เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Policy)
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
โรงพยาบาลรามคำแหง (“โรงพยาบาล”) ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ที่ท่านให้โรงพยาบาลใน ระหว่างการร้องขอการบริการ การเยี่ยมชมเว็บไซต์
หรือใช้แอพพลิเคชั่นของหรือจากโรงพยาบาล นโยบาย คุ้มครองข้อมูลส่วน
บุคคลนี้รวมถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวคุณโดยเป็นการส่งต่อมาจากบุคคลที่สาม
ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง “ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือ ทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ”
การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
1. โรงพยาบาลเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของ ท่าน ที่สามารถระบุตัวตนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อประโยชน์ต่อท่านในระยะเวลาที่เหมาะสมจำเป็นต่อการให้บริการ ในกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูล กับโรงพยาบาล หรือร้องขอการบริการจากโรงพยาบาลผ่านช่องทางเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นหรือ ช่องทางอื่นใดของโรงพยาบาล อาทิเช่น การนัดหมายแพทย์ การทำธุรกรรมแบบออนไลน์ การสมัครรับจดหมายข่าว การขอรับความช่วยเหลือพิเศษ รวมไปถึงการทำธุรกรรมแบบออฟไลน์ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วยที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียนของโรงพยาบาล หรือจากความสมัครใจ ของท่านใน การทำแบบสอบถาม (Survey) หรือการโต้ตอบทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือการกรอก ให้ข้อมูลประกอบการสมัครงาน หรือช่องทางการสื่อสารอื่นๆ ระหว่างโรงพยาบาล และท่าน
2. โรงพยาบาลอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากบุคคลที่สาม เช่นธุรกิจในเครือข่าย ตัวแทน จำหน่าย หรือผู้ให้บริการของโรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐ
ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมจากท่านจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการเก็บรวบรวม และประเภทของการบริการที่ท่านร้องขอจากโรงพยาบาล ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูกนำมาใช้เพื่อให้การทำธุรกรรมออนไลน์หรือออฟไลน์ หรือบริการที่ได้รับการร้องขอเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวมโดยตรงจากท่าน หรือจากบุคคลที่สาม มีดังนี้
1) ข้อมูลระบุตัวตน เช่น ชื่อ ภาพถ่าย เพศ วัน เดือน ปีเกิด หนังสือเดินทาง หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขที่สามารถระบุตัวตนอื่นๆ
2) ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมลล์
3) ข้อมูลการชำระเงิน เช่น ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต และ รายละเอียดบัญชี ธนาคาร
4) ข้อมูลการเข้ารับบริการ เช่น ข้อมูลการนัดหมายแพทย์ ข้อมูลส่วนบุคคลของญาติ ความต้องการ เกี่ยวกับห้องพัก อาหาร และบริการเสริมอื่นๆ
5) ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเพื่อร่วมกิจกรรมกับเรา
6) ข้อมูลสถิติ เช่น จำนวนผู้ป่วย และการเข้าชมเว็บไซต์
7) ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ของโรงพยาบาล
8) ข้อมูลด้านสุขภาพ รายงานที่เกี่ยวกับสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การดูแลสุขภาพของท่าน ผลการทดสอบจากห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ และการวินิจฉัย
9) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและการแพ้ยาของท่าน
10) ข้อมูล Feedback และผลการรักษาที่ท่านให้ไว้
เราจะไม่เก็บและใช้ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนของคุณ เช่น เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ประวัติอาชญากร เว้นแต่เป็นไปตามที่ข้อบังคับและกฎหมายกำหนด หรือโดยความยินยอมของท่าน
การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1) จัดหาบริการ หรือส่งมอบบริการของโรงพยาบาล
2) นัดหมายแพทย์ ส่งข่าวสาร แนะนำบริการของโรงพยาบาล
3) การประสานงานและส่งต่อข้อมูลซึ่งจะช่วยให้การส่งต่อผู้ป่วยมีความรวดเร็วขึ้น
4) การยืนยันตัวตนของผู้ป่วย
5) ส่งข้อความแจ้งเตือนการนัดหมายแพทย์ หรือการเสนอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาล
6) อำนวยความสะดวกและนำเสนอรายการสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ท่าน
7) จุดประสงค์ด้านการตลาด การส่งเสริมการขาย และการลูกค้าสัมพันธ์ เช่น การส่งข้อมูลเกี่ยวกับ โปรโมชั่น ผลิตภัณฑ์และบริการ รายการส่งเสริมการขาย และธุรกิจพันธมิตร
8) เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร ตอบค าถาม หรือตอบสนองข้อร้องเรียน
9) สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า วิจัยตลาด วิเคราะห์ทางสถิติประมวลผลและแสดงผลเพื่อเป็น ข้อมูลในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้น
10) วัตถุประสงค์ทางบัญชีหรือทางการเงิน เช่นการตรวจสอบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต การเรียกเก็บเงินและการตรวจสอบความถูกต้อง การขอคืนเงิน
11) รักษาความปลอดภัย รวมถึงความปลอดภัยขณะพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาล
12) เพื่อวัตถุประสงค์ในการสมัครงาน การเป็นพนักงาน หรือวัตถุประสงค์อื่นใดที่เกี่ยวข้อง
13) ปฏิบัติตามกฎของโรงพยาบาล
14) ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือการร้องขอใดๆจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การปฏิบัติตามหมายเรียกพยาน หรือคำสั่งศาล หรือการร้องขออื่นๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
15) วัตถุประสงค์อื่นๆ ที่สนับสนุนการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ข้างต้น หรือที่ได้รับความยินยอมจาก ท่านเป็นครั้งคราว
