แผนกหัวใจเต้นผิดจังหวะ - วินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ

รายชื่อศูนย์การแพทย์หรือคลินิกของโรงพยาบาลรามคำแหง

 

แผนกหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือมีความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจทุกชนิด โดยคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาระบบไฟฟ้าหัวใจโดยเฉพาะ ห้องปฏิบัติการระบบไฟฟ้าหัวใจนี้เพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงวิเคราะห์หาต้นเหตุและรักษาไฟฟ้าหัวใจด้วยระบบ CARTO (CARTO System) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถแสดงภาพเสมือนจริง ทำให้เห็นตำแหน่งของความผิดปกติได้ชัดเจน จึงช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยและรักษาส่งผลให้ประสิทธิผลของการรักษาดีขึ้นและผู้ป่วยได้รับผลแทรกซ้อนลดลง

 

 

การบริการของคลินิกหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรงพยาบาลรามคำแหง มีดังนี้ 

 

  • Electrophysiology Study หรือการตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจประเมินสัญญาณไฟฟ้าหัวใจและทางเดินไฟฟ้าหัวใจ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและตำแหน่งที่ระบบไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติส่งผลให้หัวใจเต้นผิดปกติ แสดงผลเป็นกราฟ 2 มิติ ช่วยให้แพทย์พิจารณาทางเลือกในการรักษาที่เหมาะสม ด้วยวิธีการนี้ หากแพทย์พิจารณาให้การรักษาโดยการจี้ด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง ก็สามารถให้การรักษาได้ต่อเนื่องทันทีหลังจากการตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจแล้ว

    • การจี้จุดกำเนิดการเต้นผิดปกติในหัวใจโดยคลื่นวิทยุความถี่สูง คือการใช้สายสวนสอดไปตามหลอดเลือดถึงห้องหัวใจ ที่ปลายสายจะมีขั้วปล่อยพลังงานคลื่นวิทยุ ณ ตำแหน่งที่มีกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติเพื่อทำลายตำแหน่งที่มีการนำไฟฟ้าผิดปกติ
       

  • การรักษาโดยการจี้จุดกำเนิดการเต้นผิดปกติในหัวใจ โดยอาศัยเครื่องค้นหาตำแหน่งการเกิดความผิดปกติ ของระบบไฟฟ้าหัวใจ (CARTO System) เป็นการรักษาโดยการหาตำแหน่งความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจซึ่งสามารถแสดงเป็นภาพ 3 มิติแบบ real-time และใช้สายสวนจี้ที่จุดที่ผิดปกตินั้นด้วยคลื่นวิทยุ วิธีนี้สามารถใช้ในการรักษาความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจที่มักมีจุดกำเนิดผิดปกติในบริเวณกว้าง อาทิ

    • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะห้องบน (atrial tachycardia)
    • ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation)
    • ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็ว (ventricular tachycardia)
    • ภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วชนิดลัดวงจร (supraventricular tachycardia)
       
  • การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker) เป็นการฝังเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เล็กๆไว้ใต้ผิวหนังบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าเชื่อมกับสายนำไฟฟ้าไปยังหัวใจ เครื่องจะทำการตรวจจับจังหวะการเต้นของหัวใจ สายนำไฟฟ้าจะเป็นตัวควบคุมและกระตุ้นให้หัวใจเต้นตามอัตราที่กำหนด ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจมีจังหวะช้าผิดปกติ
     

  • การฝังเครื่องกระตุกหัวใจ (implantable cardioverter defibrillator; ICD) เป็นการฝังเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์คล้าย pacemaker เชื่อมกับสายนำไฟฟ้าไปยังหัวใจ ซึ่งนอกจากช่วยกระตุ้นหัวใจกรณีเต้นช้าแล้วยังสามารถกระตุกหัวใจในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะชนิดร้ายแรงถึงชีวิต ใช้ป้องกันการเสียชีวิตกะทันหัน
     

  • การฝังเครื่องกระตุ้น/กระตุกไฟฟ้าหัวใจชนิดปรับการทำงานกล้ามเนื้อหัวใจให้บีบตัวประสานงานกัน (cardiac resynchonization therapy; CRT) เป็นการฝังเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์คล้าย pacemaker หรือ ICD ใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังที่รักษาด้วยยาเต็มที่แล้ว แต่ยังมีภาวะหัวใจล้มเหลวอยู่ ให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดีขึ้น
     

