แผนกเบาหวาน โรงพยาบาลรามคำแหง

รายชื่อศูนย์การแพทย์หรือคลินิกของโรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

แผนกเบาหวาน โรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

     แผนกเบาหวาน โรงพยาบาลรามคำแหงให้บริการวินิจฉัย การประเมินผล การรักษา และการติดตามผลผู้ป่วยโรคเบาหวานภายใต้การดูแลของแพทย์ชำนาญการด้านเบาหวานและต่อมไร้ท่อ แพทย์ชำนาญการด้านโรคอ้วน นักโภชนาการและบุคลากรทางการแพทย์อื่นที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้แผนกเบาหวานยังมีแพทย์ชำนาญเฉพาะด้านศัลยกรรมหลอดเลือดคอยดูแลและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีปัญหาหลอดเลือดส่วนปลายตีบตัน เพื่อลดโอกาสการตัดเท้าจากแผลเบาหวานเรื้อรังได้

 

อ่านเพิ่มเติม: ศูนย์รักษาแผลเบาหวานที่เท้า โรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

แผนกเบาหวาน


 

บริการสุขภาพจากแผนกเบาหวาน

  • ประเมินภาวะเสี่ยงและให้คำปรึกษาถึงวิธีการป้องกันโรคเบาหวาน
  • ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงกับคนปกติเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
  • ดูแลรักษาภาวะเบาหวานในขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
  • ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโภชนาการเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความเสี่ยงที่โรคต่าง ๆ
  • ให้บริการรักษาโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น โรคทางระบบหลอดเลือด การรักษาแผลที่หายยาก
  • ให้บริการด้านความรู้เกี่ยวการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
  • ให้การวินิจฉัยและรักษาโรคทางระบบต่อมไร้ท่อ (ฮอร์โมน)
  • ให้บริการโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
  • ให้บริการตรวจหาภาวะโรคหลอดเลือดแดงอุดตันด้วยเครื่อง ABI
  • ให้การรักษาแผลเบาหวานที่เท้าโดยไม่ต้องผ่าตัดด้วยการใช้สายสวนหลอดเลือดและโครงค้ำยัน

 

ห้องตรวจและเครื่องมือทางการแพทย์ มีห้องตรวจ จำนวน 8 ห้อง

  • ห้องตรวจที่เป็นส่วนตัวสำหรับแพทย์ในการตรวจร่างกาย
  • ห้องประเมินสัณญาณชีพ
  • ห้องตรวจวัดภาวะหลอดเลือดแดงอุดตัน (ABI)
  • ห้องแนะนำให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
  • ห้องแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับยาฉีดเบาหวานและสื่อการสอนที่ให้ลองปฏิบัติได้จริง
  • ห้องแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารโรคเบาหวานภายใต้การดูแลของนักกำหนดอาหารชำนาญการ
  • ห้องตรวจ Duplex ultrasound สำหรับตรวจภาวะหลอดเลือดอุตตัน 
  • เครื่อง Pulse oximeter สำหรับตรวจความเข้มข้นของออกซิเจนในหลอดเลือด 

 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณฮวด  ตั้งสิทธิกร

ผู้ป่วยแผลเบาหวานที่เท้า

 

" คุณฮวด  ตั้งสิทธิกร ผู้มีวัย 71 ปีได้เล่าให้ฟังว่าเป็นเบาหวานมา 37 ปีแล้ว ส่วนแผลที่เท้าเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เองโดยมีบุตรสาวคือ คุณศิริพร ช่วยเป็นภาระในการดูแลทำแผลเองบ้าง พาไปหาหมอทั้งแถวๆ บ้านและที่โรงพยาบาลเป็นประจำ ตอนแรกเป็นแผลแค่นิ้วหัวแม่โป้งเดียวแต่รักษานานเป็นปียังไม่ยอมหาย แถมยังเกิดแผลตามมาอีกเรื่อยๆ จนกระทั่งต้องถูกตัดรวมแล้ว 4 นิ้ว และแผลกำลังเริ่มลามไปนิ้วที่ 5"

 

ญาติสนิทได้เห็นในรายการโทรทัศน์ว่าที่โรงพยาบาลรามคำแหงมีวีธีขยายเส้นเลือดช่วยรักษาแผลให้ผู้ป่วยเบาหวานได้ จึงรีบพาคุณฮวดมาติดต่อรับการรักษาโดยทันที

 

หลังจากคุณหมอสุทัศน์รับตัวคุณฮวดเข้าไปทำการตรวจอย่างละเอียดแล้ว ได้อธิบายให้ทราบว่าต้นเหตุเกิดจากเส้นเลือดที่ขา ซึ่งหมายถึงเส้นเลือดส่วนปลายเกิดการอุดตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงถึงปลายเท้า จึงส่งผลให้แผลที่เกิดขึ้นนั้นรักษาไม่หาย และประสาทในบริเวณนั้นจะไม่เกิดการรับรู้ใดๆ ผู้ป่วยจึงไม่รู้สึกเจ็บแผล และได้นำคนไข้เข้ารับการฉีดสีเพื่อดูสภาวะของหลอดเลือดส่วนปลาย และตรวจพบว่าบริเวณที่เกิดการตีบตันอยู่ที่ใต้เข่าลงไป และเส้นเลือด หรือหลอดเลือดของคนไข้เกิดภาวะตีบตันสนิทไปแล้ว 2 เส้นจากที่มีด้วยกัน 3 เส้นและเส้นที่เหลืออยู่ยังเกิดอุดตันเป็นช่วงๆ รวม 2 ตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งที่ตันไปแล้วมีความยาวถึง 8 ซม. และ 12 ซม.

 

แพทย์ทำการรักษาโดยการสอดใส่บัลลูนเข้าไปในหลอดเลือดจนถึงตำแหน่งที่ตีบตันและปั๊มอากาศเข้าไปทำให้บัลลูนพองตัวออกรอบด้านซึ่งเป็นผลให้หลอดเลือดที่อุดตันขยายตัวพองขึ้นทันทีทำให้เลือดสามารถไปเลี้ยงยังปลายเท้า ทำให้รอดจากการถูกตัดนิ้วเท้าที่เหลือได้ทัน

 

 

  • ออกซิเจนบำบัด Hyperbaric Oxygen Therapy ตัวช่วยรักษาโรคให้หายเร็วขึ้น

  • การใช้ฮอร์โมนข้ามเพศคืออะไร?..

  • เบาหวานกับตัวช่วยในการคุมน้ำตาล

  • สัญญาณเตือนไทรอยด์เป็นพิษ

  • การเตรียมตัวก่อนเข้ารับวัคซีน-19ในผู้ป่วยเบาหวาน

  • การรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  • ไขมันในเลือดสูงกับเบาหวาน

  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

  • เบาหวานที่จอตา

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณฮวด  ตั้งสิทธิกร

ผู้ป่วยแผลเบาหวานที่เท้า

 

" คุณฮวด  ตั้งสิทธิกร ผู้มีวัย 71 ปีได้เล่าให้ฟังว่าเป็นเบาหวานมา 37 ปีแล้ว ส่วนแผลที่เท้าเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เองโดยมีบุตรสาวคือ คุณศิริพร ช่วยเป็นภาระในการดูแลทำแผลเองบ้าง พาไปหาหมอทั้งแถวๆ บ้านและที่โรงพยาบาลเป็นประจำ ตอนแรกเป็นแผลแค่นิ้วหัวแม่โป้งเดียวแต่รักษานานเป็นปียังไม่ยอมหาย แถมยังเกิดแผลตามมาอีกเรื่อยๆ จนกระทั่งต้องถูกตัดรวมแล้ว 4 นิ้ว และแผลกำลังเริ่มลามไปนิ้วที่ 5"

 

ญาติสนิทได้เห็นในรายการโทรทัศน์ว่าที่โรงพยาบาลรามคำแหงมีวีธีขยายเส้นเลือดช่วยรักษาแผลให้ผู้ป่วยเบาหวานได้ จึงรีบพาคุณฮวดมาติดต่อรับการรักษาโดยทันที

 

หลังจากคุณหมอสุทัศน์รับตัวคุณฮวดเข้าไปทำการตรวจอย่างละเอียดแล้ว ได้อธิบายให้ทราบว่าต้นเหตุเกิดจากเส้นเลือดที่ขา ซึ่งหมายถึงเส้นเลือดส่วนปลายเกิดการอุดตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงถึงปลายเท้า จึงส่งผลให้แผลที่เกิดขึ้นนั้นรักษาไม่หาย และประสาทในบริเวณนั้นจะไม่เกิดการรับรู้ใดๆ ผู้ป่วยจึงไม่รู้สึกเจ็บแผล และได้นำคนไข้เข้ารับการฉีดสีเพื่อดูสภาวะของหลอดเลือดส่วนปลาย และตรวจพบว่าบริเวณที่เกิดการตีบตันอยู่ที่ใต้เข่าลงไป และเส้นเลือด หรือหลอดเลือดของคนไข้เกิดภาวะตีบตันสนิทไปแล้ว 2 เส้นจากที่มีด้วยกัน 3 เส้นและเส้นที่เหลืออยู่ยังเกิดอุดตันเป็นช่วงๆ รวม 2 ตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งที่ตันไปแล้วมีความยาวถึง 8 ซม. และ 12 ซม.

 

แพทย์ทำการรักษาโดยการสอดใส่บัลลูนเข้าไปในหลอดเลือดจนถึงตำแหน่งที่ตีบตันและปั๊มอากาศเข้าไปทำให้บัลลูนพองตัวออกรอบด้านซึ่งเป็นผลให้หลอดเลือดที่อุดตันขยายตัวพองขึ้นทันทีทำให้เลือดสามารถไปเลี้ยงยังปลายเท้า ทำให้รอดจากการถูกตัดนิ้วเท้าที่เหลือได้ทัน