วิ่ง ออกกำลังกายแล้ว “ วูบ ” ระวังภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

June 20 / 2023

 

วิ่ง ออกกำลังกายแล้ว “ วูบ ” ระวังภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

 

  

 

ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันหรือหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (sudden cardiac arrest) คือภาวะที่หัวใจหยุดเต้นอย่างปัจจุบันทันด่วน ทำให้ไม่มีเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงสมองและร่างกาย ผู้ป่วยจะหมดสติ ล้มลง หยุดหายใจหรือหายใจเฮือก บางครั้งอาจมีอาการเกร็งกระตุกเนื่องจากสมองขาดอออกซิเจน อาจทำให้ผู้เห็นเหตุการณ์เข้าใจผิดว่าเป็นโรคลมชักได้ จัดเป็นภาวะฉุกเฉินวิกฤต ผู้ป่วยจะเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

 

 

ขณะเดินออกกำลังกาย เห็นคนนอนอยู่ที่พื้นจะรู้ได้อย่างไรว่านอนหลับเฉยๆ หรือหัวใจวายเฉียบพลัน ต้องการการกู้ชีวิตให้ประเมินดูสภาพแวดล้อมว่าคนที่หลับตามหลับปกติจะมาหลับบริเวณนี้ ในลักษณะนี้หรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจ ให้รีบประเมินลักษณะสำคัญสามอย่างของหัวใจวายเฉียบพลัน คือ

 

1. หมดสติเรียกไม่รู้สึกตัว 

2. หัวใจหยุดเต้นคลำชีพจรไม่ได้และ

3.หยุดหายใจหน้าอกไม่ขยับขึ้นลง ไม่มีลมเคลื่อนเข้าออกผ่านจมูก

นอกจากนี้อาจมีลักษณะอื่นๆ เช่น ใบหน้าหรือริมฝีปากเขี้ยวคล้ำจากการขาดออกซิเจน

 

 

 

ใครเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันบ้าง

 

าวะหัวใจวายเฉียบพลันเกิดกับใครก็ได้ทั้งคนที่มีโรคหัวใจอยู่เดิมหรือคนที่ไม่มีโรคหัวใจ ข้อมูลพบว่า 2 ใน 3 ของคนที่เกิดหัวใจวายเฉียบพลันจะเป็นคนที่แข็งแรงอยู่ก่อน เราจึงได้ยินข่าวเสมอถึงการเสียชีวิตเฉียบพลันในนักกีฬาหรือคนหนุ่มวัยฉกรรจ์ และที่สำคัญคือการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันจะเกิดขึ้นเวลาใดก็ได้ ที่ไหนก็ได้ คือไม่เลือกเวลา ไม่เลือกสถานที่ อาจเกิดในห้องน้ำ ในห้องนอน ตลาด รถไฟฟ้า สวนสาธารณะ ข้อมูลพบว่า 2 ใน 3 เกิดในบ้าน ซึ่งเป็นสถานที่ที่การกู้ชีวิตทำได้ยาก จึงมีโอกาสรอดชีวิตต่ำมาก

 

 

หัวใจวายเฉียบพลันในนักกีฬาพบได้บ่อยหรือไม่

 

อุบัติการณ์การเกิดหัวใจวายเฉียบพลันในนักกีฬาแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยทั่วไปจะพบประมาณ 0.1-0.8 รายต่อนักกีฬา 100,000 รายต่อปี ซึ่งยังถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ แต่เมื่อเกิดแล้วจะได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจึงมีผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก เนื่องจากคนเชื่อว่านักกีฬาควรเป็นคนที่แข็งแรงที่สุดก็ยังเกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้...แล้วคนธรรมดาที่ไม่ใช่นักกีฬาจะเป็นอย่างไร...ในเมื่อเป็นแบบนี้แล้วเราจะออกกำลังกายไปทำไม...

 

 

 

กีฬาแต่ละประเภทมีความเสี่ยงเท่ากันหรือไม่

 

กีฬาที่เกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้บ่อยมักเป็นกีฬาที่ทำให้หัวใจต้องทำงานหนัก หัวใจจะบีบตัวแรงและเร็วเพื่อไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอในขณะเล่นกีฬา เช่น บาสเก็ตบอล ฟุตบอล วิ่งมาราธอน นอกจากนี้ กีฬาที่มีโอกาสกระทบกระทั่งกันมาก ๆ เช่น รักบี้ อเมริกันฟุตบอล บางครั้งอาจมีการกระแทกหน้าอกอย่างแรงทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรงและเสียชีวิตได้ (Commotio cordis) การวิ่งมาราธอนก็มักเกิดเหตุการณ์ในระยะ 5 กิโลเมตรสุดท้ายก่อนถึงเส้นชัย เนื่องจากนักวิ่งมีการอ่อนล้าแล้วและมีการเร่งเพื่อให้เข้าถึงเส้นชัย การขาดน้ำและเกลือแร่จากการเสียเหงื่อ อาจเป็นปัจจัยเสริมให้เกิด กีฬาเบา ๆ เช่นกอล์ฟ วิ่งเหยาะ ๆ ปั่นจักรยานจะพบน้อยกว่า นอกจากนี้คือจะพบในนักกีฬาชายมากกว่านักกีฬาหญิง

