เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ก่อนนั้นหมอเฉพาะทางโรคไตได้เล่าถึงสาเหตุของโรคไตและโรคประจำตัวที่ส่งผลให้มีโอกาสเสี่ยงให้เกิดโรคมากยิ่งขึ้น ครั้งนี้เราจะพาไปเรียนรู้เกี่ยวกับสัญญาณอันตรายของโรคไต พร้อมวิธีดูแลสุขภาพให้ไกลจากโรคไต หมอจึงอยากให้ทุกคนตระหนักไว้เสมอ ไม่ว่าคุณจะแข็งแรงมากแค่ไหน แต่ถ้าเมื่อไหร่ร่างกายพบสัญญาณผิดปกติเหล่านี้ ควรเข้าปรึกษาหมอเพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป
สัญญาณอันตรายเมื่อโรคไตมาเยือน โดยทั่วไปเมื่อไตทำงานผิดปกติ ร่างกายจะขับของเสียได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย บางรายอาจซูบผอม น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุในขณะที่ในบางรายอาจมีอาการตัวบวม ผิวหนังซีด เกิดจ้ำเลือดได้ง่าย ปัสสาวะมีฟอง หมอเฉพาะทางโรคไต ยังบอกไว้ว่า ไตที่ทำงานบกพร่องยังส่งผลกระทบให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานผิดปกติซึ่งสามารถสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้
ผู้ป่วยมักรู้สึกเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน มีรสขมในปากหรือไม่สามารถรับรสอาหารได้ ในบางรายอาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
หากไตทำงานได้น้อยลงจนขับปัสสาวะและเกลือแร่ไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย นอนราบและหายใจไม่สะดวก ความดันโลหิตสูงหรือมีภาวะหัวใจโตและกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ รวมไปถึงเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ภาวะน้ำคั่งในเยื่อหุ้มหัวใจและภาวะปอดบวม
เมื่อมีอาการปลายประสาทเสื่อม จะทำให้มือเท้าชา กล้ามเนื้อกระตุก เป็นตะคริว และเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาจากหมอเฉพาะทางโรคไตอย่างทันท่วงทีอาจก่อให้เกิดอาการชัก หมดสติ และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
เนื่องจากไตมีหน้าที่สังเคราะห์วิตามินดีซึ่งมีส่วนในการควบคุมสมดุลของแร่ธาตุและกระดูก หากไตทำงานบกพร่อง ก็มักส่งผลให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ ทำให้กระดูกแตกหักง่ายและเกิดเป็นภาวะกระดูกพรุน
อ่านเพิ่มเติม : โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบผู้สูงอายุ
ในระยะเริ่มแรกของภาวะไตวาย ผู้ป่วยมักปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืนและปัสสาวะมักมีสีจาง เมื่อการทำงานของไตเสื่อมลงหรือเกิดภาวะไตวาย ผู้ป่วยจะปัสสาวะออกได้น้อยลง
หากผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะโรคไตวายระยะสุดท้าย ไตจะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดงได้ตามปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจาง ผิวหนังซีด และยังทำให้การทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ เลือดออกได้ง่าย มีจ้ำเลือดขึ้นตามตัว และหากเกิดบาดแผลเลือดจะไหลไม่หยุด
ผู้ป่วยโรคไตวายมักจะมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ
ไตมีหน้าที่ในการผลิตและควบคุมฮอร์โมนในร่างกายหลายชนิด ดังนั้น หากไตทำงานผิดปกติ ก็จะทำให้ฮอร์โมนบางอย่างในร่างกายผิดปกติ เช่น ฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงฮอร์โมนจากรังไข่เพศหญิง รวมถึงฮอร์โมนจากอัณฑะทำงานผิดปกติ
7 วิธีดูแลตัวเองง่าย ๆ แบบหมอเฉพาะทางโรคไต ให้ห่างไกลโรค ทำได้ดังนี้
หากว่าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วรู้สึกกังวลใจ หรืออยากตรวจเช็กอาการเบื้องต้น สามารถเข้ามารับคำปรึกษากับหมอเฉพาะทางโรคไตที่โรงพยาบาลรามคำแหงได้ 24 ชั่วโมง การใช้ชีวิตเป็นเรื่องที่ดี แต่การใส่ใจสุขภาพให้แคล้วคลาดจากโรคภัยเป็นเรื่องที่ดีกว่า