วูบหมดสติ เกิดจากโรคหัวใจหรือโรคทางสมองกันแน่?
"วูบ เป็นลม หมดสติ" หลายคนมักเข้าใจว่าเกิดจากร่างกายอ่อนเพลีย พักผ่อนน้อย ยืนตากแดดนาน เสียเหงื่อ น้ำและเกลือแร่ จากอาการท้องเสีย ซึ่งส่งผลให้มีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม อาการวูบเกิดได้หลายสาเหตุและที่สำคัญอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงอื่น เช่น โรคหัวใจหรือโรคทางสมอง ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน...
อาการวูบ (Syncope) เป็นภาวะความผิดปรกติของร่างกาย ซึ่งมักเกิดจากเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้รู้สึกเวียนศีรษะ ใจหวิว คลื่นไส้ ทรงตัวไม่อยู่ บางคนอาจมีอาการเตือนล่วงหน้ามาก่อนหน้า เช่น รู้สึกหนักศีรษะ รู้สึกโคลงเคลง ไม่มีแรงประคองตัว ตามัวลงหรือมองเห็นภาพเป็นจุด ฯลฯ แล้วจึงเริ่มมีอาการวูบหรือเป็นลม
ผู้ป่วยมักมีอาการหน้ามืด ใจสั่น มวนท้อง เหงื่อแตก ตัวเย็น คลื่นไส้อาเจียน ที่สำคัญคือมักมีอาการวูบในช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่อตื่นขึ้นมาก็ยังจำเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ได้และกลับมาเป็นปกติได้ ซึ่งทั้งหมดนี้อาจเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจอุดตัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือโรคที่เกิดจากโครงสร้างหัวใจผิดปกติ เช่น ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว หรือโรคอื่นที่ส่งผลให้สูบฉีดเลือดไม่คล่องตัวจนทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
ผู้ป่วยมักมีอาการวูบร่วมกับอาการทางระบบประสาทอื่น เช่น อาการชักเกร็ง เหม่อ สับสน เมื่อตื่นจากอาการวูบ ผู้ป่วยจะไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ได้ หรืออาจมีอาการอื่นร่วมด้วยเมื่อฟื้นขึ้นมา เช่น ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด ชา อ่อนแรงครึ่งซีก ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของภาวะทางสมอง เช่น
การรักษาและควบคุมภาวะวูบหมดสตินั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรค บางสาเหตุรักษาหายได้ บางสาเหตุอาจไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถรักษาเพื่อลดความรุนแรงและโอกาสเกิดโรคได้ ทั้งยังช่วยให้เราปรับการใช้ชีวิตเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการอาการวูบ
ผู้ที่เคยมีอาการวูบ เป็นลมหมดสติ และไม่แน่ใจสาเหตุการเกิด ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสม เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้...
ผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดควรสังเกตอาการวูบที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
แก้ไข
30/05/2566