นพ. วิศิษฏ์ เกษตรเสริมวิริยะ
ศัลยศาสตร์, ผ่าตัดผ่านกล้อง, ผ่าตัดทางเดินอาหารส่วนต้น
แม้การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักจะเป็นหนึ่งวิธีช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนได้มีประสิทธิภาพ ทว่าผลข้างเคียงก็ยังเกิดขึ้นได้หลังผ่าตัด เนื่องจากร่างกายต้องใช้เวลาปรับสภาพถึงจุดสมดุล ล่วงรู้ไว้.. อุ่นใจ รู้ตัว ‘ลดเสี่ยง’ หลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร โดยอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้ และหากเป็นมาก ควรเข้าพบแพทย์
กรณีคลื่นไส้รุนแรงจนทำให้ไม่สามารถดื่มของเหลวได้เพียงพอ จะต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล เมื่อผู้ป่วยอาเจียนอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดการขาดน้ำ ความไม่สมดุลของเกลือแร่ และนำไปสู่การบาดเจ็บของไตได้
หมายเหตุ: ช่วงวันแรกหลังการผ่าตัด หากคลื้นไส้ รักษาได้ด้วยยาตามแพทย์ที่สั่ง
การอาเจียนมักเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง ร่างกายยังปรับสภาพไม่ทันหรือบางครั้งก็เกิดจากอาหารไม่สามารถผ่านกระเพาะได้สำเร็จ โดยช่วงแรกอาจทานได้เพียง 3 - 4 ช้อนในแต่ละมื้อ อย่างไรก็ตาม การอาเจียนหลังผ่าตัดกระเพาะอาหารเกิดได้หลายสาเหตุ
ภาวะนี้เกิดขึ้นได้เพราะดื่มของเหลวไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลีย ปัสสาวะสีเข้ม เวียนศีรษะ คลื่นไส้ และลิ้นมีสีขาวเคลือบ หากพบอาการดังกล่าวให้เข้ารับแพทย์เพื่อตรวจเลือดและประเมินความรุนแรงของภาวะขาดน้ำ ซึ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงเกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะและไต
การขับถ่ายจะเปลี่ยนแปลงอย่างมากหลังการผ่าตัด โดยเริ่มตั้งแต่อุจจาระอาจมีกลิ่นเหม็นหรือมีสีที่แตกต่างจากปกติ บางครั้งอาจมีสีเข้มหรือสีดำหากรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก ซึ่งจะกลับเป็นปกติเมื่อร่างกายปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง
ท้องอืดเกิดจากแก๊สในทางเดินอาหารซึ่งเกิดได้จาก 2 แหล่งหลัก ได้แก่ อากาศที่กลืนเข้าไปและแก๊สจากการย่อยอาหารบางประเภท กรณีหลังผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยจะมีลำไส้ที่สั้นลง เกิดก๊าซที่มีกลิ่นแรงหรือออกจากร่างกายมาก ซึ่งมีผลมาจากอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น แป้ง ข้าว ขนมปัง ถั่ว ธัญพืช นมวัวหรือสารซอร์บิทอล
อ่านเพิ่มเติม: ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ทางเลือกในการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น
ศัลยศาสตร์, ผ่าตัดผ่านกล้อง, ผ่าตัดทางเดินอาหารส่วนต้น