เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
นิ่วในไต (Kidney Stone) เป็นโรคจากการสะสมของผลึกแร่ธาตุแข็งชนิดต่าง ๆ จนกลายเป็นก้อนแข็งที่มีชนิดและขนาดที่แตกต่างกัน โดยพบที่ท่อลำเลียงนำเข้าสู่กรวยไต (Calyx) หรือกรวยไต (Renal Pelvis) ส่งผลให้ปัสสาวะเข้มข้นมากและตกตะกอนเป็นนิ่ว ซึ่งนิ่วในไตมีโอกาสเป็นซ้ำได้
นิ่วในไตมักไม่มีอาการแสดง แต่จะมีอาการแสดงก็ต่อเมื่อมีการติดเชื้อซ้ำซ้อน หรือก้อนนิ่วไปอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีอาการ ดังนี้
การรักษานิ่วในไต การรักษาขึ้นกับชนิดและขนาดของนิ่ว ได้แก่
หากนิ่วมีขนาดก้อนเล็กมาก นิ่วอาจหลุดออกมาได้เองด้วยการดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อขับออกมาทางปัสสาวะ หรือให้ยาละลายน้ำ หากเป็นน้ำชนิดที่ละลายได้ด้วยยา
การใช้เครื่องสลายนิ่ว (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy : ESWL) เป็นการสลายนิ่วขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร โดยใช้คลื่นกระแทก ทำให้ก้อนนิ่วแตกตัวและขับออกมาทางปัสสาวะ ผู้ป่วยอาจเจ็บเล็กน้อย และมีผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมา จึงควรทำการรักษากับแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญอย่างใกล้ชิด
การส่องกล้องสลายนิ่ว (Ureteroscopy) เป็นการส่องกล้องเข้าไปในท่อไตจนถึงไต แล้วใช้เครื่องมือทำลายนิ่วเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อขับออกมาทางปัสสาวะ
การผ่าตัด PCNL (Percutaneous Nephrolithotomy) ใช้ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่และรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดด้วยการเจาะรูเล็ก ๆ บริเวณหลังของผู้ป่วยแล้วใช้กล้องส่องเพื่อนำเครื่องมือสอดเข้าไปทำให้นิ่วแตกเป็นชิ้นเล็ก จากนั้นจึงคีบก้อนนิ่วออกมาทางรูเดิม ซึ่งวิธีนี้ต้องพิจารณาและทำการผ่าตัดโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญเท่านั้น
แก้ไข
19/09/2565