คู่มือผู้ป่วยปลูกถ่ายไต
กับ โรงพยาบาลรามคำแหง
ในร่างกายของคนปกติจะมีไตซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเม็ดถั่วสีน้ำตาลแดงอยู่ที่บริเวณใต้ชายโครงด้านหลังของเอวทั้ง 2 ข้าง โดยมีหน้าที่สําคัญ ได้แก่ การขับน้ำและของเสียต่าง ๆ ในร่างกายออกมาทางปัสสาวะ หากมีภาวะไตวาย หรือไตไม่ทำงานเกิดขึ้นของเสียจะเกิดการสะสมในร่างกายส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในต่าง ๆ และส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
นอกจากนี้ไตยังทําหน้าที่อื่น ได้แก่ ควบคุมปริมาณสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ควบคุมความเป็นกรดและด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ผลิตฮอร์โมน Erythropoietin เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ควบคุมการสร้างวิตามินดี แคลเซียม และฟอสฟอรัส
อาการของผู้ป่วยโรคไตวาย
เมื่อเกิดภาวะไตวายหรือไตไม่ทํางาน จะส่งผลให้มีการสะสมของเสียในร่างกายจนเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย โลหิตจาง คันตามตัว ความดันโลหิตสูง หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจลําบาก น้ำท่วมปอด กระดูกเปราะบางหักง่าย และอาจเกิดการชักและสมองหยุดทำงานได้หากมีของเสียสะสมในสมองมาก ถ้าเกิดภาวะไตวายในเด็กจะส่งผลให้ไม่เจริญเติบโตตามปกติ
สาเหตุของการเกิดโรคไตวาย
สาเหตุของการเกิดโรคไตวาย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง นิ่วในไต เนื้อเยื่อไตอักเสบ โรคภูมิต่อต้านตนเอง โรคถุงน้ำในไต โรคไตจากกรรมพันธุ์
บางสาเหตุสามารถป้องกันได้ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงหากผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาควบคุมให้ดีจะป้องกันการเกิดโรคไตวายเรื้อรังได้
เมื่อผู้ป่วยเกิดไตวายเรื้อรังจนเข้าสู่ระยะสุดท้ายแล้ว จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อให้ร่างกายสามารถขับของเสียได้และสามารถดำรงชีวิตได้ต่อไป ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาผู้ป่วยไตวาย 3 วิธี เพื่อให้มีชีวิตที่ยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนี้
1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
วิธีนี้เป็นการนําเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีของเสียปริมาณมาก มาเข้าเครื่องฟอกเลือด โดยจะกรองของเสียจากเลือดและนําเลือดที่ถูกฟอกแล้วกลับเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วย การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จะทําสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง โดยทำครั้งละประมาณ 4 ชั่วโมง หลังจากฟอกเลือดแล้วร่างกายผู้ป่วยจะแข็งแรงขึ้น สามารถดํารงชีวิตได้เหมือนปกติ แต่ผู้ป่วยต้องมาฟอกเลือดที่ศูนย์ไตเทียมสม่ำเสมอ
2. การล้างไตทางช่องท้อง (CAPD)
วิธีนี้ผู้ป่วยจะใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้องของตัวผู้ป่วยเอง ใส่น้ำยาครั้งละ 2 ลิตร ทำวันละประมาณ 4 ครั้ง ในขณะที่น้ำยาอยู่ในช่องท้อง ของเสียต่าง ๆที่อยู่ในร่างกายจะแพร่ออกจากกระแสเลือดเข้าสู่น้ำยาในช่องท้อง ทำให้ของเสียในเลือดลดลง ดังนั้นผู้ป่วยจะกลับมามีสภาพร่างกายที่แข็งแรง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยต้องทำการล้างไตทางช่องท้องเป็นประจําทุกวัน
3. การปลูกถ่ายไตหรือเปลี่ยนไต (Kidney Transplantation)