 

 

 

สาเหตุของหัวใจวายเฉียบพลันในนักกีฬา

 

ถ้าอายุมากกว่า 35 ปีส่วนใหญ่เกิดจากโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ถ้าอายุน้อยกว่า 35 ปี ผู้ป่วยมักจะมีโรคหัวใจที่ผิดปกติแต่กำเนิดหลบซ่อนอยู่ เช่นกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติชนิดต่าง ๆ เช่น hypertrophic cardiomyopathy, arrhythmogenic right ventricular cardiomyopathy, โรคหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ, โรคระบบไฟฟ้าหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด เช่น long QT syndrome, WPW syndrome, Brugada syndrome เป็นต้น

 

 

จะป้องกันหัวใจวายเฉียบพลันในนักวิ่งได้อย่างไร

 

าตรการที่จะกล่าวต่อไปนี้ สามารถใช้ได้กับการเล่นหรือแข่งขันทุกประเภทนอกจากการวิ่ง โดยมีมาตราการหลัก 3 ข้อประกอบด้วย

 

อย่างแรกคือ ตรวจคัดกรอง ให้กับผู้เป็นนักกีฬาหรือผู้จะเข้าร่วมการแข่งขัน หรือ Preparticipation screening ทั้งนี้ ผู้ที่จะเข้าเป็นนักกีฬาสมัครเล่นหรืออาชีพ ควรได้รับการตรวจหาพื้นฐานโรคหัวใจและความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน โดยเฉพาะผู้มีปัจจัยเสี่ยงเช่นอายุมากกว่า 35 ปี สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มีประวัติโรคหัวใจหรือเสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหัวใจในครอบครัว โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรืออาจตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ที่เรียกว่า Echo cardiogram ส่วนในกรณีที่นักกีฬามีอายุมากกว่า 35 ปีหรือสงสัยว่าจะมีหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ แพทย์อาจส่งตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลัง ที่รู้จักกันดีว่า exercise stress test 

 

อย่างที่ 2 คือ ผู้รับผิดชอบนักกีฬาเช่นผู้ปกครอง เจ้าของทีมหรือเจ้าของสถานที่ฝึกซ้อมหรือแข่งขันต้องจัดให้มีการปฏิบัติการกู้ชีพที่มีประสิทธิภาพซึ่งต้องมี “เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า” ที่เรียกย่อ ๆ ว่า AED รวมอยู่ด้วยให้พร้อมอยู่เสมอ สามารถปฏิบัติการกู้ชีพได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ ขั้นตอนนี้พบว่ามีความสำคัญเพราะสามารถลดอัตราการตายลงได้มาก

 

สุดท้ายคือ ต้องให้ความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางการป้องกันการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันแก่นักกีฬาเอง บางครั้งก่อนเกิดเหตุอาจมีอาการเตือนหรือผิดปกติเล็ก ๆ น้อย ๆ นำมาก่อน เช่นแน่นหน้าอก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ แต่นักกีฬาอาจละเลยไม่สนใจ เนื่องจากขาดความรู้ หรือกลัวอดลงแข่งขัน

 

ในปัจจุบันได้มีการติดตามการเต้นของหัวใจของนักวิ่งด้วยอุปกรณ์บันทึกการเต้นของหัวใจชนิดติดตัว ลักษณะเหมือนแผ่นพลาสเตอร์ปิดแผลขนาดใหญ่ซึ่งสามารถทนน้ำ-ทนเหงื่อ และบันทึกการเต้นของหัวใจขณะมีการเคลื่อนไหวได้  เมื่อวิ่งเสร็จก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์ดูว่าตลอดการวิ่งพบหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจขาดเลือดหรือไม่ เพื่อจะได้วางแผนการดูแลรักษาต่อไป บางงานวิจัยติดตามการเต้นแบบ real time โดยส่งข้อมูลการเต้นของหัวใจคนไข้ผ่านระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ต ระบบ 4G/Wi-Fi เมื่อพบความผิดปกติ ทีมแพทย์ก็จะแจ้งเตือนไปที่ตัวนักกีฬาให้ลดความเร็วลงหรือให้หยุด หรือส่งทีมแพทย์เข้าไปให้การรักษาได้ทันที แต่ยังมีข้อจำกัดทางเทคโนโลยีอยู่บ้างสำหรับการส่งสัญญาณชีพแบบ real time ในบริเวณที่มีคนอยู่จำนวนมากทั้งนักวิ่งทั้งผู้เข้าชมและมีการใช้ช่องสัญญาญอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้การติดตามหาตัวนักวิ่งที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะท่ามกลางนักวิ่งจำนวนมากก็ทำได้ลำบาก คงต้องใช้เทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น โดรนมาช่วย

