พญ. ปุณพร กมลมุนีโชติ
จิตเวชศาสตร์
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่พบบ่อยและเกิดได้ทุกเพศทุกวัย บางรายอาจมองไม่เห็นด้วยตา แต่หากได้มองตาและพูดคุยถึงได้รู้สิ่งที่อยู่ข้างใน แพทย์จึงอยากสร้างความเข้าใจเรื่องโรค การรักษาและการดูแลให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นภาวะอารมณ์เศร้าที่เป็นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าจึงรู้สึกทุกข์ทรมานและได้รับผลกระทบผลต่อหน้าที่การงาน
สารเคมีในร่างกายที่ช่วยให้เรารู้สึกตื่นตัว ตกใจ ผ่อนคลายหรือนอนหลับสนิท หากสิ่งเหล่านี้ไม่สมดุลทั้งจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่เข้ามากระทบ การใช้ชีวิตก็อาจไม่ดีเท่าที่ควร
โรคซึมเศร้าเกิดได้จากหลายปัจจัยที่นอกจากพันธุกรรม ดังนี้
ผู้ป่วยมีสารสื่อประสาทชนิดเซโรโทนิน นอร์อะดินาลีนและโดปามีนทำงานลดลงร่วมกับมีกระบวนการถ่ายทอดในระบบประสาทที่ผิดปรกติ
โอกาสเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าสูงขึ้น หากมีสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
ผู้ป่วยอาจประสบกับเหตุการณ์ในชีวิตที่ทำให้เกิดความเครียด ความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า เนื่องจากความเครียดเรื้อรังมีผลทำให้การทำงานของสารเคมีในสมองเปลี่ยนไป
ผู้ที่มีมุมมองต่อโลกและตนเองในแง่ลบมีความเสี่ยงที่เป็นโรคซึมเศร้า อย่างไรก็ตาม บุคลิกภาพอื่นก็สามารถเป็นโรคได้เช่นกัน หากสถานการณ์แวดล้อมเข้ามากระตุ้น
ผู้นั้นมีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้าหากมีอาการเหล่านี้นานกว่า 2 สัปดาห์ ปัจจุบันมีแบบทดสอบคัดกรองภาวะซึมเศร้าเบื้องต้นอย่าง 9Q (PHQ-9) อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรพบจิตแพทย์เพื่อรับวินิจฉัยตามเกณฑ์วินิจฉัย DSM-V ตั้งแต่การถามประวัติ การตรวจทางจิตเวชผ่านแบบทดสอบซึ่งครอบคลุมการตรวจด้านความคิดและจิตใจ หลังจากนั้นจึงเข้าสู่การตรวจเลือดและการตรวจทางรังสีวิทยาเพื่อคัดแยกโรค
แพทย์จะพิจารณาอาการและเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น ยาต้านซึมเศร้า (Antidepressant) โดยมีกลไกหลักคือเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาท
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะได้พบจิตแพทย์และนักจิตบำบัด เพื่อเข้ารับการทำจิตบำบัด ซึ่งเป็นการหาสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์หรือปมที่อยู่ในใจ ผู้ป่วยจะได้รับการปรับความคิดและพฤติกรรมควบคู่กับการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่อาจใช้เวลาบำบัด 12 - 16 ครั้ง อย่างไรก็ตาม จำนวนครั้งของการทำจิตบำบัดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของตัวโรค
การรักษาด้วยเทคโนโลยี TMS อาศัยหลักการใช้คลื่นแม่เหล็กไปกระตุ้นเซลล์ประสาทบริเวณเปลือกสมองตรงตำแหน่งที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าอย่างต่อเนื่อง 2-3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วันจึงจะเห็นผลเพื่อให้ผู้ป่วยดีขึ้น
อ่านเพิ่มเติม : TMS ทางเลือกใหม่สำหรับรักษาโรคซึมเศร้า
อ่านเพิ่มเติม : “โรคซึมเศร้า” กับผู้สูงวัย ลูกหวานใส่ใจ ดีขึ้นได้แน่นอน!
เมื่อสุขภาพจิตดี ร่างกายก็แข็งแรง เมื่อจิตไม่ใช่นายและกายไม่ใช่บ่าว แต่กลายเป็นสิ่งที่พึ่งพากันและกันอย่างใกล้ชิด
จิตเวชศาสตร์
จิตเวชศาสตร์
จิตเวชศาสตร์
จิตเวชศาสตร์