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลอาจเปิดเผยหรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังบุคคลที่สาม ซึ่งอาจตั้งอยู่ภายในหรือ นอกราชอาณาจักร โดยโรงพยาบาลจะดำเนินตามมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสม หรือเป็นไปตามข้อบังคับและ กฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์ที่ตามระบุไว้ข้างต้น ให้แก่
1) พันธมิตรทางธุรกิจ เช่น บริษัทประกัน พันธมิตรที่เข้าร่วมรายการโปรแกรมสะสมคะแนน และสิทธิ ประโยชน์และศูนย์การแพทย์ และหรือบริษัทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการ
2) ธนาคาร และผู้ให้บริการชำระเงิน เช่น บริษัทบัตรเครดิต หรือเดบิต
3) เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงและความปลอดภัย
4) หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานศุลกากร
5) หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยงานอื่นๆ ตามที่กฎหมายอนุญาต หรือกำหนดไว้
การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนมือถือของโรงพยาบาล อาจมีลิงก์เชื่อมไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม หากท่านไปตาม ลิงก์เหล่านี้ นโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ไม่มีผลกับเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม โปรดทราบว่าโรงพยาบาลไม่ สามารถรับผิดชอบใดๆ ต่อการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านโดยบุคคลที่สามดังกล่าว เนื่องจากอยู่นอกการ ควบคุมของโรงพยาบาล
การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัย
1. ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูก เก็บรักษาไว้นานเท่าที่จำเป็น เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ตามที่อธิบาย ไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ หรือภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย หรือเพื่อการดำเนินการทาง กฎหมาย
2. โรงพยาบาลจะใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย และการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อ ป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent) : ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความ ยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับโรงพยาบาลได้ ตลอดระยะเวลาที่ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับโรงพยาบาล
2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access) : ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและ ขอให้โรงพยาบาลทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้แก่ท่าน รวมถึงขอให้โรงพยาบาลเปิดเผยการได้มาซึ่ง ข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอมต่อโรงพยาบาลได้
3. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาล แก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือเพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
4. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาลท าการลบข้อมูล ของท่านด้วยเหตุบางประการได้
5. สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing) : ท่านมีสิทธิในการระงับการ ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
6. สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability) : ท่านมีสิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วน บุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้กับโรงพยาบาลไปยังผู้ควบคุมข้อมูลรายอื่น หรือตัวท่านเองด้วยเหตุบางประการได้
7. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object) : ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
ท่านสามารถร้องขอการเข้าถึงหรือขอให้อัพเดตและแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงสิทธิอื่นใดข้างต้น หรือสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้บังคับ เช่น ขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือขอให้ระงับการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน กรณีเห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกนำไปใช้เกิน ขอบเขตวัตถุประสงค์การใช้งานที่แจ้งให้ทราบข้างต้น หรือไม่ได้รับความยินยอมจากท่าน
การเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะทำการพิจารณาทบทวนนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประจำเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโรงพยาบาลจะแจ้ง ให้ท่านทราบด้วยการ อัพเดตข้อมูลลงในเว็บไซต์ของโรงพยาบาล https://www.ram-hosp.co.th/contactus โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้หากท่านมีคำถาม ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโปรดติดต่อได้ที่อีเมลล์ support@ram-hosp.co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 01 มิถุนายน 2565
(นพ.พิชญ สมบูรณสิน)
กรรมการบริหาร
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย โรงพยาบาลรามคำแหง
ภายใต้การดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาตร์การกีฬา ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกายเพื่อรักษาโรค /วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
พร้อมด้วยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะทางเรื่องการฟื้นฟูและดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย รวมถึงการให้ความรู้กับผู้ป่วยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและปอด
ทั้งหมดนี้เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของคุณ เพื่อให้คุณได้กลับไปทำฝันที่หัวใจต้องการ
การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด ดีอย่างไร ทำไมต้องทำ?
การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด (Cardiac Rehabilitation) เป็นกระบวนการที่มีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง ที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยที่ได้รับการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจและใส่ขดลวด หรือผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวไม่ว่าจะเป็น โรคปอด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน คลายความวิตกกังวลมีความมั่นใจว่าจะสามารถใช้ชีวิตประจำวัน และออกกำลังกายได้อย่างปกติ และส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อให้คุณได้กลับไปทำฝันที่หัวใจต้องการ
แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย ช่วยให้หัวใจแข็งแรงได้อย่างไร?
แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกายจะทำการออกแบบและวางแผนการออกกำลังกายให้ผู้ป่วยเป็นรายบุคคลโดยเฉพาะ ซึ่งการออกกำลังกายนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของขบวนการการฟื้นฟู ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคต่างๆ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น จิตใจผ่อนคลาย ใช้ชีวิตประจำวันและการออกกำลังกายควบคุมอาการของโรคได้ ไม่มีอาการผิดปกติ ลดโอกาสการเกิดโรคซ้ำในอนาคต
นอกจากนี้ แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย ยังมีบริการ ทดสอบสมรรถทางกาย ให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่นักกีฬาต่างๆ ที่ต้องการวางแผนการฝึกซ้อมเพื่อการแข่งขันและผู้ที่สนใจดูแลรักษาสุขภาพทุกเพศทุกวัยสามารถออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
ใครบ้างที่ควรเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด?
ผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจ :
ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
นักกีฬาที่ต้องการวางแผนการฝึกซ้อมเพื่อการแข่งขัน
ผู้ที่สนใจดูแลรักษาสุขภาพโดยการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
ขั้นตอนในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอดเป็นอย่างไร?
ที่แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย โรงพยาบาลรามคำแหง โดยทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมดูแลคุณด้วยใจอย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย ผ่านขั้นตอนง่ายๆ
1. เมื่อคุณมาที่แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย อาคาร 3 ชั้น 10 จะมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกในการลงทะเบียนก่อนเข้ารับบริการให้คุณอยู่ที่หน้าเคาเตอร์
2. หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการวัดสัญญาณชีพ เพื่อดูอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต วัดปริมาณออกซิเจนในเลือด และติดอุปกรณ์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECG เพื่อดูจังหวะการเต้นของหัวใจขณะพักว่าเต้นผิดปกติหรือไม่ มีสัญญาณบ่งชี้ว่าหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจได้รับบาดเจ็บหรือไม่ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
3. แพทย์และผู้เชี่ยวชาญจะทำการวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกาย ดูความสมดุลของสัดส่วนกล้ามเนื้อไขมัน และองค์ประกอบอื่นๆ พร้อมสอบถามอาการ และประเมินสมรรถภาพร่างกายว่าสามารถทำกิจกรรมใดได้บ้าง เพื่อกำหนดเป้าหมายในการออกกำลังกายและฟื้นฟูองค์ประกอบร่างกายอย่างเหมาะสม จากนั้นก็จะทำการวางแผนและออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายว่าควรใช้อุปกรณ์ใดบ้าง และควรออกกำลังกายแต่ละครั้งนานแค่ไหน และติดตามผลแบบเฉพาะบุคคล เพื่อนำมาปรับและวางแผนให้เหมาะสม