วิธีนี้เป็นวิธีการรักษา โรคไตวายเรื้อรังที่ดีที่สุดเนื่องจากมีคุณภาพชีวิตและอัตราการรอดชีวิตดีที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีการรักษาโดยวิธีอื่น การปลูกถ่ายไตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ปัจจุบันผู้ป่วยไตวายที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตสําเร็จแล้ว จะมีอายุยืนยาวและกลับมาดํารงชีวิตได้ตามปกติ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ประกอบอาชีพได้ หลังปลูกถ่ายไตแล้วผู้ป่วยสามารถตั้งครรภ์และมีบุตรได้ตามปกติ
คุณสมบัติของผู้รับการปลูกถ่ายไต (Recipient)
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน ในการผ่าตัดปลูกถ่ายไต
ภาวะปฏิเสธไตมีหลายประเภท ดังนี้
ในกรณีที่เกิดการปฏิเสธไตใหม่ ถ้ารีบให้การรักษาโดยทันทีอาจจะมีโอกาสที่ไตใหม่ กลับมาทํางานได้เหมือนเดิม แต่หากปล่อยทิ้งไว้นานอาจไม่สามารถแก้ไขได้
ในกรณีที่เกิดการปฏิเสธไตใหม่ ถ้ารีบให้การรักษาโดยทันทีอาจจะมีโอกาสที่ไตใหม่กลับมาทํางานได้เหมือนเดิม แต่หากปล่อยทิ้งไว้นานอาจไม่สามารถแก้ไขได้
การผ่าตัดปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิต (Living Related Kidney Transplant)
คนส่วนใหญ่เกิดมาพร้อมกับมีไต 2 ข้าง หลังจากบริจาคไต ไตที่ยังเหลืออยู่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นและทํางานแทนที่ไตที่บริจาคไป ผู้บริจาคจะต้องมีกรุ๊ปเลือดที่เข้ากันได้กับผู้รับ การตรวจเลือด จะแสดงให้เห็นว่าผู้บริจาคและผู้รับเข้ากันได้หรือไม่ HLA Typing และการตรวจ DNA ในที่นี้รวมถึงการเข้ากันได้ทางพันธุกรรม เพื่อ กําหนดยีนที่สามารถใช้ร่วมกันได้มีจํานวนเท่าไรยีนที่เข้ากันได้มาก จะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับไตสามารถอยู่ได้นาน
นอกจากนี้ยังมีการตรวจผสมเลือด Lymphocyte crossmatch ซึ่งมีความสําคัญมาก เป็นวิธีการตรวจเพื่อให้ทราบว่าผู้รับไตมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเซลล์ เม็ดเลือดของผู้บริจาคไตอย่างไร ตัวอย่างเลือดของผู้บริจาคไตจะถูกผสมกับเลือดของผู้รับไต ซึ่งจะต้องไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเลือดของผู้บริจาคการตรวจด้วยวิธีนี้เป็นการคาดคะเนว่า ผู้รับไตจะมีปฏิกิริยาต่อไตผู้บริจาคหรือไม่ ถ้าผลการตรวจเป็นลบ หมายความว่า ผู้รับไตไม่มี ปฏิกิริยาตอบสนองต่อเซลล์ของผู้บริจาค ก็จะสามารถทําการผ่าตัดปลูกถ่ายไตได้ โอกาส ความสําเร็จในการปลูกถ่ายไตก็จะมีมาก
โดยธรรมชาติมนุษย์เกิดมาพร้อมกับมีไต 2 ข้าง หากเรามี สุขภาพร่างกายที่แข็งแรงการบริจาค ไต 1 ข้าง ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการทํางานในชีวิตประจําวัน สามารถทํางานและทํากิจกรรมต่าง ๆ ได้ ตามปกติการมีไตข้างเดียวสามารถที่จะรับภาระในการกําจัดของเสียและน้ำส่วนเกินตลอดจนทํา หน้าที่อื่น ๆ ของไตได้มีประสิทธิภาพและเพียงพออยู่แล้ว และจากการรวบรวมข้อมูลวิจัยในอดีต ในระยะเวลาหลายสิบปีจากหลายประเทศทั่วโลก พบว่าหลังจากที่เหลือไตข้างเดียวแล้ว ก็ไม่ได้ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไตอื่น ๆ ตามมาในภายหลัง เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้บริจาคไต หรือถ้ามีก็น้อยมาก เช่น ความดันโลหิตอาจสูงได้ มีไข่ขาวรั่วในปัสสาวะได้ และอายุขัยก็ยืนยาว เท่าคนปกติ
คุณสมบัติของผู้บริจาคไตที่มีชีวิต (Living Related Donor)
ข้อดี ของการได้ไต : จากผู้บริจาคที่มีชีวิต
ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดปลูกถ่ายไตได้แก่
การพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอหลังการปลูกถ่ายไตนั้นเพื่อ