รศ.นพ. บัญชา ศันสนีย์วิทยกุล
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
การทำ CPR ไม่ได้ช่วยชีวิตแค่ผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างเดียวเท่านั้น! แต่ยังสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุอื่นๆ เช่น จมน้ำ หรือเกิดภาวะขาดออกซิเจน ได้อีกด้วย
เพราะการทำ CPR คือการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่หยุดกะทันหันให้กลับมาทำงานได้ชั่วคราว ซึ่งเป็นวิธียื้อชีวิตผู้ป่วยในขณะที่กำลังรอการรักษาจากแพทย์หรือหน่วยกู้ภัย อย่างไรก็ตาม การช่วยชีวิตด้วยวิธีนี้มีโอกาสเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเกิดผลข้างเคียง อย่างกระดูกซี่โครงหักได้
แพทย์จึงแนะนำให้ทุกคนได้เรียนรู้การช่วยชีวิตอย่างถูกวิธีตามสถานพยาบาลหรือแหล่งให้ความรู้ทางสาธารณสุขต่าง ๆ โดยเฉพาะใครที่มีคนใกล้ตัวเป็นโรคหัวใจ ซึ่งทำให้เราสามารถช่วยชีวิตคนที่เรารักได้ทันท่วงทีหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน จะได้ไม่ต้องมาเสียใจทีหลัง
การทำ CPR ควรทำภายใน 4 นาที เพื่อป้องกันอันตรายจากการที่ร่างกายขาดออกซิเจน หากทำร่วมกับการใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED) จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยวิธีการช่วยชีวิตผู้ป่วยเบื้องต้น มีดังนี้
การฝึกช่วยชีวิตเบื้องต้นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องกับผู้เชี่ยวชาญไว้ เพราะอาจเกิดประโยชน์อย่างมากในยามฉุกเฉิน เมื่อต้องช่วยเหลือชีวิตใครสักคนหรือคนใกล้ตัวที่คุณรักได้
(VDO) การช่วยชีวิตผู้ป่วยหัวใจวายเฉียบพลัน ด้วยการทำ CPR อย่างถูกวิธี
รศ.นพ.บัญชา ศันสนีย์วิทยกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
แก้ไข
04/11/2565
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