4. เจ้าหน้าที่จะพาเดินวอร์มอัพเพื่อให้ร่างกายมีความพร้อมก่อนเริ่มออกกำลังกาย
5.เริ่มออกกำลังกายตามโปรแกรม โดยมีเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ควบคุมโปรแกรมและดูแลอย่างใกล้ชิด และตลอดเวลาที่ออกกำลังกายก็จะมีการตรวจเช็คอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตว่าเพิ่มขึ้นในระดับที่เหมาะสม หรือการตอบสนองของร่างกายเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่
ซึ่งระหว่างที่เข้ารับการฟื้นฟูก็จะมีการเก็บข้อมูล ส่งต่อให้แพทย์ดูว่าพัฒนาการของสมรรถภาพหัวใจและปอดหลังเข้ารับการฟื้นฟูแต่ละครั้งเป็นอย่างไร เพื่อใช้วางแผนการรักษาหรือให้ยา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมทำกิจกรรมที่ต้องการทำได้อย่างเหมาะสมและไม่เกิดอันตราย...
ทำไมต้องฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด ที่โรงพยาบาลรามคำแหง?
แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย โรงพยาบาลรามคำแหงเป็นแผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกายที่มีความเป็นเลิศ มุ่งเน้นเฉพาะทางเรื่องการฟื้นฟูและดูแลสมรรถภาพหัวใจและปอด ลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ แผนกแห่งนี้มีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเรื่องการฟื้นฟู ดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย รวมถึงให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในเรื่องที่เกี่ยวกับโรคหัวใจและปอด แผนกแห่งนี้ยังเพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์การออกกำลังกาย การทดสอบสมรรถภาพทางกาย และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ช่วยเฝ้าระวังความผิดปกติระวังการออกกำลังกายและการทดสอบสมรรถภาพทางกายระดับมาตรฐานสากลที่ทันสมัยและครบวงจร อาทิเช่น
** มาเริ่มการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับสุขภาพของคุณด้วย "Health Start Program" โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด คลิก https://bit.ly/3HoyW8j
แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย มุ่งเน้นการฟื้นฟูดูแลหัวใจและปอดเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเกิดโรคซ้ำอีกในอนาคต ช่วยให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น กลับคืนสู่สภาวะปกติ และทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนเดิม
ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ
"....พอได้มาออกกำลังกายแบบนี้ก็มั่นใจขึ้นว่าจะหลีกเลี่ยงการเกิดอาการเป็นลมหมดสติ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้…."
มี “ความดันโลหิตสูง” เป็นโรคประจำตัวมานานกว่า 20 ปีแล้วโดยทานยาลดความดันฯ มาตลอด แล้วก็พบว่าเส้นเลือดหัวใจรวม 3 เส้นได้ตีบตันไปราวๆ 75 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ จึงได้เข้ารับการรักษาด้วยการ “ทำบอลลูนขยายเส้นเลือด” ซึ่งทำได้เพียงเส้นเดียวเพราะอีก 2 เส้นมีลักษณะคดโค้งและคุณหมอเห็นว่าอายุมากเกรงว่าจะมีความเสี่ยง จึงพาคุณพ่อไปปรึกษาที่ “รพ.รามคำแหง” ส่งผลให้ได้รับการทำบอลลูนอีก 2 ตำแหน่งและผ่านพ้นไปด้วยความเรียบร้อย...หลังจากนั้นราวครึ่งเดือนได้เข้าคอร์สฟื้นฟูที่ “แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด” ซึ่งเป็นขั้นตอนอีกอย่างหนึ่งหลังจากได้รับการรักษาจนมีอาการดีขึ้นแล้วด้วยเหตุผลคือ...เพื่อให้สามารถกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตได้ตามปกติ ช่วยเหลือ ดูแลตัวเองได้ดีขึ้น และสามารถควบคุมโรคได้ในระดับที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการกลับไปเกิดโรคซ้ำ...
“...แต่ละครั้ง อ.สิทธาจะให้ผมออกกำลังกายที่พอเหมาะกับร่างกาย ไม่เหนื่อยเกินไป แล้วก็พอที่ผมจะสามารถทำได้...นอกจากเดินก็ให้ขี่จักรยานออกกำลังขา ให้เดินสายพานในจังหวะที่เร็วกว่าผมเดินเองที่บ้าน เพื่อให้ผมก้าวขาได้ดีขึ้น แล้วก็มีให้ออกกำลังแขนโดยการดึงยางยืด ยืดเข้ายืดออก เพื่อให้กล้ามเนื้อแขนและไหล่แข็งแรงขึ้นด้วย แต่ละอย่างก็ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ก่อนหน้านี้ผมไม่ค่อยได้ออกกำลังกายมาก่อน พอได้มาออกกำลังกายแบบนี้ก็มั่นใจขึ้นว่าจะหลีกเลี่ยงการเกิดอาการเป็นลมหมดสติ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ ตอนนี้มั่นใจว่าความดันไม่สูงมาก ก็จะทำให้การทำงานของหัวใจไม่หนักเกินไป...ยังคิดว่าจบคอร์สนี้แล้วจะต่ออีกสักคอร์ส คือมาทำ 6 ครั้งๆ ละประมาณ 50 นาที แต่ทำแล้วรู้สึกว่าได้ผลดีจริงๆ ครับ...”
ในด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด “ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด, การออกกำลังกายเพื่อรักษาโรค, วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย รพ.รามคำแหง” ระบุว่าอยู่ที่ประมาณ 2-3 เดือน โดยจะมีการประเมินเป็นระยะว่าผู้ป่วยสามารถออกกำลังกาย หรือใช้แรงในระดับที่เหมาะสมได้อย่างปลอดภัยแล้วจริงๆ รวมถึงหัวใจและปอดมีการทำงานที่ดีขึ้นแล้ว เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจที่จะไปออกกำลังกายหรือใช้ชีวิตตามปกติของตนเองได้ “...การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด ต้องออกแบบและวางแผนร่วมกันระหว่างแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วย กับผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยกันพิจารณาพยาธิสภาพของผู้ป่วยแต่ละรายว่าควรออกกำลังกายแบบใด ด้วยอุปกรณ์ชนิดใด ใช้ระยะเวลาในการออกกำลังกายแต่ละครั้งนานเท่าใด ทั้งนี้ยังต้องมีการติดอุปกรณ์ติดตามผลการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต รวมถึงการตอบสนองของร่างกายว่าเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่อย่างใกล้ชิดไปพร้อมกัน เพราะบางกรณี เช่น คนที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอาจเกิดความผิดปกติเมื่อออกกำลังกาย หรือ คนที่เคยหัวใจวายมาก่อน เวลาออกกำลังกายไปถึงจุดหนึ่งแล้วหัวใจอาจจะขาด แรงปั๊มที่ดีทำให้ความดันตก ก็ต้องมีการปรับลดกิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสม คือต้องดูกราฟหัวใจให้ค่อยๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ ความดันก็ต้องค่อยไต่ขึ้นไป ไม่สูงมาก และไม่มีสัญญาณที่บ่งบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด...ที่สำคัญอีกคือ... “ต้องมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที”
ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ
"....พอได้มาออกกำลังกายแบบนี้ก็มั่นใจขึ้นว่าจะหลีกเลี่ยงการเกิดอาการเป็นลมหมดสติ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้…."
