พญ. อรุณี ตั้งศิริชัยพงษ์
จักษุแพทย์ สาขาจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ทำไมต้องตรวจจอประสาทตา
จอประสาทตา (Retine) คือชั้นบางของเซลล์รับภาพที่อยู่ด้านหลังของดวงตา การที่คนเราจะสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนจำเป็นต้องมีจอประสาทตาที่ปรกติ ถ้าหากเปรียบเทียบดวงตากับกล้องถ่ายรูป จอประสาทตาจะเทียบได้กับฟิล์มของกล้อง ซึ่งถ้าฟิล์มเกิดความเสียหาย ภาพที่ถ่ายจากกล้องก็จะมีคุณภาพไม่ดี เช่นเดียวกับผู้ที่มีโรคของจอประสาทตาการมองเห็นก็จะไม่ชัดเจน จุดสำคัญของจอประสาทตา คือ จุดรับภาพ (Macula) ซึ่งเป็นบริเวณเล็ก ๆ ที่สำคัญมากในการมองตรงกลาง (central vision) บริเวณอื่นที่เหลือของจอประสาทตาจะช่วยให้มองภาพด้านข้าง (Peripheral vision)
เมื่อมีรูฉีกขาดที่จอประสาทตา น้ำวุ้นตาจะค่อย ๆ เซาะเข้าไปในชั้นของจอประสาทตา ทำให้การมองเห็นผิดปกติ โดยในระยะแรกผู้ป่วยจะมองเห็นจุดดำ ๆ ลอยไปมา มีแสงแว๊บในลูกตา มีม่านบังตาหรือตามัวลงเมื่อเป็นมาก ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดจอประสาทตาหลุดลอก คือ ผู้ที่มีสายตาสั้น เคยมีอุบัติเหตุที่ตาหรือใบหน้า มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
เมื่อเกิดจอประสาทตาลอกหลุด จักษุแพทย์จะใช้แก๊สหรือน้ำมันซิลิโคนดันจอประสาทตาให้กลับเข้าที่ โดยอาศัยเครื่องมือที่ประสิทธิภาพสูงช่วยรักษา
พบได้ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีสายตาสั้นมาก ซึ่งเมื่อเกิดความเสื่อมของจุดรับภาพขึ้น จะทำให้มองเห็นตรงกลางภาพบิดเบี้ยว มีจุดบอดที่ตรงกลางภาพหรือการมองเห็นสีผิดปกติไป
จักษุแพทย์มีเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อช่วยในการตรวจหลายชนิด ดังต่อไปนี้
ดวงตาเป็นอวัยวะที่เปราะบาง ดังนั้นการตรวจพบและวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถทำให้ผู้ป่วยคงมีสายตาที่ปกติได้
จักษุแพทย์ สาขาจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา