ดร.นพ. จรุงไทย เดชเทวพร
ประสาทวิทยา
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ดร.นพ.จรุงไทย เดชเทวพร
ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมประสาท
ปวดหัวไมเกรน (Migraine Headache) เป็นอาการปวดแบบตุบเป็นจังหวะ โดยมากต้นเหตุของอาการปวดมักอยู่บริเวณก้านสมอง มีการส่งสัญญาณทางระบบประสาท เพื่อกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติและระบบหลอดเลือดของสมอง จากนั้นจึงส่งสัญญาณสู่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ซึ่งคอยรับความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณใบหน้าและศีรษะ ทำให้เกิดอาการปวดหัวเพียงข้างใดข้างหนึ่ง
หากอาการปวดเป็นรุนแรงมาก ก็อาจลุกลามให้ปวดหัวทั้งสองข้างได้ หรืออาจปวดหัวย้ายสลับซ้ายและขวา ช่วงแรกมักมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย ก่อนพัฒนาอาการให้รุนแรงขึ้น บางรายอาจมีอาการอื่นร่วม เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง ไวต่อแสง กลิ่น เสียงมากขึ้น
สาเหตุของอาการปวดหัวไมเกรนยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีทฤษฎีหนึ่งด้านพันธุศาสตร์ได้อธิบายว่าอาการปวดหัวไมเกรนเป็นผลมาจากโครงสร้างสมองของบุคคลนั้น ซึ่งส่งผลให้การรับรู้ไวต่อสิ่งเร้าและก่อเกิดหลากอาการ
อย่างไรก็ตาม แพทย์สามารถวินิจฉัยเพื่อแยกอาการปวดหัวทั้งสองได้จากการซักประวัติคนไข้และตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อดูว่าระบบประสาทผิดปกติหรือไม่
ระดับความรุนแรงของการปวดหัวไมเกรนขึ้นอยู่กับความทนทานและการตอบสนองของแต่ละคน บางคนอาจปวดมาก แต่ทนได้และไม่รู้สึกว่าตัวเองปวดมาก แม้ไม่ทานยาก็ยังทนไหว แต่บางคนที่มีสุขภาพร่างกายเปราะบางก็ไม่อาจทนได้มากนัก ซึ่งควรเข้าพบแพทย์เพื่อทุเลาอาการ นอกจากนี้หากดำเนินโรคไปถึงจุดที่เกิดอาการอื่นเพิ่มเติม เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดหัวมากจนต้องใช้ยาแก้ปวดหลายชนิด อาการแบบนี้ถือเป็นระดับรุนแรง จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยรักษา
อ่านเพิ่มเติม: รักษาอาการปวดหัวจากไมเกรน โรคซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำด้วย TMS
อาการปวดหัวนั้นพบได้จากหลายโรค หากปวดหัวเป็นประจำไม่หาย ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษา
ประสาทวิทยา