เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
โรคลิ้นหัวใจรั่วจึงถือเป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่น่ากลัวทั้งกับชาวไทยและชาวต่างชาติ เพราะเป็นโรคที่มักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น และแม้ว่าอาการจะเริ่มปรากฏให้เห็นเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่วัยรุ่น แต่ก็ยังถือว่าน้อยมาก โดยอาการที่สังเกตได้อย่างชัดเจนอย่างเช่น อาการอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย จะค่อย ๆ แสดงออกเมื่อผู้ป่วยอายุ 40-50 ปี
โรคลิ้นหัวใจรั่ว (Heart Valve Regurgitation) คือภาวะความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ปิดไม่สนิท มีรูรั่ว หรือขาด ทำให้เลือดสามารถไหลย้อนกลับ จนเป็นสาเหตุให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นกว่าปกติเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอ โดยผู้ที่เป็นโรคนี้ มักมีอาการเหนื่อยอ่อนเพลีย ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ไม่เต็มที่ หากปล่อยทิ้งไว้จนมีอาการรุนแรง ก็อาจทำให้เสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้
โรคลิ้นหัวใจรั่วมักมีสาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิด โดยภาวะที่พบบ่อยในคนไทย คือความผิดปกติของ ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบนและห้องล่างด้านซ้าย ส่งผลให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป มีผลทำให้ผู้ป่วยมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากทำกิจกรรมใด ก็จะรู้สึกเหนื่อยง่าย บางรายที่มีอาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้จากภาวะหัวใจล้มเหลว
เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ลิ้นหัวใจย่อมส่งผลต่อวงจรการไหลเวียนของเลือดซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคลิ้นหัวใจรั่วถือเป็นภัยเงียบอีกโรคหนึ่ง เนื่องจากไม่แสดงอาการจนกว่าลิ้นหัวใจจะเกิดการชำรุดเสียหาย ส่งผลให้มีเลือดคั่งเพิ่มสูงในหัวใจ นำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตเฉียบพลันตามมา
โรคลิ้นหัวใจรั่วพบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิงตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยส่วนใหญ่ โรคลิ้นหัวใจรั่วมักมีสาเหตุมาจากความบกพร่องของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป โดยผู้ป่วยมักไม่มีอาการในวัยเด็ก แต่อาจเริ่มมีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
ลิ้นหัวใจเสื่อมตามอายุ เมื่อร่างกายเกิดความเสื่อมตามธรรมชาติเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ อาจเป็นสาเหตุให้มีหินปูนมาเกาะบริเวณลิ้นหัวใจ และทำให้การเปิดและปิดของลิ้นหัวใจเกิดความผิดปกติ ซึ่งนำไปสู่โรคลิ้นหัวใจรั่ว และ/หรือ โรคลิ้นหัวใจตีบ
โรคหัวใจรูมาติกเกิดจากการติดเชื้อที่บริเวณคอ แล้วเกิดการอักเสบลามไปที่กล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ และลิ้นหัวใจ ส่งผลให้ลิ้นหัวใจรั่ว หากเป็นเรื้อรังจะสามารถทำให้เกิดภาวะลิ้นหัวใจตีบร่วมด้วยได้ มักพบในเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป แต่มักเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุมากขึ้น
โรคลิ้นหัวใจรั่วจากการติดเชื้อ มักเกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด และตัวเชื้อเกิดการอักเสบลามสู่ลิ้นหัวใจ
เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบ มักส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย และเกิดปัญหาลิ้นหัวใจรั่วตามมา มักพบในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีหรือวัยหมดประจำเดือน ซึ่งภาวะนี้อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัวและพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่เป็นประจำ หรือกรรมพันธุ์ เป็นต้น
หัวใจถือเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญและมีความแข็งแรงลำดับต้น ๆ ของร่างกาย ดังนั้น เมื่อมีความผิดปกติเพียงเล็กน้อย จึงมักไม่แสดงอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง โดยส่วนใหญ่ อาการของโรคจึงเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ยังสามารถสังเกตจากอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่
ผู้ป่วยมักทำกิจกรรมได้ไม่นาน รู้สึกเหนื่อย และหายใจลำบากเมื่อออกแรง เมื่อแพทย์ทำการตรวจจะพบ ‘เสียงฟู่’ ซึ่งเป็นเสียงหัวใจผิดปกติที่พบได้บ่อยเมื่อภายในหัวใจมีเลือดไหลสวนทาง
โดยเฉพาะอาการบวมที่เท้าและข้อเท้า มักเกิดจากลิ้นหัวใจด้านขวาเกิดความผิดปกติ ทำให้เลือดจากขาไม่สามารถไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจด้านขวาได้สะดวก
โดยผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจมีภาวะน้ำท่วมปอด ทำให้ไม่สามารถนอนราบได้
วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด หมดสติ เนื่องจากระบบไหลเวียนของเลือด และระบบสูบฉีดของหัวใจเกิดความผิดปกติ ทำให้มีอาการวูบ ไม่รู้สึกตัวกะทันหัน
ใจสั่น เจ็บหน้าอกอาจมีอาการนานเป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน โดยอาการจะแสดงมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า ขยับตัว หรือหายใจเข้าลึก ๆโดยหากสังเกตพบความผิดปกติเกิดขึ้น ก็ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรคกลุ่มหัวใจ หรือโรคลิ้นหัวใจรั่วโดยทันที
อาหารที่คนเป็นลิ้นหัวใจรั่ว ห้ามรับประทาน มีดังนี้
ระยะของลิ้นหัวใจรั่ว แบ่งได้เป็น 3 ระยะในเบื้องต้น ได้แก่ ระยะเริ่มต้น ระยะปานกลาง และระยะรุนแรง ลิ้นหัวใจรั่วถือเป็นหนึ่งในภัยเงียบที่น่ากลัว เพราะโรคนี้มักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก แต่จะเริ่มแสดงอาการเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นแต่ก็ไม่รุนแรง และจะแสดงอาการรุนแรงเมื่ออายุประมาณ 40 - 50 ปี จนทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยและอ่อนเพลียมากขึ้น เกือบๆ จะทุกการเคลื่อนไหว
หากพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว แพทย์จะทำการรักษาตามความรุนแรงของอาการ แต่หากพบว่าลิ้นหัวใจรั่วมาก หรือลักษณะกล้ามเนื้อที่พยุงการเปิด-ปิดของลิ้นหัวใจเกิดการหย่อนยาน ปูด หรือหนาตัวมาก แพทย์จะทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ เป็นการรักษาเพื่อซ่อมแซมให้ลิ้นหัวใจส่วนที่ถูกทำลาย ฉีกขาด หรือมีรอยรั่ว กลับมาทำงานตามปกติโดยการลอกหินปูนที่จับตัวออก และใช้เนื้อเยื่อหัวใจของผู้ป่วยเองมาซ่อมแซมเพื่อให้สามารถกลับมาทำงานใกล้เคียงกับปกติที่สุด โดยวิธีนี้ไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากร่างกาย แต่มีข้อจำกัดคือจะสามารถทำได้เฉพาะบางกรณีเท่านั้น
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ถือเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยในกรณีที่พบว่าลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพมาก มีการฉีกขาดรุนแรง หรือมีหินปูนเกาะ ไม่สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดตามวิธีมาตรฐาน คือ การเปิดแผลผ่าตัดกึ่งกลางหน้าอก เพื่อนำลิ้นหัวใจที่เสียหายออก และใส่ลิ้นหัวใจเทียมเข้าไปทดแทน
โดยลิ้นหัวใจเทียมนั้น มีให้เลือกทั้งแบบธรรมชาติ หรือ ‘ลิ้นเนื้อเยื่อ’ ซึ่งผลิตจากเนื้อเยื่อของหัวใจวัวหรือหมู มีอายุการใช้งานไม่เกิน 15 ปี และลิ้นหัวใจเทียมวัสดุสังเคราะห์ (ไทเทเนียมหรือโครเมียม-โคบอลต์) ซึ่งมีความคงทนตลอดอายุขัยของผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยต้องรับประทานยาเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือดควบคู่ไปด้วย
ปัจจุบันการรักษามีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยี TAVI (Transcatheter aortic valve implantation) หรือ การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดทดแทนการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ที่สามารถทำได้โดยไม่ต้องเปิดหน้าอก มีความแม่นยำปลอดภัย และให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการผ่าตัด ลดระยะเวลาการพักฟื้นให้เหลือน้อยลง อีกทั้งยังมีความเสี่ยงและผลข้างเคียงน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม
แม้ว่าโรคลิ้นหัวใจรั่วจะเป็นโรคที่ยากจะป้องกัน เนื่องจากปัจจัยในการเกิดโรคมักเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น กรรมพันธุ์ หรือความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วมาแต่กำเนิด ก็สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ ดังนี้
หากพบว่าตนเองป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด แม้จะเป็นผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่วที่มีอาการไม่รุนแรง และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติก็ตาม
โรคลิ้นหัวใจรั่ว เป็นโรคที่มักไม่ค่อยแสดงอาการ และอาจเกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตตัวเอง หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ และเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี หากพบว่ามีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย หรือเท้าบวม ควรจะรีบเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพราะเมื่อพบความผิดปกติแต่เนิ่น ๆ ก็จะสามารถชะลอโรค และรับการรักษาอย่างทันท่วงทีนั่นเอง
โรงพยาบาลรามคำแหง
โทร. 0 2743 9999 , 0 2374 0200-16 แฟกซ์ 0 2374 0804