นพ. ภูริปัณย์ อร่ามวัฒนพงศ์
โสต ศอ นาสิกวิทยา และมะเร็งศีรษะและคอ, MIS ENT
ผ่าตัดไซนัส ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเพราะทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นได้ ดังนั้นจึงขออธิบายก่อนว่า “ไซนัส” (Sinus) คือ โพรงอากาศของกะโหลกที่อยู่บริเวณข้าง ๆ โพรงจมูก มีทั้งหมด 4 คู่หลักทั้งด้านซ้ายและด้านขวาบริเวณแก้ม หน้าผาก หักตา และฐานกะโหลก
โดยปกติไซนัสจะถูกระบายออกทางรูระบายต่อกับโพรงจมูกตามกลไกธรรมชาติ แต่เมื่อไซนัสเกิดการอักเสบหรืออุดตัน ทำให้ไม่สามารถระบายไซนัสออกได้ จึงเกิดเป็น “โรคไซนัสอักเสบ” และส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจและการรับกลิ่น ปัจจุบัน การรักษาไซนัสอักเสบอย่างมีประสิทธิภาพและลดอัตราการเกิดซ้ำได้ที่สุดคือการผ่าตัดรักษาไซนัสแบบเปิดหมดโดยการส่องกล้อง หรือที่เรียกว่า Full House FESS
การผ่าตัดไซนัสผ่านกล้อง คือ การผ่าตัดโดยใช้กล้องเอ็นโดสโคปเพื่อรักษาโรคไซนัส และโรคต่าง ๆ ในโพรงจมูกรวมถึงอวัยวะใกล้เคียง จะช่วยให้แพทย์ผู้ผ่าตัดมองเห็นภาพสรีระ โดยเฉพาะในบริเวณที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และแนวของโรคได้อย่างชัดเจน ทำให้การประเมินความรุนแรงของโรค และการวางแผนการรักษาเป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ เนื่องจากเป็นการผ่าตัดผ่านรูจมูก โดยส่วนใหญ่ ผู้รับการรักษาจึงไม่มีแผลผ่าตัดที่บริเวณผิวหนังด้านนอก ยกเว้นในกรณีของโรคมีความรุนแรง หรือรอยโรคอยู่ในตำแหน่งที่มีความซับซ้อน ก็อาจเกิดแผลบริเวณผิวหนังได้เล็กน้อยแล้วแต่กรณี
เมื่อไหร่จึงควรรีบพบแพทย์ ตอบได้เลยว่าหลาย ๆ คนยังคงมีความเข้าใจผิด เพราะแม้อาการของโรคไซนัสอักเสบจะคล้ายอาการหวัด ผู้ป่วยมักคิดว่าเดี๋ยวก็หายเอง แต่ถ้าหากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง
นพ.ภูริปัณย์ อร่ามวัฒนพงศ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้าน โสต ศอ นาสิกวิทยา และมะเร็งศีรษะและคอ
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดไซนัส ผู้ป่วยควรพักผ่อนให้เพียงพอและเตรียมตัวก่อนผ่าตัด 1 วัน ส่วนถ้าเกิดคำถามต่อว่าผ่าตัดไซนัส พักฟื้นกี่วัน โดยปกติการพักฟื้นที่โรงพยาบาลหลังผ่าตัดใช้เวลา 1-2 วันหากไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ความเสี่ยงจากการผ่าตัดไซนัส เนื่องจากโพรงจมูกและไซนัสอยู่ใกล้กับ กระบอกตา เส้นประสาทตา และเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงสมอง การผ่าตัดจึงอาจเกิดความเสี่ยงในการกระทบกระเทือนอวัยวะเหล่านี้ได้ โดยพบความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บต่อลูกตาและการเกิดน้ำในสมองรั่วเข้ามาในโพรงจมูกประมาณ 1% และความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทตาและเส้นเลือดแดงใหญ่ประมาณ 0.1% ในปัจจุบัน มีการนำเครื่องนำวิถีในการผ่าตัด (navigator) เข้ามาใช้ ทำให้การผ่าตัดมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถลดความเสี่ยงได้อย่างมีนัยสำคัญ
การปฏิบัติตนหลังการผ่าตัดอย่างถูกวิธี มีผลช่วยให้การรักษาประสบความสำเร็จดียิ่งขึ้น และช่วยให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดหายเป็นปกติอย่างรวดเร็ว โดยผู้ป่วยควรมาพบแพทย์ตามคำสั่ง เพื่อติดตามผลการรักษาและอาการอย่างต่อเนื่อง
“ไซนัส” คือโพรงอากาศของกะโหลกซึ่งมีรูระบายเปิดเข้าไปในช่องจมูกมีอยู่ 4 คู่หลัก อยู่ตรงแก้ม หน้าผาก หัวตาและฐานกะโหลกและถ้ามีหนองในโพรงอากาศของกะโหลก ก็คือการเป็น “ไซนัสอักเสบ”
