เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
การติดเชื้อแบคทีเรียอี.โคไล ชนิดรุนแรง โอ 104 (E.Coli O 104)
เชื้ออี.โคไล โอ 104 ที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย มีอยู่ 6 สายพันธ์ุ สายพันธ์ุที่เป็นข่าวเป็นสายพันธ์ุที่อยู่ในกลุ่มอันตราย โดยเชื้อดังกล่าวมีอยู่ในอาหารจำพวกผักสด ถั่วและถั่วงอก เมื่อได้รับเชื้อจะแสดงอาการคล้ายคลึงกับผู้ป่วยที่มีภาวะอาหารเป็นพิษหรือท้องร่วง เช่น ถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ มีไข้ต่ำ คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งส่วนใหญ่จะหายได้เอง
ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 10 กลับมีอาการที่รุนแรงขึ้น เช่น ถ่ายเป็นมูกหรือเป็นเลือด เกิดภาวะซีด และร้อยละ 3-5 จะมีอันตรายมากขึ้น กล่าวคือ ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน เม็ดเลือดแดงแตกและเกิดภาวะที่สุ่มเสี่ยงต่อชีวิต
เราสามารถแยกอาการของ 2 โรคนี้ได้ด้วยการสังเกตเบื้องต้น เช่น ท้องเสียเกิน 3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ถ่ายไม่หยุด ถ่ายเป็นมูกเป็นเลือด
หากเข้าข่ายสองข้อข้างต้นก็ควรต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจโดยละเอียดต่อไป
A : การรักษาผู้ที่ติดเชื้ออีโคไล โอ 104 จะใช้วิธีเดียวกับการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะท้องร่วงหรืออาหารเป็นพิษทั่วไป โดยแพทย์จะรักษาตามอาการ แต่จะไม่ให้ยาเพื่อหยุดถ่ายท้อง เพราะอาจส่งผลให้เชื้อตกค้างอยู่ในร่างกาย หากมีเหตุจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์
A : วิธีป้องกันที่ดีที่สุขคือการอิงจากการรณรงค์ของกระทรวงสาธารณสุข “กินร้อน-ช้อนกลาง-ล้างมือ” ถ้าทำได้ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากการติดเชื้อนี้ได้
ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ร่วมกับโรงพยาบาลต่าง ๆ ใช้มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังเชื้ออี.โคไล โอ 104 เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในประเทศไทยได้ ขณะเดียวกันโรงพยาบาลรามคำแหงเองได้ดำเนินการตามมาตรการที่กระทรวงกำหนดไว้ควบคู่คอยสังเกตอาการและตรวจคัดกรองผู้ป่วยอย่างละเอียดและใกล้ชิด ดังนั้นเราจึงมั่นใจได้ว่าเชื้ออี.โคไล โอ 104 ไม่น่ามีโอกาสแพร่ระบาดได้มากนัก และโดยข้อเท็จจริงแล้ว โรคดังกล่าวก็ไม่ได้ร้ายแรงมากนัก หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องและอยู่ในการดูแลของแพทย์
ด้วยเหตุนี้ จึงขอเน้นย้ำและฝากเตือนว่าให้รับประทานอาหารปรุงสุข หลีกเลี่ยงการรับประทานผักสด สำหรับน้ำที่ใช้ในการล้างผักสด ก็ควรจะเป็นน้ำสะอาด ไม่ควรใช้น้ำคลอง น้ำบ่อ และหากมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ฯลฯ ควรรีบเข้ามาปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจะดีกว่า
ศ.นพ. นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล
แพทย์ที่ปรึกษาด้านโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลรามคำแหง
เน้นย้ำให้รับประทานอาหารปรุงสุขหากมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ฯลฯ ควรรีบเข้ามาปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจอย่างละเอียด