นพ. พีรธัช โชคมั่งมีพิศาล
กุมารเวชศาสตร์ ระบบประสาทวิทยา
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 กลายเป็นวิกฤตด้านสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อทุกคน โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ยังมีพัฒนาการของสมองและร่างกายไม่สมบูรณ์ การได้รับ PM 2.5 ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจเพียงอย่างเดียว อนุภาคขนาดเล็กจิ๋วนี้สามารถเล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือด และส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงสมองของเด็กที่กำลังพัฒนา
อนุภาคขนาดเล็กทำให้ฝุ่นสามารถเข้าสู่กระแสเลือดและส่งผลไปยังอวัยวะต่าง ๆ ที่ไม่ใช่แค่ปอด งานวิจัยจากการหาปริมาณความสัมพันธ์ระหว่างมลพิษทางอากาศ PM2.5 กับการสูญเสียไอคิวในเด็ก พบว่า ‘มลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ (PM2.5) เป็นพิษต่อระบบประสาทและเป็นภัยต่อพัฒนาการทางระบบประสาทและพฤติกรรมของเด็ก ซึ่งส่งผลให้การทำงานด้านสติปัญญาลดลง’
ฝุ่น PM2.5 สามารถทำให้เลือดกำเดาไหลได้รับเพียงเล็กน้อย เนื่องจากฝุ่น PM2.5 สามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจและก่อความระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูกและหลอดเลือดในจมูก ซึ่งอาจส่งผลให้หลอดเลือดในจมูกแตกได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีสุขภาพที่อ่อนแอหรือมีปัญหาทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจหรือหลอดเลือด เช่น ผู้ที่มีโรคภูมิแพ้ หอบหืด หรือมีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือด
การสัมผัสกับฝุ่น PM2.5 ในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจและหลอดเลือด ทั้งยังก่อเกิดอาการอื่น เช่น หอบหืด ไอเรื้อรัง หรือแม้แต่เลือดกำเดาไหลได้ในบางกรณี
หน้ากาก N95 มีประสิทธิภาพการกรองฝุ่นได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม การทดลองล่าสุดพบว่า การใช้หน้ากากอนามัยและทิชชู่ 1 แผ่น มีประสิทธิภาพได้ดีเทียบเท่ากับหน้ากาก N95 ถึง 98.05% ดังนั้นการเลือกหน้ากากอนามัยควบคู่กับทิชชู่ที่มีคุณภาพล้วนช่วยป้องกันฝุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทิชชู่ 1 แผ่น ป้องกันได้ดีกว่า ทิชชู่ 2 แผ่น เนื่องจาก โครงสร้างของเส้นใย วัสดุที่ใช้ และการไหลเวียนของอากาศที่เหมาะสมมีผลต่อประสิทธิการกรอง การเสริมชั้นกรองที่ไม่ได้ออกแบบมาให้เหมาะสมกับการกรองฝุ่น (อย่างการใช้ทิชชู่) อาจทำให้เกิดช่องโหว่ที่ลดประสิทธิภาพโดยรวมลง การใช้หน้ากากอนามัยและทิชชู่เป็นเพียงอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดโอกาสฝุ่นเข้าสู่ร่างกาย หากเทียบกับการสวมใส่หน้ากากอนามัยธรรมดาเพียงชั้นเดียว ที่สำคัญควรสวมหน้ากากให้กระชับกับใบหน้าและใส่อย่างถูกวิธี
กุมารเวชศาสตร์ ระบบประสาทวิทยา