หากผู้ป่วยมีอาการหวัด และสังเกตว่ามีไข้ หรืออาการปวดตึงบริเวณใบหน้า หัวตา หน้าผากหรือแก้ม รวมถึงอาการแน่นจมูก น้ำมูกข้นเหนียว แล้วอาการมีแนวโน้มที่จะแย่ลงหลังจาก 3-4 วัน หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหวัดเรื้อรังนาน 7-10 วัน หรือมีอาการดีขึ้นในช่วงแรกแล้วกลับแย่ลง ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคไซนัสอักเสบได้
ผ่าตัดไซนัส อันตรายไหม อย่างที่ได้บอกไป ในปัจจุบันการผ่าตัดแบบ “Full House FESS” หรือ “การผ่าตัดไซนัสแบบเปิดหมด เหลือแต่ขอบ” นั้น เป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้องเข้าทางจมูกแบบเปิดโพรงไซนัสทั้งหมดให้เชื่อมต่อกับโพรงจมูก โดยยังคงหน้าที่การทำงานของไซนัสไว้ ซึ่งวิธีนี้ มีข้อดีคือสามารถระบายอากาศของไซนัสได้ดีที่สุด ยังสามารถระบายหนองและเชื้อราออกจากไซนัสได้อย่างเต็มที่ ช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำ รวมถึงสามารถให้ยาพ่นหรือล้างจมูกเพื่อขจัดการอักเสบและลดอาการการแพ้ได้เต็มที่ในกรณีที่เป็นภูมิแพ้หรือริดสีดวงจมูก อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ อาทิเช่น
โดยในประเทศไทยมีแพทย์ที่ชำนาญการณ์ด้านการผ่าตัดแบบ “Full House FESS” จำนวนไม่มากเนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่จำเป็นต้องอาศัยความรู้ และทักษะของแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการผ่าตัดอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ควรเลือกแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดในบริเวณใกล้กับฐานกะโหลกและลูกตานั่นเอง
Full House FESS คือ การผ่าตัดไซนัสทุกไซนัส โดยเปิดทั้งหมดเชื่อมต่อกันเป็นส่วนเดียว โดยการส่องกล้อง เป็นการผ่าตัดไซนัสที่ดีที่สุดในปัจจุบัน กล่าวคือ ESS คือการผ่าตัดไซนัสโดยการส่องกล้อง จะเปิดหมดหรือไม่หมดก็ได้ แต่โดยทั่วไปจะมีความหมายว่า ผ่าตัดเปิดไซนัสบางส่วนเท่านั้น
ผ่าตัดไซนัส หายขาดไหม เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยมักกังวลใจ แต่ความจริงแล้วการผ่าตัดไซนัสซ้ำอาจเกิดจากการรักษาที่ไม่สมบูรณ์จากการผ่าตัดครั้งก่อน โดยมีสาเหตุหลักต่าง ๆ ดังนี้
ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังนี้
อาการของไซนัสอักเสบพบได้ตั้งแต่แบบไม่รุนแรง จนถึงอาการรุนแรงมาก โดยในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง จะมีอาการคัดจมูก เสียงอู้อี้ มีเสมหะ หรือไอตลอดเวลา อาจได้กลิ่นเหม็นในโพรงจมูกและได้รับกลิ่นน้อยลงจากเดิม ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการปวดตึงบริเวณใบหน้า หน้าผาก หัวตา หรือโหนกแก้ม ในบางรายมีอาการปวดฟันกรามด้านบน ซึ่งอาจมีไข้ร่วมหรือไม่ก็ได้ และในรายที่มีอาการรุนแรงมาก อาจเกิดการบวมบริเวณเบ้าตา ทำให้มองไม่เห็น หรือมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง
นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจพบว่ามีอาการปวดบริเวณใบหน้า หัวตา หน้าผาก โหนกแก้ม หรือท้ายทอยเมื่อเครื่องบินขึ้นหรือลดระดับเพื่อลงจอด โดยอาจมีเลือดออกจมูกหรือเสมหะปนเลือดก็ได้
สรุปแล้ว แม้ว่าอาการของโรคไซนัสอักเสบจะไม่รุนแรงในระยะเริ่มต้น และสามารถรักษาให้หายได้โดยใช้เวลาไม่นาน แต่หากปล่อยให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง อาจส่งผลกระทบไปยังอวัยวะต่าง ๆ ใกล้เคียง ทำให้เกิดความซับซ้อนและความยุ่งยากในการรักษาเพิ่มมากขึ้น และอาจส่งผลต่อชีวิตในที่สุด ดังนั้น หากพบว่าเริ่มมีอาการของภาวะไซนัสอักเสบติดต่อกัน ควรรีบพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและหาแนวทางการรักษาโรคที่เหมาะสมและถูกวิธี
โสต ศอ นาสิกวิทยา และมะเร็งศีรษะและคอ, MIS ENT