นพ. ภาณุวัฒน์ วงษ์กุหลาบ
อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
สังคมไทยเรามีแนวโน้มว่าจะมีผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา และหนึ่งสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือ ปัญหาสุขภาพและรายจ่ายในการดูแลสุขภาพ ดังนั้นหมั่นดูแลสุขภาพของตนเอง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตลอดจนหมั่นมาตรวจสุขภาพร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค ย่อมดีกว่ารอให้ป่วยแล้วจึงค่อยมาพบแพทย์เพื่อรักษาในวันที่สายเกินไป
“วัคซีน” ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้สามารถป้องกันการติดเชื้อจากโรคที่สามารถป้องกันได้
คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่าในช่วงวัยเด็กหากรับวัคซีนครบแล้ว เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องรับวัคซีนซ้ำอีก เพราะร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคอยู่แล้ว ซึ่งในความเป็นจริงวัคซีนหลายชนิดที่เคยรับนั้นไม่สามารถป้องกันโรคได้ตลอดชีวิต เพราะภูมิคุ้มกันโรคจากวัคซีนที่ได้รับนั้นเสื่อมลงตามอายุที่มากขึ้น ดังนั้นแม้จะอยู่ในวัยผู้ใหญ่แล้วก็ยังจำเป็นต้องได้รับวัคซีน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้แล้ว ยังช่วยลดโอกาสการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลไม่ให้เสียค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากแล้ว ยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตที่เกิดจากการติดเชื้อได้อีกด้วย
ประเดินด้วยวัคซีนไข้หวัดใหญ่ซึ่งหมอขอแนะนำให้รับทุกปี เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ทุกปี เพียงรับปีละ 1 ครั้งก่อนการระบาด โดยมักระบาดในไทยอยู่ 2 ช่วงคือช่วงฤดูฝนและหนาว อย่างไรก็ตาม วัคซีนดังกล่าวไม่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้ไข่อย่างรุนแรง เนื่องจากไข่เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิตวัคซีน
อ่านเพิ่มเติม: โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เกิดบ่อยทุกปีแต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
วัคซีนโรคคอตีบ ไอกรนและบาดทะยัก (Diphtheria-Tetanus-Pertussis vaccineย่อว่า DTP) เป็นหนึ่งตัวที่หมอแนะนำให้รับอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ กรณีผู้ที่มีบาดแผลหรือทำงานเสี่ยงต่อการเกิดบาดทะยักควรรับ 3 ครั้ง โดยเว้นระยะห่างระหว่างขึ้นเข็มที่ 2 ราว 1-2 เดือน และเว้นระยะขึ้นเข็มที่ 3 ราว 6-12 เดือน
และรับกระตุ้นทุก 10 ปี เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน
ผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนควรรับ โดยรับ 2 ครั้งห่างกัน 4-8 สัปดาห์ หญิงวัยเจริญพันธุ์ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์เป็นเวลา 1 เดือนหลังรับวัคซีน
โรคงูสวัดมักพบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยหมอแนะนำให้รับในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคงูสวัดสูงสุด อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50 - 59 ปีที่ประสงค์รับวัคซีนป้องกันงูสวัดควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะมีข้อจำกัดที่คงประสิทธิภาพไว้ได้เพียงช่วง 5 ปีแรก
วัคซีนป้องกันเอชพีวี (ผู้หญิง) เป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูก ซึ่งแนะนำเป็นพิเศษสำหรับผู้หญิงอายุ 9-26 ปี อย่างไรก็ตาม วัคซีนนี้ไม่เหมาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เมื่อได้รับวัคซีนแล้วยังต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ
วัคซีนเอชพีวี (ผู้ชาย) เป็นหนึ่งตัวที่แนะนำโดยเฉพาะกลุ่มชายรักร่วมเพศเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีบริเวณทวารหนักซึ่งอาจลุกลามกลายเป็นมะเร็งของทวารหนัก (Anal cancer) เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงมากต่อการติดเชื้อเอชพีวีแล้วเป็นรอยโรคและมะเร็งบริเวณอวัยวะเพศ
