สภากาชาดไทย ร่วมกับ รพ.รามคำแหง ขอเชิญร่วมบริจาคโลหิต

February 23 / 2024

 

 

สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหงขอเชิญร่วมบริจาคโลหิต

ตารางกำหนดการรับบริจาคโลหิตประจำปี 2567

 

 

 


 

โรงพยาบาลรามคำแหงมีมาตรการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลระดับสูงสุด

 

  1. คัดกรอง สำหรับผู้บริจาคโลหิต ขอให้คัดกรองตนเองก่อนมาบริจาคโลหิต เช่น หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง มีผื่นขึ้น เดินทางไปยังสถานบันเทิง ตลาด สถานที่แออัด พื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาด หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย/ ผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ COVID-19 ต้องงดบริจาคโลหิตอย่างน้อย 14 วัน
  2. เข้มงวด บุคลากรมีความตระหนักและปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ทุกคนในพื้นที่สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา มีแอลกอฮอล์เจลล้างมือทุกจุดสัมผัส สถานที่และอุปกรณ์สะอาดปลอดเชื้อ จัดให้มี การเว้นระยะห่าง และจัดตั้งฉากกั้นระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้บริจาคโลหิตทุกจุดของกระบวนการบริจาคโลหิต

 

 

คำแนะนำก่อนบริจาคโลหิต

 

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
  • รู้สึกสบายดี สุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะบริจาคโลหิต หากอยุ่ระหว่างรับประทานยารักษาโรค ให้แจ้งแพทย์/พยาบาล ผู้ตรวจคัดกรองสุขภาพทุกครั้ง
  • รับประทานอาหารประจำมื้อก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ แกงกะทิขนมหวาน ก่อนมาบริจาคโลหิต 6 ชั่วโมง เพราะจะทำให้พลาสมามีสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้
  • การดื่มน้ำก่อนบริจาคโลหิต 30 นาที ประมาณ 3-4 แก้ว ซึ่งเท่ากับปริมาณโลหิตที่เสียไปในการบริจาค จะทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น และช่วยลดภาวะการเป็นลมจากการบริจาคโลหิตได้
  • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก่อนมาบริจาคโลหิตอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

 

 

คำแนะนำขณะบริจาคโลหิต

 

  • สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
  • เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะ ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
  • ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต
  • ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติระหว่างบริจาค เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที

 

5 ขั้นตอนในการบริจาคโลหิต 

 

 

 

คำแนะนำหลังบริจาคโลหิต

 

  • นอนพักที่เตียง 5 นาที หากไม่มีอาการผิดปกติ จึงลุกจากเตียง และไปนั่งพัก 10 -15 นาที พร้อมดื่มเครื่องดื่ม และรับประทานอาหารว่าง
  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
  • รับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก วันละ 1 เม็ด หลังอาหารจนหมด เพื่อชดเชยธาตุเหล็กที่เสียไปจากการบริจาคโลหิต เพื่อให้สามารถบริจาคโลหิตได้อย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการขึ้น-ลงที่สูง อาจทำให้รู้สึกวิงเวียนและเป็นลมได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้แขนข้างที่บริจาคโลหิต เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการเดินไปในบริเวณที่แออัด และมีอากาศร้อนอบอ้าว
  • งดกิจกรรมหรือทำงานที่มีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ ความเร็ว ความสูง ความลึก เครื่องจักรกล
  • งดออกกำลังกายที่ทำให้เสียเหงื่อ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง

 

 

Q : ผู้ป่วยโควิด-19 หลังจากหายแล้วบริจาคโลหิตได้หรือไม่?

A : ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 สามารถบริจาคโลหิตได้ แต่ต้องได้รับการตรวจยืนยันว่าไม่พบเชื้อแล้วอย่างน้อย 4 สัปดาห์

 

 

 

 

Q : ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ บริจาคเลือดได้จริงหรือ?

A : การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถบริจาคโลหิตได้ แต่หลังฉีดวัคซีนแล้ว 1-2 วัน ไม่มีอาการไข้ขึ้นสูง ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลียปวดศีรษะ หรือมีผื่นแพ้ เมื่อสุขภาพสมบรูณ์ พักผ่อนเพียงพอ ก็สามารถบริจาคโลหิตได้

 

 

Q&A วัคซีนโควิด-19 กับการบริจาคโลหิต

 

Q : หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 บริจาคโลหิตได้ไหม?

A : สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองจาก สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โมเดอร์นา, ไฟเซอร์, ซิโนฟาร์ม, ซิโนแวค, แอสตร้าเซนเนก้า, จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ให้เว้น 7 วันหลังฉีดวัคซีน จึงจะบริจาคโลหิตได้    

Q : ผู้ที่มีอาการข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนบริจาคโลหิตได้หรือไม่?

A : ควรให้อาการหายดี และเว้นระยะ 14 วันจึงไปบริจาคโลหิต โดยแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่จุดรับบริจาคโลหิตทราบด้วยเพื่อประเมินสภาพร่างกายก่อนบริจาคโลหิต

Q : จำเป็นต้องรับวัคซีนครบ 2 เข็ม จึงจะบริจาคโลหิตได้ใช่ไหม?

A : ไม่จำเป็น ผู้ที่รับวัคซีนโควิด-19 สามารถบริจาคโลหิตได้หลังจากการรับวัคซีนเข็มแรก 7 วัน

Q : เลือดที่บริจาคจากผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 ให้ผู้รับบริจาคได้หรือไม่?

A : ไม่ได้ เพราะวัคซีนไม่ได้มีผลกับการสร้างภูมิต้านทานในผู้ที่รับบริจาคเลือด เนื่องจากปริมาณเลือดที่นำไปใช้น้อยกว่าปริมาณเลือดในร่างกายของผู้รับบริจาคมาก

 

 

 

ภาพบรรยากาศ

 

 

 

แก้ไข

10/01/2567

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

บันทึกการเต้นของหัวใจในโลกยุคดิจิทัล "ป้องกันภาวะหัวใจวาย"

Multiday Patch Holter (แผ่นบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ) อุปกรณ์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดแผ่น แปะติดที่หน้าอก สามารถบันทึกการเต้นของหัวใจติดต่อกันได้หลายๆ วัน

ราคา 6,000 บาท

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (High Dose Flu Vaccine For Elderly)

ป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น 24.2%

ราคา 2,400 บาท

แพ็กเกจวัคซีนพื้นฐานวัคซีนตามเกณฑ์อายุตั้งแต่ 1 - 8 เดือน

เด็กน้อยอายุ 1 เดือน – 18 เดือน เสริมด้วยวัคซีน Rotarix เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

ราคา 11,000 บาท

แพ็กเกจวัคซีนเสริม Prevnar 13

พ่อแม่ยุคใหม่ สร้างเกราะป้องกันให้ลูกด้วย “วัคซีนป้องกันเชื้อไอพีดี”

ราคา 10,500 บาท

แพ็กเกจวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

การฉีดวัคซีน HPV ไม่เพียงช่วยลดโอกาสในการเกิดมะเร็งปากมดลูกเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ

ราคา 8,000 บาท