นพ. พีรธัช โชคมั่งมีพิศาล
กุมารเวชศาสตร์ ระบบประสาทวิทยา
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
จะรับมืออย่างไร เมื่อลูกเป็นโรคลมชัก
โรคลมชัก (Epilepsy) เกิดจากการทำงานที่ผิดปรกติของเซลล์ในสมอง ทำให้เกิดการนำกระแสไฟฟ้าในสมองที่ผิดพลาดจนแสดงอาการชักในรูปแบบต่าง ๆ โดยขึ้นอยู่กับบริเวณที่เซลล์สมองส่วนนั้นทำงานผิดปกติ
โรคลมชักในเด็กมีได้หลายรูปแบบ หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรเข้าพบกุมารแพทย์ด้านระบบประสาทเพื่อรักษาอย่างเร่งด่วน
โรคลมชัก เกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
อ่านเพิ่มเติม: ทำอย่างไรเมื่อลูกชักจากไข้ เมื่อการดูแลลูกไม่หยุดอยู่แค่ในบ้าน
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคลมชักจำนวนหนึ่งอาจไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งอยู่ดูอาการกับกุมารแพทย์อย่างใกล้ชิด
สิ่งสำคัญสุดในการวินิจฉัยโรคลมชักในเด็กคือการซักประวัติผู้ป่วยในปัจจุบัน หากมีผู้ปกครองสังเกตเห็นความผิดปรกติและถ่ายวิดีโอระยะสั้นขณะเกิดอาการ ก็สามารถเป็นหลักฐานให้กุมารแพทย์ด้านระบบประสาทใช้ประกอบการวินิจฉัยแยกโรคได้แม่นยำมากขึ้น หากดูจากประวัติแล้วสงสัยโรคลมชัก กุมารแพทย์จะตรวจยืนยันและดูว่ามีส่วนใดผิดปรกติด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG, Electroencephalography)
แพทย์จะติดตัวรับสัญญาณไฟฟ้า (Electrode) และใช้เครื่องประมวลผลเป็นคลื่นเพื่ออ่านผลต่อไป ซึ่งทำให้เด็กบาดเจ็บแต่อย่างใด นอกจากหากสงสัยว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้น กุมารแพทย์อาจเจาะน้ำตรวจไขสันหลังและให้ยาปฏิชีวนะ หากสงสัยว่ามีก้อนในสมองหรือมีความพิการทางสมองตั้งแต่กำเนิด กุมารแพทย์ให้ทำ CT scan หรือ MRI ตามดุลยพินิจ
การรักษาหลักคงเป็นการใช้ยากันชักร่วมการรักษาสาเหตุ เช่น ถ้าเป็นเนื้องอกในสมอง อาจจำเป็นต้องผ่าตัดควบคู่กับการฉายรังสีและเคมีบำบัด (ใช้ยาถูกโรค ถูกขนาด ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปแล้วแต่ยังมีอาการชักอยู่) ในรายที่ดื้อยา กุมารแพทย์อาจใช้การผ่าตัด หรือทานอาหารคีโต (Ketogenic diet)
หากลูกของท่านมีอาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นโรคลมชัก ควรรีบมาพบกุมารแพทย์ด้านระบบประสาทเพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไป พร้อมควบคุมโรคลมชักไม่ให้ส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูกท่าน
แก้ไข
29/09/2565
กุมารเวชศาสตร์ ระบบประสาทวิทยา