เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
การตรวจหาหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ตรวจคัดกรองระดับหินปูนที่เกาะบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
หินปูนเกาะบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ เกิดจากการสะสมของแคลเซียมในหลอดเลือดแดง ทั้งการเสื่อมโดยธรรมชาติหรืออาจเกิดจากการอักเสบที่จุดใดจุดหนึ่งจนร่างกายสร้างแคลเซียมมาป้องกันบาดแผลบริเวณที่อักเสบ
หินปูนยังสามารถแฝงตัวมากับคราบไขมันมาเกาะติดบริเวณหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบตัน โดยมีการศึกษาพบว่าหินปูนเพียงเล็กน้อยที่เกาะตามผนังหลอดเลือดหัวใจก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้
การตรวจ Calcium Score จะทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงหรือความเสื่อมของหลอดเลือดได้ตั้งแต่ระยะแรกที่มีการตีบไม่มากไปจนถึงตีบมากได้ แต่การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน (EST: Exercise Stress Test) เป็นการหาภาวะขาดเลือดขณะออกกำลังกายหรือหัวใจทำงานหนัก เมื่อเลือดไหลผ่านน้อยจึงส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นอก คลื่นไฟฟ้าหัวใจก็เปลี่ยนแปลงไป การตรวจทั้งแบบจึงควรตรวจควบคู่กัน
Calcium Score เป็นการตรวจที่หา “ความเสื่อม” ของหลอดเลือดหัวใจตั้งแต่ระยะแรกและช่วยประเมิน “ความเสี่ยง” ของโรคหัวใจได้ดี รวดเร็ว พร้อมส่งต่อการรักษาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย
ปริมาณหินปูนที่พบในหลอดเลือดยังสัมพันธ์กับปริมาณตะกรันในหลอดเลือด (Plague burden) กล่าวคือ ค่ายิ่งมากแปลว่าหลอดเลือดยิ่งเสื่อมมาก หรือมีโอกาสเสี่ยงสูงเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมักไม่มีอาการใดๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป อาจมีอาการต่าง ๆ เช่น
เพราะการป้องกันโรคหัวใจนี้ สามารถทำได้ง่ายๆ และทำได้ทุกคน ไม่ว่าจะเสี่ยงมากหรือน้อย เช่น
Calcium Score คือการตรวจหาด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อสำรวจ ‘ความเสื่อม’ ของเส้นเลือดหัวใจ และประเมิน ‘ความเสี่ยง’ ของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในอนาคต แม้จะยังไม่มีอาการแสดง
แก้ไข
18/10/2566