การดูแลและป้องกันสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ

September 01 / 2023

 

การดูแลและป้องกันสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ

 


ในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาที่แผนกทันตกรรมนั้น จะเริ่มมีผู้ป่วยที่เป็นผู้ป่วยสูงวัยจำนวนเพิ่มมากขึ้น โรคในช่องปากจัดเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non Communicable Diease : NCDs) การสูญเสียฟัน ทำให้ความสามารถในการเคี้ยวลดลง การที่ฟันผุ ฟันห่าง หรือฟันมีช่องว่าง ทำให้เกิดความรำคาญ ความไม่สบาย ความไม่สวยงาม ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน มีผลต่อเนื่องทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ถดถอยลง

 

 


เมื่ออายุมากขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงต่ออวัยวะ และการทำงานของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับทางทันตกรรม

 

  • ริมฝีปากแห้ง มุมปากแตก มีแผลเปื่อยที่มุมปาก
  • ตัวฟันมีสีเข้มขึ้น ฟันสึก
  • เหงือกบางลง มีการร่นของเหงือก กระดูกเบ้าฟันบางลง มีการละลายตัวของกระดูกโดยเฉพาะบริเวณที่ไม่มีฟัน
  • เยื่อบุช่องปากแห้ง และบางลง
  • ลิ้นเลี่ยน เป็นร่อง ต่อมรับรสที่ลิ้นลดลง การเคลื่อนไหวของลิ้นจะช้าลง ทำให้การกลืนลำบากขึ้น สำลักอาหารและน้ำได้ง่าย
  • ปริมาณน้ำลายลดลง ซึ่งอาจเกิดจากยาที่รับประทานบางตัวได้ด้วย การที่น้ำลายลดลงนั้น ทำให้การพูด เคี้ยว กลืนลำบาก และยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายขึ้นด้วย
  • กล้ามเนื้อ ข้อต่อขากรรไกรเสื่อม ทำให้แรงบดเคี้ยวลดลง ช้าลง



การดูแลรักษาอนามัยช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ

 

  • ถ้ายังมีฟันแท้ ให้แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะก่อนนอน
  • แนะนำให้ใช้อุปกรณ์เสริมบริเวณซอกฟัน เช่น แปรงซอกฟัน ไหมขัดฟัน และการแปรงลิ้นร่วมด้วย สามารถใช้แปรงสีฟันชนิดไฟฟ้าในกรณีที่มีปัญหาข้อมือ มืออ่อนแรง
  • ผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมถอดได้ ควรถอดฟันเทียมออกทำความสะอาดด้วยแปรงสีฟันขนนุ่ม และแปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อ ในกรณีที่ยังมีฟันแท้อยู่

 

 


ในส่วนของสภาวะปากแห้งนั้น คำแนะนำเบื้องต้นคือ

 

  • ปรับพฤติกรรมการดื่มน้ำ และรับประทานอาหารช่วย เช่น การจิบน้ำระหว่างวัน การดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหาร การจัดอาหารที่มีส่วนผสมเป็นน้ำมากขึ้น บ้วนปากบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ด เค็ม
  • งดการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มคาเฟอีน และสามารถใช้สารทดแทนน้ำลาย หรือน้ำลายเทียมช่วยได้

 

 


ฟันแท้ที่เหลืออยู่นั้น สึก บางลง เตี้ยลง ผุมากขึ้น มีช่องว่าง เศษอาหารติด ทำให้เคี้ยวไม่สะดวก วิธีการรักษานั้น บางกรณีการอุดฟันสามารถช่วยแก้ปัญหาได้เลย แต่ในบางกรณีที่เนื้อฟันหายไปมาก การสบฟันไม่ปกติ จำเป็นจะต้องทำการรักษาร่วมกับการใส่ฟันเทียม


 


การมาพบทันตแพทย์ในผู้สูงวัย จะได้รับการตรวจหาปัญหา ประเมินสุขภาพช่องปาก เพื่อการวางแผนการดูแล การป้องกันและการรักษา เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

 

เอกสารอ้างอิง : สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย

 

 

นัดพบแพทย์คลิก

ทพญ.ปาริชาติ เจริญ

ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาทันตกรรมทั่วไป

 

 

แก้ไข

28/08/2566

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

Healthy heart package (ผู้ชาย)

ฝากหัวใจ..ให้เราดูแลกับ "Healthy heart package (ผู้ชาย)" ตรวจก่อนรู้ก่อน อย่าปล่อยให้หัวใจอ่อนแอ..เกินเยียวยา

ราคา 5,990 บาท

“Healthy start program” โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

ดูแลหัวใจและปอดของคุณและคนที่คุณรัก ด้วยโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

ราคา 3,000 บาท

บริการอุปกรณ์ตรวจเช็คคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พกพาได้

ติดตามการเต้นของหัวใจแบบทางไกล เหมาะกับใครบ้าง ผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ พบอาการไม่บ่อยเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งไม่สามารถตรวจพบหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยวิธีตรวจอื่นๆ

ราคา 12,000 บาท

Exercise Ready มาเตรียมความพร้อม ก่อนกลับไปออกกำลังกาย

ตรวจเช็กให้มั่นใจก่อนกลับไปออกกำลังกาย เพื่อความปลอดภัยและได้สุขภาพที่แข็งแรงกลับมา

ราคา 12,581 บาท

Weight Management ลดน้ำหนักให้ได้ผลและปลอดภัยกับผู้เชี่ยวชาญ

ให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยดูแล เพื่อให้ได้น้ำหนักที่พอใจ พร้อมกับสุขภาพที่แข็งแรง

ราคา 15,668 บาท