 

อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ในห้องปฎิบัติการ

 

ห้องปฎิบัติการระบบไฟฟ้าหัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง ประกอบด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้แก่
 

  • ระบบ CARTO (CARTO system) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการสร้างภาพ 3 มิติ เพื่อให้ได้ภาพ โครงสร้างของหัวใจและคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ชัดเจน ซึ่งจะแสดงเป็นสีต่างๆ กันตามความซับซ้อนของการนำไฟฟ้า สามารถสร้างภาพได้หลากหลายและจำเพาะเจาะจงมากขึ้น ช่วยให้แพทย์สามารถระบุตำแหน่งที่เกิดความผิดปกติและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด แพทย์สามารถทำการรักษาโดยการจี้ที่หัวใจได้อย่างถูกต้องแม่นยำเพิ่มประสิทธิผลของการรักษาได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ระบบ CARTO จะทำงานร่วมกับอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ ประกอบด้วย
     

    • CARTOSOUND เป็นระบบอัลตราซาวนด์ที่สามารถทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ในการสร้างภาพกราฟฟิค 3 มิติ ทำให้แพทย์เห็นโครงสร้างของหัวใจและตำแหน่งที่เกิดความความผิดปกติได้อย่างชัดเจน

    • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์

    • ระบบการระบุตำแหน่งของสายสวนคล้าย GPS เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยและรักษาซอฟต์แวร์ มีหลากหลายชนิด สามารถใช้ในการสร้างภาพที่หลากหลายและจำเพาะเจาะจงกับชนิดของภาวะหัวใจผิดปกติที่ผู้ป่วยเป็นได้มากขึ้น เช่น CFAEs (Complex fractionated atrial electrocardiograms) ใช้ในการหาตำแหน่งคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ซับซ้อนเป็นต้น

 

 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณยายกิมกี อินดี

 

ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจตีบกับหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

“ผู้ป่วยวัย 97 ปี รักษาด้วยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติก โดยไม่ต้องผ่าตัดผ่านทางสายสวน (TAVI)”

 

“…ในช่วง “โควิด-19” เริ่มระบาดรุนแรงขึ้น “คุณยายกิมกี” จึงบอกลูกหลานว่าของดไปหาหมอไว้ก่อน แต่หลังจากห่างหมอไปราว 7-8 เดือนก็เกิดอาการเป็นลมถึง 3-4 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ ลูก-หลานที่คอยดูแลจึงพาคุณยายไปโรงพยาบาลใกล้บ้านเพราะเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินไม่ควรรอช้า แต่ด้วยความไว้วางใจโรงพยาบาลรามคำแหงจึงติดต่อขอมารักษากับคุณหมอวิชัย  ศรีมนัส ที่ “รพ.รามคำแหง” เมื่อมาถึงก็ได้รับการตรวจวินิจฉัยตามขั้นตอนจนไปถึง “การฉีดสีสวนหัวใจ” อย่างเร่งด่วน จึงพบสาเหตุและได้รับการรักษาต่อเนื่องโดยทราบว่าปัญหาอยู่ที่ “โรคลิ้นหัวใจตีบ” กับ “หัวใจเต้นผิดจังหวะ” ซึ่งบุตรสาวคือ “คุณพอศรี อินดี” ได้ให้ข้อมูลว่าตอนแรกก็มาด้วยเหนื่อย...คอเลสเตอรอลสูงเล็กน้อย คุณแม่มีเบาหวานแล้วก็มีหัวใจด้วย ตอนที่มาหาอาจารย์ก็ได้ยารักษามาเรื่อย ๆ 3-4 เดือนก็จะมา Follow Up ครั้งหนึ่งค่ะ แต่ช่วงนั้นได้ขาดหายไป 7 เดือน...จริง ๆ แล้วอยู่ที่บ้านก็พยายามให้เดิน แล้วก็ทำกายภาพฯ ยกแขน-ยกขา แต่ก็เหนื่อยมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่เราเห็นว่าชีพจรไม่ได้เร็วหรือช้ามากคืออยู่ในเกณฑ์...วัดน้ำตาล วัดความดันแล้วก็อยู่ในเกณฑ์ปกติ จึงไม่ได้คิดว่าจะมีเรื่องหลอดเลือดหัวใจอุดตัน แต่เรื่องลิ้นหัวใจตีบคุณหมอวิชัย ขอตรวจมานานแล้วเพียงแต่เราไม่กล้าให้ตรวจสวนหัวใจ จนกระทั่งมาเกิดเป็นลมจึงบังคับให้ต้องเลือกแล้ว...พามาส่งเย็นวันนั้นก็สวนหัวใจเลยค่ะ..”

