พญ. บัณฑิตา พงษ์ตัณฑกุล
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, การตรวจและฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและการออกกำลังกาย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
หากเรารักสุขภาพ สุขภาพจะรักเรากลับและตอบแทนด้วยการให้ชีวิตที่ยืนยาวไร้เจ็บป่วย แม้ว่าชีวิตของคนเรานั้นมีวันที่โรยราและจากไปตามกาล ทว่ากว่าวันนั้นจะมาถึง หากหันมาใส่ใจสุขภาพสักนิดในวันนี้ ก็สามารถลดโอกาสเสี่ยง ‘โรคลิ้นหัวใจรั่ว’ อย่างน้อยสักหนึ่งโรคก็ยังดี
เราสามารถเข้าใจของหัวใจได้ง่ายยิ่งขึ้น หากเริ่มรู้จักหัวใจทั้ง 4 ห้องซึ่งแบ่งเป็นซ้ายและขวา ดังนี้
ลิ้นหัวใจแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ซึ่งเป็นเสมือนประตูในหัวใจที่คอยกำกับทิศทางเลือดให้ไหลเวียนทางเดียวกัน
อ่านเพิ่มเติม: โรคลิ้นหัวใจ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด พร้อมแนวทางการรักษา
ฟันผุอาจก่อโรคหัวใจได้ แม้ยังไม่มีงานวิจัยรับรองแน่นอน แต่พบว่ามีผลเสียต่อหัวใจ เนื่องจากเชื้อ 'สเตร็ปโตคอคคัส' ที่พบในฟันผุเป็นเชื้อชนิดเดียวที่ตรวจพบที่เยื่อบุหัวใจอักเสบและลิ้นหัวใจอักเสบ เมื่อใดที่เลือดออกจากฟันที่ผุ เชื้อจากเลือดที่ปากจะไหลเวียนติดกระแสเลือดสู่หัวใจให้เกิดโรค การรักษาความสะอาดจึงจำเป็นทั้งทางตรงและทางอ้อม
‘กินอาหารให้เป็นยา’ เป็นวลีโบราณที่ยังใช้ได้ผลถึงปัจจุบัน หากทานมากหรือน้อยเกินไปก็เป็นยาพิษได้เหมือนกัน เพียงเริ่มลดทอนอาหารที่มีน้ำตาล ไขมันและเกลือโซเดียมสูงอย่างละนิด ละบุหรี่ เลี่ยงอาหารรสจัด เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนก็ลดโอกาสเกิดโรคอื่นเพิ่ม แม้บางรายที่เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วแต่กำเนิดก็สามารถทุเลาโรคจากหนักเป็นเบา
แค่เริ่มก้าวเท้าเดินหรือขยับตัวก็เท่ากับออกกำลังกาย ซึ่งไม่ใช่แค่ประโยชน์เรื่องลดน้ำหนัก แต่ยังให้โอกาสแก่ร่างกายได้ทำงาน ลำไส้บีบตัวย่อยสะดวกไม่ถ่ายแข็งและยังฟื้นฟูสภาพหัวใจให้สูบฉีดเลี้ยงร่างกายให้กระปี้กระเปร่า อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายควรทำอย่างสม่ำเสมอที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป สำหรับผู้ป่วยที่กำลังฟื้นอาการหลังรับการรักษา ให้ปรึกษาแพทย์ชำนาญด้านหัวใจก่อนใช้กำลัง
เราไม่อาจล่วงรู้ว่าร่างกายของเราเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหนในรอบหนึ่งปี หากไม่ได้รับการตรวจที่เหมาะสมจากอายุรแพทย์และแพทย์เฉพาะด้านเป็นอย่างน้อย โดยเริ่มจากการตรวจสุขภาพตามช่วงวัย เนื่องจากแต่ละวัยมีสภาพความผิดปรกติและการดูแลรักษาที่ต่างกัน
บุหรี่หนึ่งมวนนั้นรวมสารพัดสารพิษทำร้ายร่ายกายไว้มากมาย ทันทีที่หยิบสูบก็บั่นทอนให้ชีวิตสั้นลงถึง 7 นาที ควันที่เข้าสู่ร่างกายจะเริ่มทำลายถึงหัวใจและหลอดเลือด หัวใจที่เต้นเร็วและหนัก ความดันเลือดที่สูงขึ้น ก่อนกลายเป็นหลากโรค หากเลิกสูบบุหรี่ในตอนนี้ การมีสุขภาพร่างกายที่ปลอดโรคก็ไม่ไกลเกินจริง
สัญญาณเตือนของร่างกายนั้นสำคัญที่สุด หากรู้สึกว่าไม่ไหวให้พบแพทย์เพื่อดูแล เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นอาจเป็นสัญญาณโรคในระยะลุกลาม เมื่อไหร่ที่รู้สึกแน่นอก ใจสั่น หน้ามืดจะวูบ หายใจลำบาก นอนราบไม่ได้ ขาบวม ให้พบเราที่ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง อย่าปล่อยให้ทุกอย่างสายไป เพื่อชีวิตที่ยังอยู่ยงต่อไป
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, การตรวจและฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและการออกกำลังกาย