s มลพิษแบบใดคือปัจจัยเสี่ยง “มะเร็งกล่องเสียง”

มลพิษแบบใดคือปัจจัยเสี่ยง “มะเร็งกล่องเสียง”

February 27 / 2024

 

มลพิษแบบใดคือปัจจัยเสี่ยง “มะเร็งกล่องเสียง”

 

 

พญ.ธัญรดา เลี่ยมเส้ง

แพทย์ผู้ชำนาญการหู คอ จมูก

 

 

มะเร็งกล่องเสียง เป็นเนื้อร้ายที่เกิดบริเวณเยื่อบุกล่องเสียง เกิดจากสาเหตุที่ไม่ทราบแน่นอน แต่บุหรี่เป็น 1 ในปัจจัยของการเกิดโรคเนื่องจากควันบุหรี่ทำให้เกิดสารก่อมะเร็งได้ โดยยังมีอีกสาเหตุอื่น เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับการอักเสบเรื้อรังของบริเวณคอหรือกล่องเสียง อีกทั้งกรณีการติดเชื้อไวรัสบางตัวก็สามารถกระตุ้นให้เป็นมะเร็งได้ ถัดไปคือสารก่อการระคายเคืองเช่นควันพิษของ PM 2.5 ก็มีส่วน รวมถึงสารเคมีจากโรงงาน อย่างเช่น พวกซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ตะกั่ว โดยจะมารู้ตัวก็เมื่อเกิดอาการเสียงแหบ บางคนมาด้วยเรื่องกลืนเจ็บกลืนลำบาก สำลัก เสมหะปนเลือด มีปวดร้าวที่หู ไอเรื้อรัง แล้วก็มาด้วยเรื่องก้อนที่คอ ก้อนต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ถ้าเป็นเยอะบางคนมาด้วยทางเดินหายใจอุดตัน มาด้วยเหนื่อยหอบ หายใจไม่ออก

 

 

 

มะเร็งกล่องเสียงแบ่งเป็น 2 ระยะ

 

“ระยะแรก แบ่งเป็น 2 ขั้น ๆ 1 กับ 2 ซึ่งอาการส่วนใหญ่ของระยะเริ่มต้น มักมาด้วยเรื่องเสียงแหบ และเมื่อเสียงแหบทำให้รู้สึกเจ็บ กลืนแล้วเจ็บหรือร้าวที่หู ส่วน “ระยะลุกลาม จะถือว่าอยู่ในระยะที่ 2 ซึ่งรวมขั้นที่ 3 กับ 4ก้อนที่คอก็ถือเป็นระยะลุกลามซึ่งมันกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง การกลืนลำบากก็อาจจะเริ่มลุกลามไปที่หลอดอาหาร-ช่องคอ และถ้ามีอาการเหนื่อยหอบหายใจไม่ออกก็มักจะเป็นระยะลุกลามเช่นกัน

 

 

 

มีวิธีรักษาหลายแบบ รวมถึง “การผ่าตัด”

 

การรักษามะเร็งกล่องเสียง มีหลักปฏิบัติที่ใช้ได้ตั้งแต่ ผ่าตัด หรือ วิธีฉายแสง หรือ เคมีบำบัด ส่วนจะเลือกวิธีใดขึ้นอยู่กับระยะคนไข้ ถ้าเป็นในระยะเริ่มต้นก็จะไม่ทำการผ่าตัด โดยอาจใช้การฉายแสงโดยที่คนไข้ยังสามารถเก็บกล่องเสียงไว้ได้ สามารถกลับมาพูดได้เพราะกล่องเสียงไม่ได้ถูกตัดออก แต่ถ้าเป็นในระยะลุกลามก็ต้องใช้การผ่าตัด หรือฉายแสง เคมีบำบัด หรือทั้ง 3 อย่างเลยก็มี

 

 

กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจ

 

ตัวอย่างกรณีที่มีผู้ป่วยรายหนึ่งมาเข้ารับการผ่าตัดหลังจากที่มารับการตรวจอาการ “เสียงแหบ” ที่เกิดขึ้นนานผิดสังเกต ตรวจพบว่ามีก้อนมะเร็งอยู่ที่กล่องเสียงและยังอยู่ในระยะแรก จึงรักษาด้วยการผ่าตัด

 