วัคซีนโรคหัด โรคหัดเยอรมันและโรคคางทูม (Measles-Mumps-Rubella vaccine ย่อว่า MMR) เหมาะสำหรับผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยป่วยเป็นโรคทั้ง 3 ชนิดนี้มาก่อนหรือแม้ไม่ได้รับวัคซีนมาก่อนก็เข้ารับได้ ซึ่งควรได้รับอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยเฉพาะผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อย่างไรก็ตาม หลังได้รับวัคซีนควรเลื่อนแผนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน
อีกชื่อคือวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเชื้อนิวโมคอคคัสซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคติดเชื้อในกลุ่มผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ (มากกว่า 65 ปี) ผู้ที่ไม่มีม้าม หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กรณีของผู้ใหญ่ควรได้รับวัคซีนชนิด 23-valent polysaccharide pneumococcal vaccine เพียงครั้งเดียว ทว่าแพยท์อาจรับกระตุ้นอีกครั้งหลังผ่านไป 3 - 5 ปี นอกจากนี้การเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ซึ่งกำลังระบาดหนักก็เป็นการป้องกันที่ดีอีกหนึ่งตัว เนื่องจากไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่มีแนวโน้มระบาดตลอดทั้งปี
อีกหนึ่งโรคน่าเป็นห่วงที่สามารถติดต่อผ่านอาหารและเครื่องดื่มที่ปนเปื้อน ทั้งยังสามารถแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นเพียงสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น ทางเพศสัมพันธ์ จากแม่สู่ลูกขณะคลอด ทางการให้เลือด วัคซีนชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง ผู้ที่มีอาชีพประกอบอาหาร หรือผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด โดยได้รับ 2 ครั้งห่างกัน 6-12 เดือน เชื่อว่าจะมีภูมิคุ้มกันนานเกิน 10 ปี
อีกทั้งผู้ที่มีเชื้ออยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานานอาจเป็นตับอักเสบเรื้อรัง และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับในอนาคต โดยวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีต้องรับทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างครั้งแรก 1 เดือน ครั้งที่ 3 ห่างครั้งแรก 6 เดือน
สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ทุกรายควรได้รับวัคซีนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ แต่มีบางรายที่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อนที่จะตั้งครรภ์ ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะติดโรค ซึ่งวัคซีนที่แนะนำให้รับมีดังนี้
เนื่องจากเป็นวัคซีนที่จำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทุกคน ถึงแม้ว่าหญิงตั้งครรภ์ผู้นั้นจะเคยได้รับวัคซีนมาก่อนก็ตาม โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการรับเพื่อให้ภูมิคุ้มกันไปสู่ลูกได้มากที่สุดคือ ขณะอายุครรภ์ 27 - 36 สัปดาห์ เป็นวัคซีน 3 ชนิด ที่รับพร้อมกันใน 1 เข็ม สาเหตุที่ต้องรับ เพราะขณะนี้โรคคอตีบได้กลับมาระบาดอีก ในรายที่รุนแรงอาจทำให้แม่และลูกในท้องเสียชีวิตได้ ส่วนโรคไอกรน พบว่าลูกที่ป่วยเป็นโรคไอกรนจะติดเชื้อมาจากแม่ ถ้ารับให้แม่ก็จะป้องกันให้ลูกที่คลอดออกมาได้ประมาณ 6 เดือน และวัคซีนป้องกันบาดทะยัก จะช่วยป้องกันการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตรด้วย
เนื่องจากไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ทำอันตรายสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะหากเป็นแล้วจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หรือหัวใจวายได้ จึงแนะนำให้วัคซีนนี้รับ 1 เข็ม ป้องกันได้ 1 ปี
“วัคซีนหลายชนิดที่เคยรับ” ไม่สามารถป้องกันโรคได้ตลอดชีวิต เพราะจะเสื่อมลงไปตามอายุที่มากขึ้น
อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