โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากอะไรบ้าง และรักษาหายได้จริงไหม

January 30 / 2024

ในภาวะปกติ หัวใจของคนเราสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้เอง โดยเมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระแสไฟฟ้า ก็จะเกิดการหดตัว เกิดเป็นจังหวะการเต้นของหัวใจ มีอัตราประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อใดที่เกิดความผิดปกติในการปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมา ก็จะส่งผลทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า ‘หัวใจเต้นผิดจังหวะ’
ดังนั้น หากมีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย ใจสั่น เจ็บหน้าอก ควรหมั่นสังเกตตนเองและห้ามมองข้าม เพราะอาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนของ ‘โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ’ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอาทิ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ หรือมีความเครียดสะสมเป็นประจำ ก็อาจยิ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว หรือหลอดเลือดสมองอุดตันมากยิ่งขึ้น

 

สารบัญ

 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ

 

 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คืออะไร

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ ความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ ทำให้การเต้นของหัวใจช้า (น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที) หรือเร็ว (มากกว่า 100 ครั้ง/นาที) กว่าปกติ หรือไม่สม่ำเสมอ และไม่สัมพันธ์กับสภาวะร่างกายในขณะนั้น ส่งผลให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ โดยบางรายอาจมีอาการหัวใจเต้นพลิ้ว หรือรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วและรัวผิดปกติ ซึ่ งเหล่านี้เป็นภาวะเสี่ยงโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจาก

 

 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากอะไรได้บ้าง

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีความแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ประวัติสุขภาพ รวมถึงปัจจัยแวดล้อมภายนอกต่าง ๆ โดยอาจแบ่งสาเหตุออกเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้

สาเหตุที่เกิดจากหัวใจโดยตรง

สาเหตุที่เกิดจากหัวใจโดยตรง คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้าหัวใจเอง หรือความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ

สาเหตุที่เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ

สาเหตุที่เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ คือ ความผิดปกติที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือการมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ของผู้ป่วยที่ส่งผลทำให้เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะต่อมไทยรอยด์ทำงานมากหรือน้อยเกินไป โรคเบาหวาน โรคนอนกรน การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

 

หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการ

 

 

อาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นอย่างไร

ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ บางคนอาจไม่ทราบว่าตนเองกำลังมีปัญหา และมักพบภาวะนี้จากการตรวจสุขภาพ หรือเมื่อป่วยด้วยโรคอื่นแล้วมาพบแพทย์ โดยผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจมีอาการแตกต่างกันตามประเภท ความรุนแรง หรือความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ โดยมักมีอาการปรากฏให้สังเกตได้ ดังนี้

ร่างกายอ่อนเพลีย เป็นลมหมดสติ

ในกรณีที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ป่วยมักจะรู้สึกหัวใจเต้นสะดุด ใจหาย เหนื่อย อาจมีอาการสะอึกหรือไอตามการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ ในกรณีที่หัวใจเต้นช้าผิดปกติ น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ ร่างกายจะได้รับเลือดไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลร่างกายอ่อนเพลีย มีอาการเหนื่อยง่ายและมึนศีรษะ หรือถ้าเต้นช้าขั้นรุนแรงก็อาจทำให้หน้ามืด เป็นลมหมดสติ หรือเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นได้

เจ็บหน้าอก ใจสั่น

ในกรณีที่หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ มากกว่า 100 ครั้ง/นาที ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็วและแรง หายใจไม่ทัน และเหนื่อยง่าย ในผู้ป่วยสูงอายุ อาจเกิดความดันโลหิตต่ำ หรือภาวะหัวใจล้มเหลว ทำให้หมดสติ และอันตรายจนเสียชีวิตได้

 

หัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายไหม

 

 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายไหม

อันตรายของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้นอยู่กับชนิดและระดับความรุนแรง รวมถึงโรคร่วมและปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ ทำให้มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตแบบกะทันหัน หัวใจล้มเหลว หน้ามืด หมดสติ หรือเกิดลิ่มเลือดไปอุดสมองได้

 

หัวใจเต้นผิดจังหวะ รักษา

 

 

วิธีการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์จะเลือกรูปแบบการรักษาโดยพิจารณาตามสาเหตุ อาการ ตำแหน่ง และความรุนแรงของโรค เนื่องจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยอาจไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่ในบางชนิดที่ต้องทำการรักษา จะมีแนวทางในการรักษาดังต่อไปนี้

การใช้ยา

ในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง การใช้ยาจะช่วยให้สามารถควบคุมหัวใจของผู้ป่วยให้เต้นตามปกติ การใช้ยาจะได้ผลดีกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด ช่วยลดความรุนแรงของโรคและความถี่ของการเกิดภาวะนี้ แต่ไม่สามารถช่วยให้หายขาดได้