คนไข้มาด้วยเสียงแหบซึ่งตรวจแล้วพบว่ามีก้อนอยู่ที่เส้นเสียงข้างเดียวก็คือระยะแรก แต่พอเข้าไปห้องผ่าตัดจริง ๆ ปรากฏว่ามันลามออกไปนิดหนึ่ง จึงได้ผ่าตัดเอาออกเฉพาะก้อน แล้วก็มาดูว่าเอาออกไปแล้วมันจะมีโอกาสเกิดใหม่ได้อีกไหม พอเห็นว่าไม่น่าไว้ใจก็เลยตามเก็บโดยการฉายแสง ซึ่งบางเคสที่เจอก็คือมันลามออกข้างนอกแล้วจากการที่คนไข้ชายมีเสียงแหบมานานแล้วไม่ได้ควบคุมดูแลตัวเองจนมาเกิดภาวะทางเดินหัวใจอุดตัน ต้องเจาะคอด่วนแต่ไม่อาจทำการผ่าตัดได้ ต้องส่งไปทำคีโม ฉายแสงขณะที่เขามีอายุระหว่าง 50-60 ปี โดยมีผลวิจัยระบุไว้แล้วว่ามะเร็งกล่องเสียงเจอในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ด้วยเหตุที่มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า

 

รพ.รามคำแหงได้ติดตั้งกล้องตรวจไว้ที่แผนกผู้ป่วยนอกเลย สามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยได้ชัดเจน มีเครื่องมือที่เป็นเลเซอร์สำหรับทำการตัดก้อนมะเร็ง ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ชำนาญการด้านมะเร็ง การฉายแสง ซึ่งกำลังจะเปิดศูนย์ฉายแสงในอนาคตอันใกล้ โดยมีพยาธิแพทย์ (Pathologist) พร้อมทำการตรวจยืนยันตัวอย่างชิ้นเนื้อให้แล้วเสร็จภายในครึ่งชั่วโมงและส่งต่อให้แพทย์อ่านผลตรวจได้โดยไม่เสียเวลารอเป็นชั่วโมง

 

 

หลังผ่าตัดต้องเปลี่ยนวิธีสื่อสารหรือไม่

 

ถ้าเป็นระยะแรกเริ่มเรายังเก็บกล่องเสียงได้โดยจะเอาเฉพาะก้อนออก แต่ไม่ว่าจะฉายแสงเลเซอร์หรือผ่าตัดเฉพาะก้อน คนไข้ก็กลับมาพูดได้ปกติ อาจจะมีแหบบ้าง ส่วนถ้ามีการผ่าตัดในระยะลุกลาม 3-4 จะต้องผ่าตัดเอากล่องเสียงออก โดยที่คนเราจะมีรูหายใจอยู่ด้านหน้าช่องคอซึ่งในช่วงแรกหลังผ่าตัดใหม่ ๆ คนไข้อาจจะรู้สึกเจ็บถ้าพูดหรือเปล่งเสียง จึงต้องใช้วิธีสื่อสารด้วยการเขียนไปก่อน แต่เมื่อเวลาผ่านไปจนแผลหายดีแล้วคนไข้จะพูดได้แต่ไม่มีเสียง เราจึงต้องดูแลและจัดให้เขาได้ฝึกการพูดหลังผ่าตัดกล่องเสียง วิธีแรกคือให้เขาฝึกออกเสียงพูดโดยใช้หลอดลมจากหลอดอาหาร เรียกว่า esophageal speech ส่วนอีกวิธีที่มักจะใช้กันมากกว่าคือ ใช้กล่องเสียงเทียม เรียกว่า electrolarynx ที่เป็นเหมือนเครื่องโกนหนวด โดยนำมาจี้ตรงตำแหน่งช่องคอขณะที่เขาเปล่งเสียงออกมา เพียงแต่เสียงพูดจะเหมือนเสียงหุ่นยนต์นิดหนึ่ง วิธีที่ 3 คือ ใช้ลมระหว่างหลอดลมกับหลอดอาหารให้มีเสียงพูดออกมาขณะเปล่งเสียง ซึ่งทุกอย่างต้องฝึกโดยจะมีชมรมมะเร็งกล่องเสียง ซึ่งใช้เครื่องมือเหล่านี้มาจัดฝึกสอนโดยมีนักเปล่งเสียงบำบัด หรือ Speech Therapist มาช่วยฝึกให้

 

 

 

ไม่มีวิธีป้องกัน แต่ลดปัจจัยเสี่ยงได้ หลีกเลี่ยงได้ด้วยการงดปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็น บุหรี่ แอลกอฮอล์ สารก่อการระคายเคือง รวมทั้งหลีกเลี่ยงการไปอยู่ในบริเวณที่มีมลภาวะ และถ้าเป็นกรดไหลย้อนก็ควรรีบรักษาให้หายโดยไวเพื่อจะได้ลดความเสี่ยงต่อโอกาสในการเป็น มะเร็งกล่องเสียงให้มากที่สุด

 

 

นัดพบแพทย์คลิก

พญ.ธัญรดา เลี่ยมเส้ง

แพทย์ผู้ชำนาญการหู คอ จมูก

 

 

แก้ไข

12/07/2566