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณเรวดี จตุรงค์พาณิชย์

 

ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

เกิดอาการวูบ 30 ปีก่อนจากหัวใจเต้นผิดปกติ รักษาด้วยการแพทย์แบบทางไกล

 

“...คือมันเกิดขึ้นอายุประมาณ 30 ได้ ตอนเริ่มต้นก็แค่มีอาการแบบว่าชาที่บริเวณโคนลิ้นกับกรามค่ะ มันจะรู้สึกชา ๆ แล้วใจก็จะแบบหวิว ๆ แล้วก็วูบหมดสติค่ะ ตอนแรกไปหาหมอที่ รพ.รามฯ แต่ตรวจแล้วไม่พบ เพราะตอนไปหาหมอมันไม่มีอาการ คุณหมอก็นึกว่าเป็นลมธรรมดา จนกระทั่งวันหนึ่งได้ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ในหมู่บ้านแล้วเกิดวูบตกมอเตอร์ไซค์ พอดีเพื่อนบ้านเห็นก็เลยพาส่งไปที่ รพ.รามคำแหง ได้พบอาจารย์หมอวิชัยค่ะ คุณหมอก็สงสัยว่าอายุยังน้อยทำไมถึงมีอาการแบบนี้ พอตรวจหัวใจแล้วได้ให้ติดเครื่องวัดหัวใจแบบ Holter ผลออกมาว่าเป็นหัวใจเต้นผิดปกติ คุณหมอก็เลยเรียกเข้า รพ.ด่วนเพื่อให้ยาทาน หลังจากนั้นก็ดีขึ้นก็จึงให้ทานยาทุกวัน โดยคุณหมอบอกแต่แรกแล้วว่าสงสัยต้องทานยาไปตลอดชีวิตเพื่อคุมการเต้นของหัวใจ จากนั้นก็ได้มีอาการวูบหมดสติอีกสัก 2-3 ครั้งจึงไปหาคุณหมอและได้รับยาเข้าทางเส้นเลือด แต่ที่เราสงสัยคือมันเกิดจากอะไรจึงถามคุณหมอและฟังว่าเหตุผลหนึ่งอาจจะมาจากเครียด ซึ่งเราก็คิดว่าน่าจะเป็นอันนั้น เพราะช่วงนั้นมีปัญหาเรื่องงานกับอะไรอีกหลายอย่างเข้ามาพร้อม ๆ กัน ก็เลยหันมาใช้ชีวิตใหม่โดยพยายามตัดปัญหาทุกสิ่งออกไป จะได้ไม่หมกมุ่นมากแล้วก็เริ่มออกกำลังกายจนกระทั่งรู้สึกว่าดีขึ้น ไม่มีอาการวูบก็ลองหยุดยาค่ะ...หยุดมาน่าจะเกิน 20 ปีด้วยซ้ำแต่ก็อยู่ได้โดยไม่มีอาการจึงไม่ได้ไปหาคุณหมออีกเลย คือใช้ชีวิตปกติมาตลอด ไม่มีอาการเตือน ไม่มีอะไรทั้งสิ้น อยู่ ๆ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ตอนกลางวันเดิน ๆ อยู่ในห้องก็ล้มลงไปเฉย ๆ โดยไม่มีอาการเตือนอะไรทั้งสิ้นค่ะ ดีแต่ว่ามันเป็นแค่แว้บเดียว พอลุกขึ้นมาก็นึกถึงอาการที่เราเคยเป็น แต่เมื่อนั่งไปทั้งวันมันก็ไม่มีอาการอะไรเกิดขึ้น มาอีกทีตอนหัวค่ำกำลังเอนหลังดูทีวีอยู่ มันก็มีอาการแบบวูบ ๆ ใจสั่น แล้วยังวูบติด ๆ กันจึงคิดว่าผิดปกติมาก เพราะเมื่อก่อนที่เคยเป็นไม่ถึงขนาดนี้-วูบจนเรารู้สึกเหนื่อย จึงไปเรียกรถฉุกเฉินให้พาไปส่ง รพ.รามคำแหงเพราะทราบว่าคุณหมอวิชัยยังอยู่ที่นั่น แม้จะผ่านไปตั้งหลายปีแล้ว และแม้ว่าประวัติการรักษาไม่อยู่แล้ว แต่คุณหมอจำได้ว่าเคยวูบจนตกรถมอเตอร์ไซค์นะคะ แล้วจากนั้นคุณหมอวิชัยร่วมกับคุณหมอบัญชาก็ช่วยกันดู ช่วยกันรักษาตั้งแต่วันที่เกิดเรื่องเลย โดยได้ติดเครื่องตรวจวัดอัตราการเต้นผิดปกติที่เรียกว่า Holter ให้แต่มันก็ไม่มีอาการอะไรค่ะ...”

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณปิยะ พสุทันท์

อดีตคนใข้โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

“ หลังจากที่ผมเข้ารับการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุกหัวใจเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ก็คิดว่าอาการรุนแรงต่างๆ จากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจะจบลง สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ตามปกติโดยไม่ต้องกังวลว่าอาการจะกำเริบจนอาจเสียชีวิตได้ตลอดเวลา แต่จู่ๆ เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อผมมีอาการโรคหัวใจกำเริบขึ้นมาโดยไม่รู้สาเหตุ !! 
 .
ผมจึงตัดสินใจมาที่นี่ พอตรวจก็พบว่าหัวใจขาดโพแทสเซียม ตอนแรกคุณหมอให้ทานยาโพแทสเซียมเสริม แต่มันก็ไม่หายขาด สุดท้ายแล้วคุณหมอจึงแนะนำให้รักษาด้วยเทคโนโลยีจี้สลายระบบไฟฟ้า จากที่ได้ฟัง มันน่าจะช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้นได้ เลยตัดสินใจทำ”

ซึ่งหมอต้องบอกเลยนะครับ ว่าวิธีการนี้ถือเป็นวิธีการที่ค่อนข้างซับซ้อนและอาจต้องใช้เวลานาน แพทย์ที่ทำการรักษาต้องมีความเชี่ยวชาญอย่างมาก และอุปกรณ์ต้องพร้อม เพราะหากเกิดความผิดพลาดอาจทำให้ผู้ป่วยหัวใจทะลุจนเสียชีวิตได้ สำหรับคุณปิยะนั้นใช้เวลาในการจี้นานถึง 7 ชั่วโมง สามารถรักษาได้ไปถึง 2 จุดใหญ่ๆ และยังเหลืออีก 2 จุดเล็กที่ไม่สามารถจี้ได้ทันที คุณหมอจึงได้ทำพิจารณาการรักษาอีก 2 จุดภายหลัง
.
หลังจากที่ผ่าตัดกลับมาคุณปิยะสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม เพราะทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ด้วยการทานยาสม่ำเสมอ ลดความเครียดจากการทำงานลง หมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรงไม่เกิดขึ้นอีกเลย แม้ว่าจะต้องเดินทางไปต่างประเทศถึง 15 ชั่วโมง อาการก็ยังปกติดีอยู่ หมอรามดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งให้คุณปิยะหายจากอาการดังกล่าว ทำให้ได้ใช้ชีวิตอย่างอุ่นใจและปลอดภัยมากขึ้นนะครับ

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณศรีสวัสดิ์ กัลยา

อดีตคนใข้โรคหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ

“ คุณศรีสวัสดิ์ กัลยา เข้ามาพบหมอด้วย “อาการหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ” ซึ่งได้เล่าถึงระยะเริ่มต้นที่มักมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย จึงได้ไปหาหมอและรับยามาทานก็ดีขึ้น แต่ก็ยังเป็น ๆ หาย ๆ จนเริ่มบ่อยและนานขึ้น ถึงขั้นใช้ชีวิตปกติไม่ได้ บางครั้งหัวใจเต้นแรงต่อเนื่องตั้งแต่ 8 โมง ถึง บ่าย 2 จึงกลับไปหาหมอที่โรงพยาบาลเดิมอีกครั้ง หมอแนะนำให้รักษาด้วยการใช้คลื่นวิทยุจี้กล้ามเนื้อหัวใจ ”

