นพ. ดนัย ลิ้มมธุรสกุล
อายุรแพทย์ทางเดินอาหาร
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ถ่ายแข็ง ถ่ายไม่ออก ปล่อยไม่สุด หากทิ้งไว้นานไม่ขับถ่ายอาจเป็นโรคท้องผูกเรื้อรัง แต่... รักษาได้ หากเข้าใจอาการและวิธีป้องกันที่ใช้ได้ง่ายในชีวิตประจำวัน นอกจากป่วยเป็นท้องผูกเรื้อรังต้องกินอย่างไร ใช้ชีวิตอย่างไรให้เป็นอิสระจากโรค โรงพยาบาลรามคำแหงพร้อมพูดคุยกับผู้อ่านเพื่อรับมือได้ทันหากอาการดังกล่าวเกิดกับตัว
ท้องผูก (Constipation) เป็นอาการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติหรือถ่ายอุจจาระไม่ออกเป็นเวลานาน ซึ่งพฤติกรรมและความถี่ในการถ่ายอุจจาระปกติของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน แต่ในทางการแพทย์มักหมายถึงการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์
โดยทั่วไป ตัวอย่างสัญญาณอาการของท้องผูกจะมีดังนี้
สาเหตุของอาการท้องผูกมีมากมาย โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ แบบปฐมภูมิที่มักเกิดจากสรีรวิทยาการขับถ่ายที่เปลี่ยนไป และแบบทุติยภูมิที่มีสาเหตุจากปัจจัยบางอย่าง เช่น
เมื่อได้รับผลการตรวจวินิจฉัยว่ามีอาการท้องผูก แพทย์เฉพาะทางจะรักษาตามอาการด้วยด้วยหลากวิธี ได้แก่
การปรับพฤติกรรม ได้แก่ ขับถ่ายอุจจาระเมื่อรู้สึกอยากถ่ายครั้งแรก อย่ารอจนสัญญาณการขับถ่ายอ่อนลง นั่งขับถ่ายในท่านั่งที่เหมาะสม รับประทานผักผลไม้ที่มีกากใย ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ดื่มน้ำในปริมาณที่มากเพียงพอ
แพทย์สามารถใช้ยาระบายหลายชนิดตามอาการ ได้แก่
ทั้งนี้ควรขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางเป็นสำคัญ ไม่แนะนำให้ซื้อยามารับประทานเอง
การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ออกมักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยท้องผูกจากภาวะที่ลำไส้เคลื่อนไหวช้าและรักษาด้วยการรับประทานยาไม่ได้ผล หรืออาจมีความผิดปกติชัดเจนของกล้ามเนื้อและระบบประสาทของลำไส้ตามดุลยพินิจของแพทย์ชำนาญเฉพาะทาง
ปัญหาท้องผูก ไม่ใช่เรื่องที่ควรละเลยหรือนิ่งนอนใจ หากปล่อยไว้ให้เรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างริดสีดวงทวาร รวมไปถึงอาการแสดงเริ่มต้นของโรคและปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา
แก้ไข
10/03/65
อายุรแพทย์ทางเดินอาหาร