การฝังอุปกรณ์

การฝังอุปกรณ์ ฝังเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์มีจุดประสงค์เพื่อรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยจะฝังไว้ใต้ผิวหนังบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าใกล้หน้าอก แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker)

สำหรับผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ โดยผู้ป่วยประเภทนี้มักเสี่ยงต่อการหมดสติ หรือรู้สึกเหนื่อยง่าย

เครื่องกระตุกหัวใจ (Automated Implantable Cardioverter Defibrillator หรือ AICD)

เป็นเครื่องมือสำหรับควบคุมให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติเมื่อหัวใจเต้นช้า เครื่องมือจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นหัวใจ ในขณะที่เมื่อหัวใจเต้นเร็ว เครื่องมือจะปล่อยพลังงานไฟฟ้าในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นในอัตราปกติ เครื่องมือนี้ยังจำเป็นสำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การใช้สายสวน

การใช้สายสวน แพทย์จะทำการสอดสายสวนเข้าไปยังจุดที่คาดว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ แล้วปล่อยคลื่นวิทยุความถี่สูงเข้าไปเพื่อทำลายเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวเป็นจุดเล็ก ๆ ซึ่งวิธีนี้ถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้น้อย รวมถึงยังเป็นวิธีการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะให้หายขาดโดยไม่ต้องใช้ยาอีกด้วย

 

หัวใจเต้นผิดจังหวะ ห้ามกิน

 

 

ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ห้ามกินอะไรบ้าง

1. อาหารเพิ่มไขมัน (LDL)

อาหารจำพวกเบเกอรี เช่น เค้ก คุกกี้ พาย โดนัท พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ หรือ อาหาร (Fast Food) ล้วนเป็นอาหารที่มีไขมัน และคอเลสเตอรอลสูง ทำอันตรายกับหัวใจโดยตรง

2. อาหารแปรรูปไขมันสูง

อาหารเนื้อสัตว์ปรุงกึ่งสำเร็จรูป เช่น เบคอน ไส้กรอก แฮม กุนเชียง หมูยอ หากยิ่งทานบ่อยๆหรือ ทอดกับน้ำมัน อาจจะทำให้เส้นเลือดอุดตันได้ง่าย

3. อาหารที่มีไขมันสัตว์ในเมนูอาหาร

อาหารจานเดียว เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ ข้าวหน้าเนื้อหรือหมูที่แทรกไขมันมากรวมถึง หนังสัตว์ เครื่องในสัตว์

4. อาหารรสเค็ม และหวานจัด

อาหารหมักดองหรือปรุงแต่งให้เค็ม เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ผักดอง กุ้งแห้ง กะปิ ไข่เค็ม ไชโป้วเค็ม เพราะมีส่วนผสมของโซเดียมสูง (Sodium) และมีส่วนประกอบของผงชูรส ผงปรุงรสต่างๆ หรือซอส เพื่อใช้ในการถนอมอาหาร ความเค็มจะยิ่งมีมาก เพื่อให้สามารถเก็บอาหารได้นานยิ่งขึ้น

อาหารรสหวานจัด เช่น กลุ่มเบเกอรี ขนมปัง ที่มีส่วนประกอบของแป้ง นม เนย น้ำตาล ขนมหวานต่างๆ และน้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่คั้นแล้วใส่น้ำตาล ผู้ป่วยควรเลี่ยงเป็นน้ำผลไม้คั้นสด หรือคั้นพร้อมกากแทน

ส่วนผลไม้ก็เลือกรับประทานเป็นผลไม้รสจืดหรืออมเปรี้ยว ให้วิตามินสูง เช่น แอปเปิลเขียว ฝรั่ง ชมพู่ แก้วมังกร มันแกว หลีกเลี่ยงผลไม้รสหวาน เช่น ทุเรียน ขนุน ลำไย น้อยหน่า องุ่น ฯลฯ

5. อาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน

ผู้ป่วยโรคหัวใจควรระมัดระวังเรื่อง การใช้น้ำมันประกอบอาหาร ควรใช้ น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน ประกอบการทำอาหาร และไม่ควรใช้น้ำมันใน ปริมาณเยอะหรือรับประทานบ่อย เช่น อาหารที่ผ่านการทอด ควรเลี่ยงเป็นอาหารที่ต้มหรือนึ่งมากกว่า

หากต้องรับประทานอาหาร ที่ผ่านการทอดให้ใช้น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันคาโนล่าทดแทน เนื่องจากมีจำนวนของไขมันดี (HDL) และรับประทานแล้วเกิดโทษต่อร่างกายและส่งผลต่อหัวใจน้อย

6. อาหารทะเล

อาหารทะเลบางชนิด เช่น กุ้ง ปลาหมึก หอยนางรม ยิ่งจะทำให้ปริมาณทั้งไขมันและคอเลสเตอรอลสูงยิ่งขึ้น เป็นไปได้จึงควรงดหลีกเลี่ยง หรือรับประทานแต่น้อย

