ทพ. ภาณุวัฒน์ ไตรภัทรนันท์
ปริทันตศาสตร์
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) คือภาวะอักเสบที่เกิดกับเหงือก โดยมีลักษณะบวม แดงและมีเลือดออกง่าย แม้เป็นโรคที่ไม่ได้รุนแรง แต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจในการดูแลรักษาเท่าที่ควร หากปล่อยไว้นานจะนำไปสู่โรคปริทันต์อักเสบ (periodontitis) ซึ่งรุนแรงมากขึ้นและอาจนำไปสู่การสูญเสียฟันในที่สุด
สาเหตุหลักที่พบได้บ่อย ได้แก่ การสะสมของคราบจุลินทรีย์หรือคราบพลัค และภาวะอาหารอัดติดตามซอกฟัน
คราบจุลินทรีย์เกิดจากการสะสมตัวของแบคทีเรีย เมื่อเศษอาหารขนาดเล็กและน้ำลายจับตัวรวมจะเป็นคราบที่มีลักษณะนิ่มแต่เหนียว หากสะสมตัวนานจะมีสภาพแข็งตัวกลายเป็นหิน 'หินน้ำลาย' หรือ 'หินปูน' เนื่องจากเกิดการตกตะกอนของแร่ธาตุในน้ำลาย สารพิษที่เกิดจากแบคทีเรียจะทำให้เหงือกเกิดระคายเคืองและอักเสบ
ภาวะอาหารอัดติดซอกฟันมักเกิดจากการเรียงตัวของฟันที่ไม่ดีหรือดูแลฟันที่ไม่เหมาะสม ทำให้อาหารอัดติดค้างอยู่ในซอกฟัน เมื่อติดนานวันจะทำให้เหงือกช้ำเกิดอักเสบและฟันผุตามมา
โดยปรกติเหงือกจะมีสีชมพูอ่อน เนื้อเหงือกแน่น ไม่มีลักษณะบวมน้ำ แต่เมื่อเกิดการอักเสบ
โดยพื้นฐานการรักษาควรเริ่มต้นจากการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งกรณีเหงือกอักเสบทั่วไป สาเหตุเกิดจากคราบจุลินทรีย์ เศษอาหารติดซอกฟันและหินน้ำลาย
ทำได้ด้วยตนเองด้วยการแปรงฟันและใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดซอกฟัน (ซึ่งซอกฟันเป็นบริเวณที่การแปรงฟันไม่สามารถทำได้) เช่น ไหมขัดฟัน แปรงซอกฟันโดยสามารถขอคำแนะนำได้จากทันตแพทย์
เราสามารถกำจัดออกได้ภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ทั่วไป หากเป็นกรณีที่คราบหินน้ำลายลงลึกใต้เหงือกควรเข้าพบทันตแพทย์ชำนาญการ เพื่อรับการเกลารากฟันหรือขูดหินปูนใต้เหงือก
เราควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีใด เช่น อุดฟัน ครอบฟัน หรืออาจแก้ไขโครงสร้างฟันบริเวณที่มีปัญหา
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นที่เสริมให้เหงือกอักเสบรุนแรงมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ ยาบางชนิด ซึ่งต้องพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
เหงือกอักเสบ มีลักษณะบวม แดง เลือดออกง่าย เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่ได้มีความรุนแรง คนส่วนใหญ่จึงไม่ได้ให้ความสนใจในการดูแลรักษา แต่เมื่อปล่อยไว้เป็นเวลานานจะนำไปสู่โรคปริทันต์อักเสบที่มีความรุนแรงมากขึ้นและอาจนำไปสู่การสูญเสียฟันในที่สุด
แก้ไข
31/07/2566
ปริทันตศาสตร์