คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง หรือสงสัยว่าเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19
โรคโควิด-19 เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนาไวรัส สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยการหายใจเอาละอองฝอยน้ำมูก น้ำลาย ของผู้ที่ติดเชื้อเข้าไปจากการไอ จาม และพูดคุยกัน เชื้อยังสามารถเข้าสู่ร่างกายทางปาก จมูก และตา ผ่านมือที่ปนเปื้อนเชื้อจากการสัมผัสพื้นผิวต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้ออยู่
ผู้ที่ติดเชื้อนี้อาจมีอาการป่วย หรือไม่มีอาการก็ได้ แต่สามารถแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ อาการของโรค โควิด-19 มีตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนถึงอาการรุนแรง และเสียชีวิตได้อาการที่พบได้บ่อย เช่น ไข้น้ำมูก ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว จมูกไม่ได้กลิ่น การรับรสเปลี่ยนไป หายใจหอบเหนื่อย เป็นต้น
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคไตเรื้อรัง กลุ่มอาการดาวน์ โรคธาลัสซีเมีย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น ระยะฟักตัวของโรค (ระยะเวลาหลังจากที่รับเชื้อแล้วแสดงอาการหรือตรวจพบเชื้อ) ประมาณ 2-14 วัน
ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 และยังไม่มีอาการจึงมีความจำเป็นต้องแยกกักตัวเพื่อสังเกตอาการที่บ้านเป็นเวลา 14 วันนับจากวันสุดท้ายที่สัมผัสโรค เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น หากเกิดการติดเชื้อ
สังเกตอาการไข้และอาการระบบทางเดินหายใจทุกวันโดยแนะนำให้วัดอุณหภูมิร่างกาย
หากมีอาการข้อใดข้อหนึ่ง ให้รีบไปพบแพทย์โดยใช้รถส่วนตัว ผู้ป่วย และผู้ร่วมเดินทางทุกคนใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาหากเป็นรถยนต์ให้เปิดหน้าต่างรถไว้เสมอ
การปฏิบัติตัวระหว่างแยกกักตัว 10 วันที่บ้านที่พักเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่น ๆ