มี “ความดันโลหิตสูง” เป็นโรคประจำตัวมานานกว่า 20 ปีแล้วโดยทานยาลดความดันฯ มาตลอด แล้วก็พบว่าเส้นเลือดหัวใจรวม 3 เส้นได้ตีบตันไปราวๆ 75 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ จึงได้เข้ารับการรักษาด้วยการ “ทำบอลลูนขยายเส้นเลือด” ซึ่งทำได้เพียงเส้นเดียวเพราะอีก 2 เส้นมีลักษณะคดโค้งและคุณหมอเห็นว่าอายุมากเกรงว่าจะมีความเสี่ยง จึงพาคุณพ่อไปปรึกษาที่ “รพ.รามคำแหง” ส่งผลให้ได้รับการทำบอลลูนอีก 2 ตำแหน่งและผ่านพ้นไปด้วยความเรียบร้อย...หลังจากนั้นราวครึ่งเดือนได้เข้าคอร์สฟื้นฟูที่ “แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด” ซึ่งเป็นขั้นตอนอีกอย่างหนึ่งหลังจากได้รับการรักษาจนมีอาการดีขึ้นแล้วด้วยเหตุผลคือ...เพื่อให้สามารถกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตได้ตามปกติ ช่วยเหลือ ดูแลตัวเองได้ดีขึ้น และสามารถควบคุมโรคได้ในระดับที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการกลับไปเกิดโรคซ้ำ...
“...แต่ละครั้ง อ.สิทธาจะให้ผมออกกำลังกายที่พอเหมาะกับร่างกาย ไม่เหนื่อยเกินไป แล้วก็พอที่ผมจะสามารถทำได้...นอกจากเดินก็ให้ขี่จักรยานออกกำลังขา ให้เดินสายพานในจังหวะที่เร็วกว่าผมเดินเองที่บ้าน เพื่อให้ผมก้าวขาได้ดีขึ้น แล้วก็มีให้ออกกำลังแขนโดยการดึงยางยืด ยืดเข้ายืดออก เพื่อให้กล้ามเนื้อแขนและไหล่แข็งแรงขึ้นด้วย แต่ละอย่างก็ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ก่อนหน้านี้ผมไม่ค่อยได้ออกกำลังกายมาก่อน พอได้มาออกกำลังกายแบบนี้ก็มั่นใจขึ้นว่าจะหลีกเลี่ยงการเกิดอาการเป็นลมหมดสติ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ ตอนนี้มั่นใจว่าความดันไม่สูงมาก ก็จะทำให้การทำงานของหัวใจไม่หนักเกินไป...ยังคิดว่าจบคอร์สนี้แล้วจะต่ออีกสักคอร์ส คือมาทำ 6 ครั้งๆ ละประมาณ 50 นาที แต่ทำแล้วรู้สึกว่าได้ผลดีจริงๆ ครับ...”
ในด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด “ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด, การออกกำลังกายเพื่อรักษาโรค, วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย รพ.รามคำแหง” ระบุว่าอยู่ที่ประมาณ 2-3 เดือน โดยจะมีการประเมินเป็นระยะว่าผู้ป่วยสามารถออกกำลังกาย หรือใช้แรงในระดับที่เหมาะสมได้อย่างปลอดภัยแล้วจริงๆ รวมถึงหัวใจและปอดมีการทำงานที่ดีขึ้นแล้ว เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจที่จะไปออกกำลังกายหรือใช้ชีวิตตามปกติของตนเองได้ “...การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด ต้องออกแบบและวางแผนร่วมกันระหว่างแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วย กับผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยกันพิจารณาพยาธิสภาพของผู้ป่วยแต่ละรายว่าควรออกกำลังกายแบบใด ด้วยอุปกรณ์ชนิดใด ใช้ระยะเวลาในการออกกำลังกายแต่ละครั้งนานเท่าใด ทั้งนี้ยังต้องมีการติดอุปกรณ์ติดตามผลการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต รวมถึงการตอบสนองของร่างกายว่าเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่อย่างใกล้ชิดไปพร้อมกัน เพราะบางกรณี เช่น คนที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอาจเกิดความผิดปกติเมื่อออกกำลังกาย หรือ คนที่เคยหัวใจวายมาก่อน เวลาออกกำลังกายไปถึงจุดหนึ่งแล้วหัวใจอาจจะขาด แรงปั๊มที่ดีทำให้ความดันตก ก็ต้องมีการปรับลดกิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสม คือต้องดูกราฟหัวใจให้ค่อยๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ ความดันก็ต้องค่อยไต่ขึ้นไป ไม่สูงมาก และไม่มีสัญญาณที่บ่งบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด...ที่สำคัญอีกคือ... “ต้องมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที”
โรงพยาบาลรามคำแหง
436 ถ. รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
1512, 02-743-9999
แฟกซ์ 0 2374 0804
support@ram-hosp.co.th