 

 

 

AED คืออะไร

 

AED คือ เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ ย่อมาจาก Automated External Defibrillator ใช้สำหรับกู้ชีวิตผู้ป่วยที่เกิดภาวะ หัวใจวายเฉียบพลันจากหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้วหรือเต้นเร็วขึ้นรุนแรง ภาษาอังกฤษเรียกว่า ventricular tachycardia/ventricular fibrillation เครื่องจะทำการวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจโดยอัตโนมัติ และแนะนำให้ผู้ใช้กดปุ่มเพื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าออกไปเพื่อกระตุกหัวใจให้กลับมาเต้นเป็นปกติ

 

ซึ่งกรณีที่ผู้ป่วยหัวใจวายเฉียบพลันที่ไม่ได้เกิดจากหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว แต่เกิดจากหัวใจหยุดเต้น หัวใจไม่มีการบีบตัวเครื่องจะไม่แนะนำให้ช็อค แต่จะแนะนำให้ทำการปั๊มหัวใจต่อไป เครื่องจะทำการให้จังหวะการปั๊มหัวใจและวิเคราะห์การเต้นของหัวใจทุก 2 นาที โดยเครื่องได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานง่าย บุคคลทั่วไปที่ไม่รู้จักเครื่องก็สามารถทำตามขั้นตอนต่างๆที่เครื่องแนะนำได้ อย่างไรก็ตามการฝึกฝนให้รู้จักและใช้งานได้ จะทำให้การกู้ชีพทำได้เร็วกว่าและดีกว่า การใช้เครื่อง AED ร่วมกับการปั๊มหัวใจที่มีประสิทธิภาพจะเพิ่มโอกาสรอดชีวิต 2-3 เท่า

 

 

 

แก้ไข

20/06/2566

Time To Fit ทดสอบสมรรถภาพทางกายโดยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

เมื่อใจพร้อมลุย ร่างกายก็ต้องพร้อมด้วยมาเช็กความฟิตก่อนไปทำกิจกรรมที่คุณชอบ

ราคา 8,730 บาท

แพ็กเกจศูนย์หัวใจ ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบ แบบไม่ต้องผ่าตัด

ราคา 33,000-120,000 บาท

บันทึกการเต้นของหัวใจในโลกยุคดิจิทัล "ป้องกันภาวะหัวใจวาย"

Multiday Patch Holter (แผ่นบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ) อุปกรณ์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดแผ่น แปะติดที่หน้าอก สามารถบันทึกการเต้นของหัวใจติดต่อกันได้หลายๆ วัน

ราคา 6,000 บาท

ตรวจดูคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT cardiac

รู้ทัน ป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจ โดยที่ไม่ต้องรอให้เกิดอาการ

ราคา 5,700 บาท

Healthy heart plus package (ผู้ชาย)

ฝากหัวใจ..ให้เราดูแลกับ "แพ็กเกจตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Healthy heart plus package" ตรวจก่อนรู้ก่อน อย่าปล่อยให้หัวใจอ่อนแอ

ราคา 6,990 บาท

Healthy heart plus package (ผู้หญิง)

ฝากหัวใจ..ให้เราดูแลกับ "Healthy heart plus package" ตรวจก่อนรู้ก่อน อย่าปล่อยให้หัวใจอ่อนแอ

ราคา 6,990 บาท

Advanced Intensive heart package (ผู้ชาย)

หมั่นดูแลสุขภาพหัวใจ

ราคา 9,990 บาท

Advanced Intensive heart package (ผู้หญิง)

หมั่นดูแลสุขภาพหัวใจ

ราคา 9,990 บาท

Advanced Intensive heart plus (ผู้ชาย)

ตรวจหัวใจ...แบบเจาะลึก

ราคา 14,990 บาท

Advanced Intensive heart plus (ผู้หญิง)

ตรวจหัวใจ...แบบเจาะลึก

ราคา 14,990 บาท