เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
พิชิตโรคออฟฟิศซินโดรมและอาการปวดเรื้อรัง
ด้วยเทคโนโลยีเครื่องกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS
โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นภาวะที่ไม่ร้ายแรงถึงชีวิต แต่ว่าความเจ็บปวดนี้เป็นลักษณะของความเจ็บปวดเรื้อรัง ทำให้รบกวนชีวิตประจำวันและรบกวนการทำงาน
โรคออฟฟิศซินโดรม คือกลุ่มอาการที่เกิดกับคนทำงานออฟฟิศ โดยความผิดปกติเกิดจากการอยู่ในท่าเดียวซ้ำๆนานๆ มีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการเจ็บปวดตามบริเวณต่างๆ ได้แก่ ขมับ ต้นคอ สะบัก บ่าไหล่ โดยที่อาจมีจุดปวดตึง กดเจ็บ และอาจมีภาวะมึนเวียนศีรษะหรือ เหน็บชาร่วมด้วย
โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นภาวะที่ไม่ร้ายแรงถึงชีวิต ทว่าความเจ็บปวดนี้เป็นลักษณะของความเจ็บปวดเรื้อรัง ทำให้รบกวนชีวิตประจำวัน และรบกวนการทำงาน โรคออฟฟิศซินโดรมเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ได้แก่ การพักผ่อนไม่เพียงพอ การอยู่ในท่าเดียวซ้ำ ๆ นาน ๆ การนั่งในที่ทำงานซึ่งไม่ถูกหลักสรีระศาสตร์ ดังนั้น การรักษาจึงต้องใช้หลากหลายวิธีร่วมกัน อันประกอบด้วย
นอกเหนือจากนั้น ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างเต็มที่แล้ว บางคนอาการเจ็บปวดอาจยังไม่ดีขึ้น ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการกระตุ้นด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ามาช่วย เรียกว่า TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) เป็นเครื่องที่ส่งคลื่นแม่เหล็กเข้าไปกระตุ้นที่สมอง หรือเส้นประสาท หรือกล้ามเนื้อ ทำการกระตุ้นกล้ามเนื้อตรงจุดที่เจ็บทำให้ความเจ็บปวดลดลง และการเกร็งตัวลดลงด้วย
เทคโนโลยีการกระตุ้นด้วยแม่เหล็กไฟฟ้านี้ ยังได้ผลดีกับผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังจากโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกคอหรือหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกสันหลังทรุดตัว กลุ่มอาการปวดทั่วตัวที่ไม่ทราบสาเหตุที่เรียกกันว่า ไฟโบรมัยอัลเจีย และกลุ่มอาการปวดตึงยึดกล้ามเนื้อเรื้อรัง โรคเหล่านี้หากไม่รุนแรงถึงขั้นผ่าตัด ถ้ารับประทานยาแล้ว ทำกายภาพบำบัดรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ดีขึ้น เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วยรักษาได้
อย่างไรก็ตาม กลุ่มอาการปวดเรื้อรังที่ยาวนานกว่า 3 เดือน อย่ามัวแต่หาซื้อยามาทานเองหรือเอาแต่รักษาด้วยการนวด ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาอย่างถูกต้อง บางคนอาจเป็นโรคไทรอยด์ โลหิตจาง ขาดวิตามินดี โรคแพ้ภูมิตนเอง ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีอาการปวดเรื้อรังได้
การรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีข้อห้ามคือ จะไม่ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการชักมาก่อน ไม่ทำในผู้ป่วยที่มีโลหะรูปวงแหวนฝังอยู่ในตัว ไม่ทำในผู้ป่วยที่มีเครื่องอิเลคทรอนิกฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเครื่องหูเทียมไฟฟ้าชนิดฝังในตัว เป็นต้น
การรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นการรักษาทางเลือกใช้เสริมในการรักษาทางหลัก ภายหลังการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ละครั้ง ผู้ป่วยจะรู้สึกอาการปวดลดลงในทันที เราจะทำการรักษาต่อเนื่องหลายครั้งต่อชุดการรักษา ขึ้นกับความรุนแรงของโรค
การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS เป็นหนึ่งทางเลือกในการรักษา ใช้เสริมในการรักษาทางหลัก ภายหลังการรักษาด้วย TMS แต่ละครั้ง ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงอาการปวดลดลงในทันที