษาแบบองค์รวมทั้งการใช้ยา การปรับพฤติกรรม การดูแล แรงใจจากครอบครัว โดยแพทย์เป็นผู้วางแผนการรักษาที่เหมาะสมตามอาการ

 

  • ระยะเริ่มต้น (MCI) เน้นปรับพฤติกรรม ออกกำลังกาย ฝึกสมอง ใช้ยาชะลออาการ
  • ระยะปานกลาง ใช้ยากลุ่ม Cholinesterase Inhibitors และดูแลเรื่องพฤติกรรม
  • ระยะรุนแรง ดูแลแบบประคับประคอง ลดอาการกระสับกระส่าย และจัดการภาวะแทรกซ้อน