เมื่อต้องทำการรักษาอย่างจริงจัง คุณศรีสวัสดิ์และครอบครัวจึงเลือกย้ายมารักษาที่โรงพยาบาลรามคำแหง เพราะความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์และเครื่องมือที่พร้อมมากกว่า หลังจากการตรวจวินิจฉัยกันอย่างละเอียดอีกครั้ง คุณหมอจึงแนะนำวิธีการรักษาให้ และคนไข้ก็ได้ตัดสินใจรักษาด้วยวิธีการจี้จุดกำเนิดไฟฟ้าผิดปกติในหัวใจ ผ่านการสวนหลอดเลือด

คุณศรีสวัสดิ์พักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1 คืนเท่านั้น ในตอนเช้าก็กลับบ้านได้ และต่อจากนั้น 1 อาทิตย์คุณหมอได้นัดเข้ามาตรวจอาการอีกครั้ง ปราฏกว่าการเต้นของหัวใจกลับมาเป็นปกติ

  • เทคโนโลยีที่ช่วยในการรักษา โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • โรคหัวใจวายเฉียบพลันและภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว

  • ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

  • การช่วยชีวิตผู้ป่วยหัวใจวายเฉียบพลัน ด้วยการทำ CPR อย่างถูกวิธี

  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ ร้ายแรงแค่ไหน? ต้องดู

  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ AF

  • เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • รายการเรื่องจริงผ่านจอ วิกฤตโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณยายกิมกี อินดี

 

ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจตีบกับหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

“ผู้ป่วยวัย 97 ปี รักษาด้วยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติก โดยไม่ต้องผ่าตัดผ่านทางสายสวน (TAVI)”

 

“…ในช่วง “โควิด-19” เริ่มระบาดรุนแรงขึ้น “คุณยายกิมกี” จึงบอกลูกหลานว่าของดไปหาหมอไว้ก่อน แต่หลังจากห่างหมอไปราว 7-8 เดือนก็เกิดอาการเป็นลมถึง 3-4 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ ลูก-หลานที่คอยดูแลจึงพาคุณยายไปโรงพยาบาลใกล้บ้านเพราะเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินไม่ควรรอช้า แต่ด้วยความไว้วางใจโรงพยาบาลรามคำแหงจึงติดต่อขอมารักษากับคุณหมอวิชัย  ศรีมนัส ที่ “รพ.รามคำแหง” เมื่อมาถึงก็ได้รับการตรวจวินิจฉัยตามขั้นตอนจนไปถึง “การฉีดสีสวนหัวใจ” อย่างเร่งด่วน จึงพบสาเหตุและได้รับการรักษาต่อเนื่องโดยทราบว่าปัญหาอยู่ที่ “โรคลิ้นหัวใจตีบ” กับ “หัวใจเต้นผิดจังหวะ” ซึ่งบุตรสาวคือ “คุณพอศรี อินดี” ได้ให้ข้อมูลว่าตอนแรกก็มาด้วยเหนื่อย...คอเลสเตอรอลสูงเล็กน้อย คุณแม่มีเบาหวานแล้วก็มีหัวใจด้วย ตอนที่มาหาอาจารย์ก็ได้ยารักษามาเรื่อย ๆ 3-4 เดือนก็จะมา Follow Up ครั้งหนึ่งค่ะ แต่ช่วงนั้นได้ขาดหายไป 7 เดือน...จริง ๆ แล้วอยู่ที่บ้านก็พยายามให้เดิน แล้วก็ทำกายภาพฯ ยกแขน-ยกขา แต่ก็เหนื่อยมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่เราเห็นว่าชีพจรไม่ได้เร็วหรือช้ามากคืออยู่ในเกณฑ์...วัดน้ำตาล วัดความดันแล้วก็อยู่ในเกณฑ์ปกติ จึงไม่ได้คิดว่าจะมีเรื่องหลอดเลือดหัวใจอุดตัน แต่เรื่องลิ้นหัวใจตีบคุณหมอวิชัย ขอตรวจมานานแล้วเพียงแต่เราไม่กล้าให้ตรวจสวนหัวใจ จนกระทั่งมาเกิดเป็นลมจึงบังคับให้ต้องเลือกแล้ว...พามาส่งเย็นวันนั้นก็สวนหัวใจเลยค่ะ..”

