พนักงานออฟฟิศ ปวดคอ บ่า ไหล่ ทำท่านี้ดีแน่!

January 30 / 2025

ท่าแก้ปวดคอ บ่า ไหล่

 

 

     ปัญหาปวดคอ บ่า ไหล่ เป็นเรื่องที่คนทำงานออฟฟิศอย่างเราๆ หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการที่เรานั่งทำงานในท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า และไหล่ เกิดการเกร็งตัว ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดเมื่อย การบริหารร่างกายเป็นประจำจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดความตึงเครียด และป้องกันอาการบาดเจ็บได้

 

เปลี่ยนท่านั่งช่วยได้

     ใครที่กำลังนั่งทำงานอยู่แล้วรู้สึกปวดเมื่อย มาลองยืดเส้นยืดสายไปด้วยกันด้วยท่าบริหารง่าย ๆ ที่สามารถทำได้เองที่โต๊ะทำงาน ใช้เวลาแค่เพียงเล็กน้อย ก็สามารถช่วยให้รู้สึกดีขึ้นคลายอาการปวดได้ รับรองว่าคุณจะต้องติดใจ

 

ท่าแก้ปวดคอ บ่า ไหล่

 

 

ท่าบริหารง่ายๆ ทำได้ที่โต๊ะทำงาน

ท่าที่ 1 ยืดกล้ามเนื้อคอด้านข้าง

     เริ่มต้นด้วยการใช้มือซ้ายจับบริเวณขอบเก้าอี้และใช้มือขวาจับบริเวณใบหูทางด้านซ้าย จากนั้นจึงค่อยเอียงคอมาด้านขวาให้รู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อคอทางด้านข้างและบ่า ทําค้างไว้ 10 วินาทีทําซ้ำ 10 - 20 ครั้ง สลับกันทั้งสองข้าง

 

ท่าแก้ปวดคอ บ่า ไหล่

 

 

ท่าที่ 2 ยืดกล้ามเนื้อคอด้านหลัง

     แรกเริ่มด้วยการใช้มือทั้งสองข้างประสานกันไว้ที่ท้ายทอย ค่อย ๆ หุบแขนชิดกันด้านหน้าและโน้มศีรษะลงให้คางชิดอกมากที่สุด หากทำอย่างถูกต้องจึงเริ่มรู้สึกตึงบริเวณคอด้านหลัง โดยทําค้างไว้ 10 วินาทีทําซ้ำ 10 - 20 ครั้ง

 

 

ท่าแก้ปวดคอ บ่า ไหล่

 

 

ท่าที่ 3 ยืดกล้ามเนื้อสะบัก

     ใช้มือขวาเหยียดมาทางด้านหน้าโดยใช้มือซ้ายล็อกแขนขวาไว้ จากนั้นจึงค่อยดึงเข้าหาลําตัว โดยพยายามผ่อนไหล่ลงให้รู้สึกตึงบริเวณสะบักทางด้านหลัง ยืดค้างไว้ 10 วินาที ทําซ้ำ 10 - 20 ครั้ง ทําสลับสองข้าง

 

 

 

ท่าแก้ปวดคอ บ่า ไหล่

 

ท่าที่ 4 ยืดกล้ามเนื้อแขนด้านข้างและลำตัวด้านข้าง

     ยกแขนขวาขึ้นแล้วพับศอกไปทางด้านหลัง ให้ฝ่ามือแตะบริเวณกลางหลังแล้วใช้มือซ้ายจับบริเวณศอกขวาค่อย ๆ โน้มตัวมาทางด้านข้างให้รู้สึกตึงบริเวณแขนขวาและชายโครงด้านขวา ทําค้างไว้ 10 วินาที ทําซ้ำ 10 - 20 ครั้ง ทําสลับกันทั้งสองข้าง

 

 

ท่าแก้ปวดคอ บ่า ไหล่

     


การบริหารร่างกายเป็นประจำจะช่วยบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ได้เป็นอย่างดี แนะนำให้ทำท่าบริหารเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอทุก 1 ชั่วโมง หรือเมื่อรู้สึกปวดตึงคอ แต่ถ้าลองทำแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรือปวดมากขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียดและรับการรักษาที่เหมาะสม