ปวดหลังแบบไหนอันตราย สำรวจสาเหตุของอาการปวดในแต่ละวัย

December 02 / 2024

 

 

ปวดหลังแบบไหนอันตราย

 

นพ.อัครวิทย์ อัศวศักดิ์สกุล

พญ. จิตรา วงศ์วิวัฒนานนท์

 

 

 

     ปวดหลัง (Back Pain) เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้โดยทั่วไปในทุกเพศทุกวัย ซึ่งอาการปวดหลังแต่ละที่ก็มีสาเหตุของที่แตกต่างกันไป 
 

 

อาการปวดหลัง บอกอะไรได้บ้าง

  • ปวดหลังจากการยกของหนัก กล้ามเนื้ออักเสบ กระดูกหรือหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
  • ปวดแนวกระดูกกลางหลัง มีปัญหาที่หมอนรองกระดูกสันหลัง หรือข้อต่อกระดูกสันหลัง
  • ปวดหลังเยื้องออกมาด้านข้าง กล้ามเนื้อหลังมีความผิดปกติ อาจเกิดจากอวัยวะภายใน เช่น ไต ตับอ่อนผิกปกติ
  • ปวดร่วมกับมีอาการชา-อ่อนแรง ระบบประสาทผิดปกติ
  • ปวดร้าวเหมือนไฟฟ้าช็อต เส้นประสาทอาจถูกกดเบียด
  • ปวดหลังแบบเมื่อยล้า อาจเกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนเพลีย หายป่วยไข้

 

 

 

ปวดหลัง

 

 

 

ปวดหลังแบบไหนอันตรายต้องรีบพบแพทย์

  • ปวดหลังต่อเนื่อง และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ มากกว่า 4 สัปดาห์
  • ปวดหลังที่เกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง เช่น อุบัติเหตุจราจร ตกจากที่สูง
  • ปวดหลังร่วมกับความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ปวดหลังร่วมกับอาการปวดร้าวลงขา ชาหรืออ่อนแรงที่ขา
  • ปวดหลังร่วมกับการควบคุมการขับถ่ายที่เสียไป เช่น สูญเสียการกลั้นอุจจาระ/ปัสสาวะ
  • ปวดหลังร่วมกับอาการไข้ น้ำหนักลด

 

 

ปวดหลังในแต่ละวัย แค่อาการแสดงก็แตกต่าง

ปวดหลังในวัยรุ่น

หากวัยรุ่นคนไหนมีอาการปวดหลังควรสังเกตดูลักษณะของกระดูกสันหลังว่าคดหรือไม่ โดยสังเกตง่าย ๆ จาก

 

  • ขอบกางเกงหรือกระโปรงเวลาใส่ว่าเบี้ยวหรือไม่
  • ลองให้ก้มหลังดูและสังเกตแนวกระดูกว่าความโค้งของหลังทั้งข้างซ้ายและขวาว่าเท่ากันหรือไม่
  • ถ้าไม่เท่ากันแสดงว่ากระดูกสันหลังคด ควรเข้าพบแพทย์เพื่อพิจารณาว่าควรใส่อุปกรณ์เสริมช่วยหรือไม่ 

 

ปวดหลังในวัยทำงาน

     หากท่านขับรถวันละหลายชั่วโมงร่วมกับความเครียดและพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็อาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหลังตึงตัวจนพัฒนาสภาพเป็นภาวะออฟฟิศซินโดรมได้ ดังนั้นระหว่างวันควรเปลี่ยนอิริยาบถให้กล้ามเนื้อได้คลายตัว

 

ปวดหลังในผู้สูงวัย

     เมื่อเข้าสู่ช่วงสูงวัย กระดูกสันหลังก็เสื่อมตามกาล หลายครั้งมักเกิดอาการปวดหลังได้ในช่วงเช้า ๆ หลังแข็ง ปวดตึงหลังและสะโพกเมื่อเดินไกล บางรายอาจปวดตึงลงขาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ซึ่งพบได้ในกรณีที่มีการกดทับเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงขา กรณีนี้ควรไปพบแพทย์เพื่อเอกซเรย์ประเมินว่า

 

  • กระดูกสันหลังเสื่อมมาก-น้อยหรือมีกระดูกสันหลังเคลื่อนจากภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมหรือไม่
  • มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งในกระดูกหรือไม่ โดยเฉพาะรายที่ปวดมากในตอนกลางคืนจนนอนไม่ได้หรือมีกระดูกสันหลังบาง กระดูกยุบตัวแม้จะไม่รับการบาดเจ็บใด
  • ถ้าประเมินแล้วพบว่าเป็นจากกระดูกสันหลังเสื่อม การทำกายภาพบำบัดจะช่วยได้มาก ซึ่งอาจใช้เวลาบำบัดประมาณ 2-3 สัปดาห์ ในรายที่เป็นมากอาจต้องบำบัดเป็นเดือนและใส่เสื้อประคองหลังไว้ ในรายที่มีกระดูกหลังเคลื่อนหรือกระดูกยุบตัว ควรหลีกเลี่ยงการก้มเงยและนั่งยอง ห้ามยกของหนัก กรณีที่กระดูกสันหลังเสื่อมมากจนช่องไขสันหลังตีบแคบและทำกายภาพบำบัดไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาใช้การรักษาผ่าตัด

 

อ่านเพิ่มเติม: ท่าบริหารสำหรับทุเลาอาการปวดหลัง

 

 


ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้คดมากขึ้น ในช่วงอายุที่กำลังสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และควรบริหารกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง ด้วยการเลือกกีฬาที่เหมาะสมกับตัว คือ ว่ายน้ำ โหนบาร์



 

 

 

ปวดหลัง

 

 

การปรับพฤติกรรมช่วยลดอาการปวดหลัง

อาการปวดหลังรักษาได้โดยเริ่มจากตัวเรา เพียงปรับพฤติกรรมคุณก็สามารถจัดการกับโรคปวดหลังปัญหาสุขภาพน่ากวนใจนี้ได้ โดยมีคำแนะนำดังนี้

 

  • การนั่ง ควรนั่งเก้าอี้ให้เต็มก้นและเอนหลังลงพนักพิงเพื่อให้ร่างกายได้ถ่ายน้ำหนักบางส่วนไปที่เก้าอี้แทน ทั้งยังลดภาระแก่กระดูกสันหลังไม่ให้ผิดรูปหรือเสื่อมสภาพ
  • การยืน ควรยืนให้ขากว้างเท่ากับสะโพก เพื่อทิ้งน้ำหนักลงขาทั้งสองข้างให้ทรวดทรงสมดุล
  • การนอน ไม่นอนคว่ำหรือนอนในท่ากึ่งนอนกึ่งนั่ง ควรนอนหงายบนเตียงสบาย ๆ จะทำให้กระดูกสันหลังเรียงตัวได้ดีไม่คดโค้ง โดยเตียงต้องไม่แข็งหรือนุ่มเกินไป
  • ไม่ควรยกของหนักในท่าก้ม ควรย่อเข่าให้หลังตรงขณะยกของ

 

 

 

ปวดหลังปวดหลังปวดหลัง

 

 

อาการปวดหลังสามารถรักษาได้โดยเริ่มจากตัวเรา เพียงปรับพฤติกรรมคุณ

 

 

แก้ไข

29/08/2565