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณเรวดี จตุรงค์พาณิชย์

 

ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

เกิดอาการวูบ 30 ปีก่อนจากหัวใจเต้นผิดปกติ รักษาด้วยการแพทย์แบบทางไกล

 

“...คือมันเกิดขึ้นอายุประมาณ 30 ได้ ตอนเริ่มต้นก็แค่มีอาการแบบว่าชาที่บริเวณโคนลิ้นกับกรามค่ะ มันจะรู้สึกชา ๆ แล้วใจก็จะแบบหวิว ๆ แล้วก็วูบหมดสติค่ะ ตอนแรกไปหาหมอที่ รพ.รามฯ แต่ตรวจแล้วไม่พบ เพราะตอนไปหาหมอมันไม่มีอาการ คุณหมอก็นึกว่าเป็นลมธรรมดา จนกระทั่งวันหนึ่งได้ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ในหมู่บ้านแล้วเกิดวูบตกมอเตอร์ไซค์ พอดีเพื่อนบ้านเห็นก็เลยพาส่งไปที่ รพ.รามคำแหง ได้พบอาจารย์หมอวิชัยค่ะ คุณหมอก็สงสัยว่าอายุยังน้อยทำไมถึงมีอาการแบบนี้ พอตรวจหัวใจแล้วได้ให้ติดเครื่องวัดหัวใจแบบ Holter ผลออกมาว่าเป็นหัวใจเต้นผิดปกติ คุณหมอก็เลยเรียกเข้า รพ.ด่วนเพื่อให้ยาทาน หลังจากนั้นก็ดีขึ้นก็จึงให้ทานยาทุกวัน โดยคุณหมอบอกแต่แรกแล้วว่าสงสัยต้องทานยาไปตลอดชีวิตเพื่อคุมการเต้นของหัวใจ จากนั้นก็ได้มีอาการวูบหมดสติอีกสัก 2-3 ครั้งจึงไปหาคุณหมอและได้รับยาเข้าทางเส้นเลือด แต่ที่เราสงสัยคือมันเกิดจากอะไรจึงถามคุณหมอและฟังว่าเหตุผลหนึ่งอาจจะมาจากเครียด ซึ่งเราก็คิดว่าน่าจะเป็นอันนั้น เพราะช่วงนั้นมีปัญหาเรื่องงานกับอะไรอีกหลายอย่างเข้ามาพร้อม ๆ กัน ก็เลยหันมาใช้ชีวิตใหม่โดยพยายามตัดปัญหาทุกสิ่งออกไป จะได้ไม่หมกมุ่นมากแล้วก็เริ่มออกกำลังกายจนกระทั่งรู้สึกว่าดีขึ้น ไม่มีอาการวูบก็ลองหยุดยาค่ะ...หยุดมาน่าจะเกิน 20 ปีด้วยซ้ำแต่ก็อยู่ได้โดยไม่มีอาการจึงไม่ได้ไปหาคุณหมออีกเลย คือใช้ชีวิตปกติมาตลอด ไม่มีอาการเตือน ไม่มีอะไรทั้งสิ้น อยู่ ๆ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ตอนกลางวันเดิน ๆ อยู่ในห้องก็ล้มลงไปเฉย ๆ โดยไม่มีอาการเตือนอะไรทั้งสิ้นค่ะ ดีแต่ว่ามันเป็นแค่แว้บเดียว พอลุกขึ้นมาก็นึกถึงอาการที่เราเคยเป็น แต่เมื่อนั่งไปทั้งวันมันก็ไม่มีอาการอะไรเกิดขึ้น มาอีกทีตอนหัวค่ำกำลังเอนหลังดูทีวีอยู่ มันก็มีอาการแบบวูบ ๆ ใจสั่น แล้วยังวูบติด ๆ กันจึงคิดว่าผิดปกติมาก เพราะเมื่อก่อนที่เคยเป็นไม่ถึงขนาดนี้-วูบจนเรารู้สึกเหนื่อย จึงไปเรียกรถฉุกเฉินให้พาไปส่ง รพ.รามคำแหงเพราะทราบว่าคุณหมอวิชัยยังอยู่ที่นั่น แม้จะผ่านไปตั้งหลายปีแล้ว และแม้ว่าประวัติการรักษาไม่อยู่แล้ว แต่คุณหมอจำได้ว่าเคยวูบจนตกรถมอเตอร์ไซค์นะคะ แล้วจากนั้นคุณหมอวิชัยร่วมกับคุณหมอบัญชาก็ช่วยกันดู ช่วยกันรักษาตั้งแต่วันที่เกิดเรื่องเลย โดยได้ติดเครื่องตรวจวัดอัตราการเต้นผิดปกติที่เรียกว่า Holter ให้แต่มันก็ไม่มีอาการอะไรค่ะ...”

