นพ. สุชาติ ตรีทิพย์ธิคุณ
จิตเวชศาสตร์
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
เช็คกลอนประตูวันละหลาย ๆ ครั้ง ล้างมือวันละหลายสิบรอบจนมือเป็นแผล กลัวพลาดจนต้องตรวจแล้วตรวจอีก เหล่านี้เป็นตัวอย่างพฤติกรรมที่เกิดจากความหวั่นวิตกและความกลัวเป็นพื้นฐาน โรคย้ำคิดย้ำทำเกิดได้กับทุกคน ทำอย่างไรให้ความกังวลใจนั้นเบาบางลง วันนี้หมอจึงอยากคุยกับผู้อ่าน
ความวิตกกังวลเป็นภาวะที่มัดรวมหลากหลายอารมณ์เข้าด้วยกัน ทั้งความเครียด ความหงุดหงิด ความกลัวและความสิ้นหวัง เพื่อเตรียมรับมือกับอันตรายที่อาจมีอำนาจเหนือกว่าเรา หากสิ่งเหล่านี้มีมากกว่าปรกติย่อมกลายเป็นโรควิตกกังวล การตอบสนองทั้งกาย-ใจที่แตกต่างกันก็คือโรคต่าง ๆ ที่อยู่ในกลุ่มโรควิตกกังวล เช่น โรคแพนิค โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง
โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD : Obsessive–Compulsive Symptoms) เป็นภาวะผิดปรกติทางจิตใจที่ส่งผลให้ผู้นั้นย้ำคิดจนรู้สึกหวั่นกังวลและเกิดการกระทำบางอย่างซ้ำ ๆ เพื่อทำให้ตนเองรู้สึกสบายใจขึ้น หลายคนคิดวนเวียนจนหยุดไม่ได้ คล้ายถูกวางโปรแกรมไว้ให้ตอบสนองโดยอัตโนมัติ แม้จำได้ว่าทำแล้ว
‘วิกฤตเกิดขึ้นได้จากจุดเล็ก’ เป็นประโยคที่พอให้เห็นภาพความกังวลของคนเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ เราสามารถสังเกตเห็นอาการเด่นจากหลายพฤติกรรม ทั้งยังเป็นอาการเรื้อรังที่เริ่มเกิดได้ตั้งแต่เด็ก
การคิดก็คือการกระทำหนึ่งที่ซ่อนเร้นไม่ให้ใครเห็น แม้ย้ำคิดแต่ไม่กระทำออกมาก็เป็นความผิดปรกติเช่นกัน
การตระหนักรู้ตัวเป็นอาการสำคัญที่ใช้แยกทั้งสองโรคออกจากกัน การถามคำถามซ้ำ ๆ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด ผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะถามซ้ำโดยจำไม่ได้ว่าตัวเองพึ่งถามไปเมื่อครู่ ขณะที่โรคย้ำคิดย้ำทำมีอารมณ์วิตกกังวลเป็นเบื้องหลัง
แพทย์จะถามประวัติผู้ป่วยควบคู่กับสังเกตอาการ หลังจากนั้นจึงใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อคัดแยกโรคและจัดการรักษาที่เหมาะสม เช่น การใช้ยาเพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง การทำจิตบำบัดที่มุ่งปรับเปลี่ยนมุมมองและค่อย ๆ รับมือกับสิ่งนั้นอย่างเหมาะสม
โลกใบนี้มีปริศนามากมายให้เราค้นพบ ‘ปัญหา' ก็คือปริศนาหนึ่งที่รอวันแก้ปัญหา บางครั้งการหากุญแจที่ตกหล่นตามทางมาใช้อาจไม่ได้ผล แต่การเข้าใจปัญหานั้นอย่างลึกซึ้งและสร้างกุญแจของตัวเองให้เหมาะกับปัญหานั้นอาจช่วยคลายปัญหานั้นได้
จิตเวชศาสตร์