เสียงจากผู้รับบริการ

คุณยายกิมกี อินดี

 

ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจตีบกับหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

“ผู้ป่วยวัย 97 ปี รักษาด้วยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติก โดยไม่ต้องผ่าตัดผ่านทางสายสวน (TAVI)”

 

“…ในช่วง “โควิด-19” เริ่มระบาดรุนแรงขึ้น “คุณยายกิมกี” จึงบอกลูกหลานว่าของดไปหาหมอไว้ก่อน แต่หลังจากห่างหมอไปราว 7-8 เดือนก็เกิดอาการเป็นลมถึง 3-4 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ ลูก-หลานที่คอยดูแลจึงพาคุณยายไปโรงพยาบาลใกล้บ้านเพราะเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินไม่ควรรอช้า แต่ด้วยความไว้วางใจโรงพยาบาลรามคำแหงจึงติดต่อขอมารักษากับคุณหมอวิชัย  ศรีมนัส ที่ “รพ.รามคำแหง” เมื่อมาถึงก็ได้รับการตรวจวินิจฉัยตามขั้นตอนจนไปถึง “การฉีดสีสวนหัวใจ” อย่างเร่งด่วน จึงพบสาเหตุและได้รับการรักษาต่อเนื่องโดยทราบว่าปัญหาอยู่ที่ “โรคลิ้นหัวใจตีบ” กับ “หัวใจเต้นผิดจังหวะ” ซึ่งบุตรสาวคือ “คุณพอศรี อินดี” ได้ให้ข้อมูลว่าตอนแรกก็มาด้วยเหนื่อย...คอเลสเตอรอลสูงเล็กน้อย คุณแม่มีเบาหวานแล้วก็มีหัวใจด้วย ตอนที่มาหาอาจารย์ก็ได้ยารักษามาเรื่อย ๆ 3-4 เดือนก็จะมา Follow Up ครั้งหนึ่งค่ะ แต่ช่วงนั้นได้ขาดหายไป 7 เดือน...จริง ๆ แล้วอยู่ที่บ้านก็พยายามให้เดิน แล้วก็ทำกายภาพฯ ยกแขน-ยกขา แต่ก็เหนื่อยมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่เราเห็นว่าชีพจรไม่ได้เร็วหรือช้ามากคืออยู่ในเกณฑ์...วัดน้ำตาล วัดความดันแล้วก็อยู่ในเกณฑ์ปกติ จึงไม่ได้คิดว่าจะมีเรื่องหลอดเลือดหัวใจอุดตัน แต่เรื่องลิ้นหัวใจตีบคุณหมอวิชัย ขอตรวจมานานแล้วเพียงแต่เราไม่กล้าให้ตรวจสวนหัวใจ จนกระทั่งมาเกิดเป็นลมจึงบังคับให้ต้องเลือกแล้ว...พามาส่งเย็นวันนั้นก็สวนหัวใจเลยค่ะ..”

คุณเถลิง พลวรรณาภา

 

ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคหัวใจ เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

 

“ที่มาก็เพื่อให้รู้ว่ามันดีกี่เปอร์เซ็นต์ ต้องเช็คว่าเวลาเหนื่อยแล้วหัวใจจะปกติหรือไม่...ความดันเป็นเท่าใด คือมีมอนิเตอร์เช็คผลตั้งแต่เราเริ่มเดิน เขาจะเช็คทุกขั้นตอน”

 

ผู้สูงวัยที่มีโรคเบาหวานและมีประวัติการรักษากับโรงพยาบาลอยู่แล้ว โดยมีโรคแทรกซ้อนถึงกับต้องเข้ารับการสวนขยายหลอดเลือดหัวใจ และเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูที่ “ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด” ที่ “รพ.รามคำแหง” ซึ่งได้ให้เหตุผลในการมาเข้ารับการฟื้นฟูว่า “...ผมมาที่นี่เพราะมีประวัติอยู่ อีกอย่างคือคุณหมอเก่งๆ ทั้งนั้น มีการทำเป็นแพ็คเกจเฉพาะโรคของผู้สูงอายุซึ่งต้องคอยมารับการตรวจติดตามอยู่เรื่อยๆ ...ส่วนที่มาฟื้นฟูสมรรถภาพก็เพื่อให้รู้ว่ามันดีกี่เปอร์เซ็นต์ ต้องเช็คว่าเวลาเหนื่อยแล้วหัวใจจะปกติหรือไม่...ความดันเป็นเท่าใดเขาจะเช็คทุกขั้นตอนเลย คือก็มีมอนิเตอร์เช็คผลตั้งแต่เราเริ่มเดิน เช่นเรื่องน้ำตาลเป็นยังไงก่อนออกกำลังกายแล้ว มันมีผลให้น้ำตาลยุบไปกี่เปอร์เซ็นต์และถ้าเหนื่อยมากจะลดลงมาเท่าไหร่...ในกรณีเรื่องหัวใจนั้นอย่างแรกคือต้องการความพร้อมทั้งแพทย์ที่มีความรู้และเครื่องมือ จึงแนะนำด้วยความเป็นห่วงว่าถ้าพร้อมที่จะดูแลร่างกายละก็ไปเข้าโรงพยาบาลที่มีระบบดีกว่า...”

โดยในกรณีของคุณเถลิง ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์...ผู้ชำนาญการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอด และการออกกำลังกาย ได้ให้เหตุผลสำคัญอย่างแรกคือ เพื่อปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงต่อการที่โรคหลอดเลือดจะเกิดการตีบซ้ำจากปัจจัยเสี่ยงเช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง และจากการมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง รวมทั้งอ้วน ซึ่งคุณเถลิงเองก็เป็นเบาหวานโดยยังคุมน้ำตาลได้ไม่ค่อยดี จึงอาจมีโอกาสกลับมาเกิดการตีบใหม่ได้มากกว่าคนที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ เพราะฉะนั้นก็เลยเข้ามาทำการฟื้นฟูฯ ตามโปรแกรมออกกำลังกาย ซึ่งช่วยให้น้ำตาลลดลง จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการที่จะช่วยให้คุมน้ำตาลในเลือดในกรณีที่เป็นเบาหวานได้ดีขึ้น อีกอย่างหนึ่งคือ ช่วยให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น แข็งแรงขึ้น มีประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งถ้าทำต่อเนื่องไปในระยะยาวจะช่วยให้ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดการตีบซ้ำลดลงครับ 

มีข้อแนะนำดังนี้ “...โดยทั่วไป ข้อแรกคือถ้าเป็นคนไข้เบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสูง และมีเครื่องเจาะน้ำตาลก็จะให้หมั่นเจาะน้ำตาลตรวจบ่อยหน่อยหนึ่ง เพื่อให้ทราบว่าน้ำตาลมันสวิงมากน้อยแค่ไหนในช่วงเช้า - กลางวัน - บ่าย - เย็น จะได้ติดตามดูแลเรื่องการรับประทานอาหารได้ถูก ข้อที่ 2 คือ เมื่อติดตามตรวจวัดจนทราบระดับน้ำตาลแน่ชัดแล้วจะได้รู้แน่ว่าเขาควรจะออกกำลังกายมากน้อยแค่ไหน ถ้าสมมุติมันสูงในช่วงเช้าแต่จะต่ำในช่วงเย็น โดยชอบไปเดินออกกำลังตอนเย็นเขาก็จะได้รู้ว่า เขาควรจะเดินมากแค่ไหนอย่างไร ส่วนคำแนะนำอื่นๆ เช่น ปัจจัยเสี่ยงต่อการที่จะกลับมาตีบใหม่นั้น ควรต้องควบคุมอย่างไร ควรจะรับประทานอาหารอย่างไร ซึ่งถ้าต้องการให้ละเอียดมากเราก็จะจัดให้พบนักกำหนดอาหาร แต่โดยคร่าวๆ แล้วไม่ได้หมายความว่าจะทานไม่ได้เลย...ยังคงทานได้ทุกอย่างแต่ให้จำกัดปริมาณ เพราะบางคนจะเข้าใจว่าไม่กินหวาน ห้ามกินหวาน อย่างนั้นก็ไม่ใช่ เพราะว่าบางทีกินข้าวก็ทำให้น้ำตาลขึ้นอย่างนี้เป็นต้น..สำหรับคุณเถลิงนั้นดูดีขึ้น ดูเขามั่นใจขึ้นจากที่ช่วงแรกๆ จะกังวลว่าน้ำตาลสูงไปไหม แต่หลังจากเราเจาะน้ำตาลให้เขาเห็นว่าพอออกกำลังกายแล้วมันลดลงเขาก็เริ่มมั่นใจขึ้น ออกกำลังได้มากขึ้นโดยไม่มีอาการที่ผิดปกติครับ...”

 

 

 

คุณสุนทรีย์ นกงาม

 

ผู้ป่วยเนื้องอกต่อมใต้สมอง 

หลังจากผ่าประมาณ 3 เดือน ประจำเดือนก็เริ่มมา โดยรวมแล้วมันก็ดีขึ้น
 

ตอนแรกไปหาหมอสูติก่อนว่าปวดท้อง แล้วก็ประจำเดือนไม่มาตรวจภายในก็ปกติ เขาก็เลยส่งไปตรวจเลือด

เขาบอกมันมีค่าตัวหนึ่งเป็นค่าฮอร์โมนต่อมใต้สมองผิดปกติ เขาก็เลยส่งไปที่แผนกต่อมไร้ท่อ

จนให้ทำ MRI ก็ไปเจอก้อนเนื้ออยู่ที่ต่อมใต้สมอง

 

แล้วเขาก็ส่งไปผ่าตัด แต่ปรากฏว่ายังผ่าไม่ได้เพราะไปเจอว่าเป็นเชื้อราตรงโพรงไซนัสอีก ต้องผ่าตัดไซนัสก่อน

แล้วก็มีญาติแนะนำมาว่าถ้าเกิดผ่าตัดสมองผ่า รพ.รามคำแหงดีไหม มีหมอรักษาดี แล้วราคาก็แบบไม่ได้สูงมาก ก็เลยหาข้อมูลเกี่ยวกับ รพ.รามคำแหง

 

การผ่าตัดเนื้องอกต่อมใต้สมอง ก็เลยตัดสินใจเอาฟิล์มเอกซเรย์ไปหาหมอนภสินธุ์ ซึ่ง นพ.นภสินธุ์ กับ นพ.ภูริปัณย์ ผ่าตัดร่วมกัน