นพ. สิริศักดิ์ บูรณวัฒนาโชค
ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ส่องกล้องข้อไหล่และข้อเข่า
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
อาการปวดข้อศอกด้านนอก (Tennis elbow)
อาการเจ็บบริเวณข้อศอกด้านนอก (Tennis elbow) พบมานานกว่าร้อยปี โดยเฉพาะกลุ่มนักกีฬาเทนนิสมีโอกาสเสี่ยงเกิดอาการปวดนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มาหาแพทย์ด้วยโรคนี้จะเป็นนักกีฬาเทนนิสเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นั่นหมายความว่าอาการเจ็บเหล่านี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน
Tennis elbow เกิดจากเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่ยึดเกาะบริเวณปุ่มกระดูกด้านนอกของข้อศอกได้รับความเสียหาย ส่งผลเกิดการบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่น อุบัติเหตุ การใช้งานซ้ำ ๆ จนเส้นเอ็นเสื่อมสภาพ การเล่นกีฬา การยกของหนัก หรือลากของบ่อย หรือกิจวัตรธรรมดาในบ้านอย่างการกวาดบ้าน บิดผ้าหรือทำกับข้าว
เมื่อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ ประกอบกับกล้ามเนื้อเริ่มอ่อนแรงตามอายุที่มากขึ้น หากใช้งานเพิ่มในสภาพที่เส้นเอ็นบริเวณที่ฉีกขาดยังไม่ฟื้นฟูตัวเองจนหายสนิท ก็สามารถเกิดการฉีกขาดซ้ำจนเกิดภาวะอักเสบและบวม ทำให้หายช้านานหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน อาการอักเสบบริเวณข้อศอก อาจจะเกิดเพียงส่วนของเส้นเอ็น (Tendonitis) แต่บ่อยครั้งที่อาการอักเสบจะเกิดครอบคลุมถึงตำแหน่งที่เกาะของเส้นเอ็นบนกระดูก และข้อใกล้เคียง (epicondylitis)
การวินิจฉัยทำได้ง่ายด้วยการซักประวัติและตรวจร่างกายตามอาการแสดงข้างต้น แต่มีกลุ่มอาการที่มักจะเข้าใจผิดว่าเป็น tennis elbow บ่อย ๆ เช่น อาการปวดของปุ่มข้อศอกด้านใน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาการปวดข้อศอกของนักกอลฟ์ (golfer's elbow) ส่วนอีกอาการหนึ่ง คือ อาการปวดบริเวณปลายข้อศอกด้านหลัง บริเวณที่ใช้เท้าแขน สาเหตุมาจากถุงน้ำบริเวณข้อศอกอักเสบ (bursltls) ดังตารางข้างบน
เนื่องจากอาการปวดเกี่ยวข้องการบาดเจ็บของเส้นเอ็นโดยตรง ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุดคือการพักหยุดการใช้แขนควบคู่กับการรักษาอื่น ได้แก่
หลังพักควรบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงตามขั้นตอนที่อยู่ด้านล่าง ดังนั้นหากจำเป็นต้องกลับไปทำงานที่อาจเป็นสาเหตุของโรค ผู้ป่วยควรบริหารกล้ามเนื้อก่อนใช้งาน (อุ่นเครื่อง : warm up) โดยใช้เวลาราว 5-10 นาที และควรหยุดหากเกิดอาการเจ็บ
ท่าบริหารทั้งสองท่าเป็นการบริหารยืดกล้ามเนื้อ ควรทำทั้งสองท่าครั้งละ 15 วินาที ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง วันละ 3 รอบ
หลังจากยืดกล้ามเนื้อแล้ว ควรบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงด้วยการวางแขนไว้บนโต๊ะหรือพนักวางแขนให้ข้อมือพ้นขอบ จากนั้นใช้มือที่ถนัดถือของน้ำหนักเบา เช่น ปลากระป๋อง จากนั้นค่อยเริ่มใช้ท่า
หากใช้สองท่านี้ต้องทำอย่างน้อย 3-6 ครั้ง/เซ็ต แบ่งเป็น 6 เซ็ตให้รวมได้ 30 ครั้ง
การรักษาที่ดีที่สุด คือ การพักหยุดการใช้แขนที่ทำให้มีการปวดมากขึ้น
แก้ไข
31/3/2565
ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ส่องกล้องข้อไหล่และข้อเข่า