ประสบการณ์หลังรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้นด้วยการทำบอลลูน

February 27 / 2024

 

บอกเล่าประสบการณ์หลังการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้นด้วยการทำบอลลูน จากผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

 

 

คุณกิตติ สุบิน อายุ 54 ปี
อดีตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น

 

 

"โรคประจําตัวผมคือเป็นเบาหวานครับ ตรวจสุขภาพทุกปี ตรวจเบาหวานและวิ่งสายพาน (EST) ผลวิ่งสายพานเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ตอนนั้นกราฟหัวใจไม่เสถียร ผมก็ปล่อยโดยที่ไม่รู้ว่านี่คือสาเหตุของ โรคหัวใจ ปีนี้ตรวจพบว่าเส้นกราฟหัวใจผิดปกติ หมอสงสัยว่าอาจเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จึงแนะนำให้ฉีดสี ผลออกมาคือเส้นเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น เลยเลือกมารักษาที่รพ.รามคำแหง กับนพ.วสันต์เพราะได้รับคำแนะนำจากเพื่อน ตอนมาคือเตรียมใจทำบายพาส แต่หมอบอกว่าเส้นเลือด เส้นที่หนึ่งของผมภาพรวมสามารถทำบอลลูนได้ จึงนัดมาทำ 1 เส้น ผลออกมาด้วยดี อีกสัปดาห์ ถัดมานัดมาทำอีก 2 เส้น เส้นเลือดที่ตีบเส้นแรกคือตัน 100% อีกหนึ่งเส้นใช้ได้ 1% และอีกเส้น ใช้ได้ 11% รวมแล้วทั้ง 3 เส้นของผมใช้ได้แค่ 11% หลังจากที่ทำบอลลูนเสร็จ ก่อนกลับบ้านผมมาพบ อ.สิทธา ที่แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอดได้เดินออกกำลังกายตามโปรแกรมและสังเกตุอาการ โดยไม่ให้ออกกำลังกายแบบหักโหมใช้เวลาออกกำลังกาย 45-60 นาทีต่อครั้ง ตามที่อ.สิทธา แนะนำ"

 

 


 

ศาสตราธิคุณ นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านหัตถการหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

"เนื่องจากผู้ป่วยเป็นทั้ง 3 เส้น ก็เลยทำแยกเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกต้องทำจุดที่ยากที่สุด คือเส้นเลือดหัวใจข้างขวาที่อุดตันสนิท 100% พอทำสำเร็จ หลังจากนั้นก็นัดมาทำเส้นซ้าย ที่เหลืออีก 2 เส้น ถ้าเป็นการทำบอลลูนส่วนใหญ่ พักฟื้นในโรงพยาบาล 1-2 วันก็กลับบ้านได้ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติแล้ว เพียงแต่ว่าต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้ออกกำลังกายหนักๆ ช่วง 1 สัปดาห์แรก เรามีโปรแกรมที่ดูแลหลังจากการทำบอลลูนหรือทำผ่าตัดบายพาส เพื่อให้ผู้ป่วยแน่ใจว่าจะออกกำลังกายได้มากน้อยแค่ไหนหรือออกกำลังกายแล้วจะมีปัญหา อะไรหรือเปล่า"

 

 

ภาพตัวอย่างผู้ป่วยจริงในโรงพยาบาลรามคำแหงที่ได้รับการทำบอลลูนหัวใจ

 

 

ก่อนทำบอลลูนหัวใจ

 

 

หลังทำบอลลูนหัวใจ

 

 

 

ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์

ผู้ชำนาญการด้านฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอด และการออกกำลังกาย

 

 

"ผู้ป่วยรายนี้ ผมให้เขาทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน จักรยานแขน จักรยานขา ให้ใช้กล้ามเนื้อหลายๆ ส่วน พอเริ่มคุ้นชินก็กลับไปทำที่บ้านได้ จะไม่ค่อยเหนื่อย จะแข็งแรง รู้สึกว่าทำได้ ในขณะที่ออกกำลังกายเราดูการเต้นของหัวใจว่าขึ้นเร็วหรือขึ้นช้า เต้นเป็นจังหวะไหม หรือว่าบางคนอาจมีผิดจังหวะต่อความหนักที่ให้ หรือภาวะการเต้นที่ผิดปกติ หากมี กิจกรรมบางอย่างที่ทำที่บ้าน อาจจะไม่แนะนำให้ทำ ผู้ป่วยรายนี้ผมวางแผนและออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย โดยจะให้ทำสัปดาห์ละครั้งหรือสองครั้ง ต้องทำทั้งหมด 7 ครั้ง ถ้าทำต่อเนื่องได้ยาวจะส่งผลดีกว่าและพัฒนาได้ดีกว่า"

 

 

 

 

 

 

 

แก้ไข

13/09/2555

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

คุณจะมีความสุขแค่ไหน ? ถ้าไม่จำเป็นต้องใส่แพมเพิสอีกต่อไป

คุณจะมีความสุขแค่ไหน?.. ถ้าไม่ต้องใส่แพมเพิส

ราคา 3,500 บาท

แพ็กเกจวัคซีนปอดอักเสบ Vaxneuvance (PCV 15) 1 เข็ม

เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย ห่างไกลโรค IPD

ราคา 3,250 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Platinum plus Check up สุภาพสตรี

เพราะร่างกายผู้หญิงซับซ้อนมากกว่าที่คิด ตรวจสุขภาพดูแลป้องกันก่อนที่จะสายเกินไป เพื่อให้คุณใช้ชีวิตได้แบบที่ต้องการ

ราคา 59,990 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Platinum Check up สำหรับกลุ่มสุภาพบุรุษ

เตรียมสุขภาพให้พร้อมสำหรับอนาคต ป้องกันความเสี่ยงจากโรคร้ายแรง

ราคา 30,990 บาท

บัตรกำนัลเงินสด Ramkhamhaeng Gift Card

"แทนความห่วงใย" & "ของขวัญเยี่ยมไข้" มอบสุขภาพดีเป็นของขวัญสุดพิเศษ ด้วยบัตรกำนัลเงินสด Ramkhamhaeng Gift Card

ราคา 1,000 บาท