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณปิยะ พสุทันท์

อดีตคนใข้โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

“ หลังจากที่ผมเข้ารับการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุกหัวใจเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ก็คิดว่าอาการรุนแรงต่างๆ จากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจะจบลง สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ตามปกติโดยไม่ต้องกังวลว่าอาการจะกำเริบจนอาจเสียชีวิตได้ตลอดเวลา แต่จู่ๆ เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อผมมีอาการโรคหัวใจกำเริบขึ้นมาโดยไม่รู้สาเหตุ !! 
 .
ผมจึงตัดสินใจมาที่นี่ พอตรวจก็พบว่าหัวใจขาดโพแทสเซียม ตอนแรกคุณหมอให้ทานยาโพแทสเซียมเสริม แต่มันก็ไม่หายขาด สุดท้ายแล้วคุณหมอจึงแนะนำให้รักษาด้วยเทคโนโลยีจี้สลายระบบไฟฟ้า จากที่ได้ฟัง มันน่าจะช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้นได้ เลยตัดสินใจทำ”

ซึ่งหมอต้องบอกเลยนะครับ ว่าวิธีการนี้ถือเป็นวิธีการที่ค่อนข้างซับซ้อนและอาจต้องใช้เวลานาน แพทย์ที่ทำการรักษาต้องมีความเชี่ยวชาญอย่างมาก และอุปกรณ์ต้องพร้อม เพราะหากเกิดความผิดพลาดอาจทำให้ผู้ป่วยหัวใจทะลุจนเสียชีวิตได้ สำหรับคุณปิยะนั้นใช้เวลาในการจี้นานถึง 7 ชั่วโมง สามารถรักษาได้ไปถึง 2 จุดใหญ่ๆ และยังเหลืออีก 2 จุดเล็กที่ไม่สามารถจี้ได้ทันที คุณหมอจึงได้ทำพิจารณาการรักษาอีก 2 จุดภายหลัง
.
หลังจากที่ผ่าตัดกลับมาคุณปิยะสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม เพราะทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ด้วยการทานยาสม่ำเสมอ ลดความเครียดจากการทำงานลง หมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรงไม่เกิดขึ้นอีกเลย แม้ว่าจะต้องเดินทางไปต่างประเทศถึง 15 ชั่วโมง อาการก็ยังปกติดีอยู่ หมอรามดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งให้คุณปิยะหายจากอาการดังกล่าว ทำให้ได้ใช้ชีวิตอย่างอุ่นใจและปลอดภัยมากขึ้นนะครับ

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณศรีสวัสดิ์ กัลยา

อดีตคนใข้โรคหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ

“ คุณศรีสวัสดิ์ กัลยา เข้ามาพบหมอด้วย “อาการหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ” ซึ่งได้เล่าถึงระยะเริ่มต้นที่มักมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย จึงได้ไปหาหมอและรับยามาทานก็ดีขึ้น แต่ก็ยังเป็น ๆ หาย ๆ จนเริ่มบ่อยและนานขึ้น ถึงขั้นใช้ชีวิตปกติไม่ได้ บางครั้งหัวใจเต้นแรงต่อเนื่องตั้งแต่ 8 โมง ถึง บ่าย 2 จึงกลับไปหาหมอที่โรงพยาบาลเดิมอีกครั้ง หมอแนะนำให้รักษาด้วยการใช้คลื่นวิทยุจี้กล้ามเนื้อหัวใจ ”

เมื่อต้องทำการรักษาอย่างจริงจัง คุณศรีสวัสดิ์และครอบครัวจึงเลือกย้ายมารักษาที่โรงพยาบาลรามคำแหง เพราะความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์และเครื่องมือที่พร้อมมากกว่า หลังจากการตรวจวินิจฉัยกันอย่างละเอียดอีกครั้ง คุณหมอจึงแนะนำวิธีการรักษาให้ และคนไข้ก็ได้ตัดสินใจรักษาด้วยวิธีการจี้จุดกำเนิดไฟฟ้าผิดปกติในหัวใจ ผ่านการสวนหลอดเลือด

คุณศรีสวัสดิ์พักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1 คืนเท่านั้น ในตอนเช้าก็กลับบ้านได้ และต่อจากนั้น 1 อาทิตย์คุณหมอได้นัดเข้ามาตรวจอาการอีกครั้ง ปราฏกว่าการเต้นของหัวใจกลับมาเป็นปกติ