7. งดดื่มแอลกอฮอล์

หากผู้ป่วยโรคหัวใจบริโภคเข้าไป จะเป็นโทษต่อร่างกาย และทำให้เกิดผลกระทบต่อหัวใจและเส้นเลือดหัวใจ

8. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม

เนื่องจากมีสารคาเฟอีน มีผลกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ใจสั่น ความดันโลหิตสูง หากต้องการบริโภคควรรับประทานแต่น้อยและปรึกษาแพทย์ โดยควบคุมการรับประทานของตนเองให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

 

หัวใจเต้นผิดจังหวะ หายไหม

 

 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ รักษาหายไหม

การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยใช้สายสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดดำหรือแดงที่บริเวณขาหนีบ โดยแพทย์จะใช้สายสวนหัวใจนี้ตรวจหาความผิดปกติภายในผนังด้านในของหัวใจที่เป็นจุดกำเนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เมื่อพบแล้วจะทำการจี้ทำลายบริเวณดังกล่าวด้วยคลื่นวิทยุ ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส เป็นการรักษาวิธีเดียวที่สามารถรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะให้หายเป็นปกติได้

การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยวิธีนี้ มีความสำเร็จสูงโดยมีภาวะแทรกซ้อนต่ำมาก วิธีนี้จึงเป็นที่นิยมมากโดยเฉพาะผู้ป่วยอายุน้อยที่ไม่ต้องการทานยาตลอดชีวิต ในกรณีที่มีความผิดปกติเพียงตำแหน่งเดียว มีโอกาสรักษาสำเร็จสูงถึง 90-95% ขึ้นกับชนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยมีภาวะแทรกซ้อนต่ำประมาณ 1%

 

หัวใจเต้นผิดจังหวะ ป้องกัน

 

 

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

แม้ว่าโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป แต่เราสามารถลดแนวโน้มโอกาสเกิดโรค หากหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง และหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายตามข้อปฏิบัติ ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีโปรตีนและโอเมก้า 3 (Omega 3) เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า รวมถึงผัก ผลไม้ และธัญพืชต่าง ๆ ที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดและทำให้หัวใจแข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เพื่อควบคุมความดันโลหิต และรักษาระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีปริมาณคาเฟอีนสูง ซึ่งล้วนส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ
  • เข้าตรวจสุขภาพประจำปี และรีบพบแพทย์หากพบความปกติเพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

หัวใจเต้นผิดจังหวะ รามคำแหง

 

 

สรุป

ผู้ป่วยที่หัวใจเต้นผิดจังหวะควรมาพบแพทย์ตามนัด เพื่อติดตามผลการรักษาและอาการอย่างต่อเนื่อง เพราะหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำงานต่อเนื่องตลอดเวลา อย่าละเลยที่จะดูแลหัวใจของคุณให้เต้นถูกจังหวะ

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจ

  • รศ.นพ. บัญชา ศันสนีย์วิทยกุล
  • นพ. ปรีชา เอื้อโรจนอังกูร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โรงพยาบาลรามคำแหง

โทร. 0 2743 9999 , 0 2374 0200-16 แฟกซ์ 0 2374 0804

อ้างอิงจาก

https://www.nhs.uk/conditions/arrhythmia/

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

Healthy heart package (ผู้ชาย)

ฝากหัวใจ..ให้เราดูแลกับ "Healthy heart package (ผู้ชาย)" ตรวจก่อนรู้ก่อน อย่าปล่อยให้หัวใจอ่อนแอ..เกินเยียวยา

ราคา 5,990 บาท

“Healthy start program” โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

ดูแลหัวใจและปอดของคุณและคนที่คุณรัก ด้วยโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

ราคา 3,000 บาท

บริการอุปกรณ์ตรวจเช็คคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พกพาได้

ติดตามการเต้นของหัวใจแบบทางไกล เหมาะกับใครบ้าง ผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ พบอาการไม่บ่อยเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งไม่สามารถตรวจพบหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยวิธีตรวจอื่นๆ

ราคา 12,000 บาท

Exercise Ready มาเตรียมความพร้อม ก่อนกลับไปออกกำลังกาย

ตรวจเช็กให้มั่นใจก่อนกลับไปออกกำลังกาย เพื่อความปลอดภัยและได้สุขภาพที่แข็งแรงกลับมา

ราคา 12,581 บาท

Weight Management ลดน้ำหนักให้ได้ผลและปลอดภัยกับผู้เชี่ยวชาญ

ให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยดูแล เพื่อให้ได้น้ำหนักที่พอใจ พร้อมกับสุขภาพที่แข็งแรง

ราคา 15,668 บาท