ศูนย์รักษาแผลเบาหวานที่เท้า โรงพยาบาลรามคำแหง
จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเป็นแผลเบาหวานที่เท้า
ในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคนี้เช่นมีอาการปวดชาที่ขาเวลาเดินหรือมีแผลที่เท้าเกิดขึ้นนานเกินสองสัปดาห์นอกจากประวัติและตรวจร่างกายซึ่งจำเป็นต้องทำในทุกรายแล้วยังมีการตรวจคัดกรองด้วยการวัดความดันเทียบระหว่างขากับแขนที่เรียกว่า Ankle-Brachial index หรือ ABI ซึ่งสามารถบอกได้คร่าวๆว่าผู้ป่วยภาวะนี้ซ่อนอยู่หรือไม่โดยเฉพาะในรายที่อาการไม่แน่ชัดหรือไม่มีอาการ
เทคโนโลยีที่ง่าย ปลอดภัย และคุ้มค่าในการตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันด้วยเครื่อง ABI การตรวจไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและทราบผลได้ในเวลาอันรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องงดน้ำ อาหาร ก่อนเข้ารับการตรวจ
ทำไมถึงต้องรักษา? แผลเบาหวานที่เท้า
ผู้ป่วยเบาหวานนอกจากมีปัญหาเรื่องหลอดเลือดที่ขาตีบตันแล้วตัวโรคเบาหวาเองยังทำให้เท้าชาอีกด้วย เมื่อเกิดแผลที่เท้าก็มักถูกปล่อยละเลย เพราะแผลไม่เจ็บปวดจนทำให้แผลลุกลามมีการติดเชื้อจนถึงขนาดต้องตัดขาบางรายมีการติดเชื้อรุนแรงอาจอันตรายถึงชีวิตการตัดนิ้วเท้าหรือตัดเนื้อตายเพียงอย่างเดียวมักไม่ทำให้แผลหายแต่กลับยิ่งทำให้แผลลุกลามมากขึ้นถึงขั้นเสียขาได้ ดังนั้นโรคนี้จึงต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องจึงจะหายและรักษาขาไว้ได้
แผลเบาหวานที่เท้ารักษาอย่างไร?
เทคโนโลยี...รักษาแผลเบาหวานที่เท้า
การรักษาแผลเบาหวานที่เท้าที่เกิดจากโรคหลอดเลือดตีบตันมีหลายวิธี ผู้ป่วยที่การตีบตันเพียงเล็กน้อยอาจเริ่มด้วยการใช้ยารักษา กรณีที่ผู้ป่วยมีพยาธิสภาพมากขึ้นจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่มากขึ้น เช่นการสอดสายสวนขยายหลอดเลือด การผ่าตัดตัดต่อ Bypass เส้นเลือดเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงที่ขาข้อดีของการรักษาด้วยการสอดสายสวนขยายหลอดเลือดผู้ป่วยไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผลเจ็บเพียงเล็กน้อยคล้ายการเจาะเลือดผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว