ดูแลสุขภาพคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์...สำคัญที่สุด

February 23 / 2024

 

 

ดูแลสุขภาพคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์...สำคัญที่สุด

 

 

พญ.วันวิสาข์  ไชยชนะ

สูติ-นรีเวช

 

 

การดูแลสุขภาพคุณแม่ตั้งครรภ์

 

  • อาหารบำรุงครรภ์ควรเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก เนื่องจากคุณแม่ตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางสูง
  • อาหารที่ช่วยบรรเทาอาการแน่นท้อง เช่น น้ำขิง และยังช่วยเร่งการผลิตน้ำนมได้เป็นอย่างดี
  • ผักผลไม้ โดยเฉพาะผักสีเขียว, ผักสีส้ม เพราะมีประโยชน์ให้ลูกน้อยเจริญเติบโตอย่างสมวัยและช่วยให้สุขภาพของคุณแม่แข็งแรงอีกด้วย
  • อาหารเร่งน้ำนม เช่น แกงเลียง ยำหัวปลีและผัดขิง เป็นต้น
  • การเดิน, การนั่ง, การนอน, ต้องระมัดระวังมากขึ้น
  • การนอนคว่ำในช่วงไตรมาสแรกอาจไม่ได้ส่งผลอะไร แต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ท้องเริ่มใหญ่ขึ้นควรนอนตะแคงด้านซ้าย เพราะจะช่วยพยุงท้องได้ดีและช่วยให้คุณแม่หายใจได้สะดวกมากขึ้น
  • การทานยาจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะยาบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ได้
  • ผิวแตกลาย เป็นผลข้างเคียงจากการที่ท้องคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว การป้องกันโดยทาครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของมอยเจอไรเซอร์ อาจช่วยลดรอยแตกลายได้บ้าง
  • อึดอัด แน่นท้อง สามารถบรรเทาได้ด้วยการทานอาหารให้น้อยลงแต่แบ่งเป็นหลายมื้อๆ
  • การออกกำลังกาย เป็นสิ่งจำเป็น เพราะส่งเสริมให้กล้ามเนื้อต่างๆ แข็งแรงขึ้นและช่วยให้คุณแม่นอนหลับสบายวันละประมาณ 7-9 ชั่วโมง ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี ท้องไม่ผูก
  • การพักผ่อน ให้มากกว่าปกติและควรได้พักผ่อนในช่วงกลางวันด้วย
  • การแต่งกาย ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวม ไม่รัดรูป, ปรับขนาดยกทรงให้พอเหมาะกับเต้านมที่เพิ่มขนาดขึ้น รองเท้าควรใส่ไม่มีส้น

 

 

 

ลูกในครรภ์ แบ่งเป็น 3 ไตรมาส

 

  • ไตรมาสที่ 1 (1-3 เดือน) เมื่ออายุ 3 เดือน ขนาดทารกตัวยาว 10-12 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 15 กรัม เป็นช่วงที่ไข่เข้าไปฝังตัวอยู่ที่ผนังมดลูกแล้ว และกำลังเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อน โดยมีรกและสายสะดือนำอาหารส่งไปถึงทารก ซึ่งเมื่อทารกมีอายุครรภ์ได้ 3 เดือน เขาจะมีอวัยวะครบถ้วน หัวใจเต้นประมาณ 120-160 ครั้ง/นาที แต่คุณแม่จะยังไม่รู้สึกว่าลูกดิ้น
  • ไตรมาสที่ 2 (4-6 เดือน) เมื่ออายุ 6 เดือน ขนาดตัวยาว 30 เซนติเมตร น้ำหนัก 600 กรัม เป็นช่วงที่ทารกเริ่มขยับตัวมากขึ้น มีการหลับตื่น สามารถลืมตา กลืนน้ำได้ มีขนขึ้นตามร่างกาย สมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแต่การทำงานของปอดยังไม่ค่อยดี ช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้น
  • ไตรมาสที่ 3 (7-9 เดือน) เมื่ออายุ 9 เดือน ขนาดตัวยาว 50 เซนติเมตร น้ำหนัก 2,800 – 3,000 กรัม เป็นช่วงที่ทารกเริ่มเจริญเติบโตเต็มที่และสามารถหายใจได้เอง ระยะนี้เด็กจะเริ่มกลับตัวเอาหัวลงสู่ช่องคลอดเพื่อเตรียมพร้อมคลอดต่อไป

 

 

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรที่จะเข้มงวดกับการดูแลตัวเอง เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ มีพัฒนาการที่ดี แข็งแรงสมบูรณ์ และไม่มีอาการเสี่ยงทั้งแม่และลูก

 

นัดพบแพทย์คลิก

พญ.วันวิสาข์  ไชยชนะ

สูติ-นรีเวช

 

แก้ไขล่าสุด 29/07/63