โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ลิ้นหัวใจรั่วที่ศูนย์หัวใจรักษาอย่างไร

March 28 / 2024

 

 

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

เมื่อพูดถึงความผิดปกติของหัวใจ หลายคนคงเกิดคำถามว่า จริงๆ แล้ว เป็นโรคร้ายแค่ไหน สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ต้องผ่าตัดวิธีใด และจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลไหม ซึ่งในปัจจุบัน ด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย และได้มาตรฐาน ทำให้การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือลิ้นหัวใจรั่ว เป็นไปได้ง่าย และปลอดภัยกว่าในอดีตมาก ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง มีความพร้อมดูแลรักษาหัวใจทุกดวง ตั้งแต่การป้องกัน ตลอดจนการแก้ไขความผิดปกติโดยไม่ต้องผ่าตัด ทำให้มั่นใจได้ว่า ภาวะเหล่านี้รักษาให้หายได้ รู้สึกอุ่นใจ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติอีกครั้ง

‘จี้ไฟฟ้าหัวใจ’ รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ด้วยคลื่นวิทยุ

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญของแพทย์ทำให้การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีความก้าวหน้ามากกว่าที่ผ่านมาในอดีต โดยเฉพาะในกรณีที่หัวใจยังทำงานเป็นปกติ การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ บางโรคมีโอกาสรักษาให้หายสูงถึง 90-95% ด้วยการจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (Radiofrequency Catheter Ablation, RFCA) ซึ่งถือเป็นการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยไม่ต้องผ่าตัด เจ็บตัวน้อย และมีภาวะแทรกซ้อนต่ำ

 

การรักษาด้วยวิธีนี้ แพทย์จะทำการสวนสายสวนหัวใจจากบริเวณขาหนีบ ให้ตรงกับตำแหน่งของวงจรไฟฟ้าหัวใจที่เกิดความผิดปกติ และส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปยังตำแหน่งนั้นๆ โดยคลื่นดังกล่าวจะทำให้เกิดความร้อนต่ำๆ ขึ้นที่ส่วนปลายของสายสวนหัวใจเพื่อจี้รักษา แม้ในผู้ป่วยที่พบความผิดปกติหลายตำแหน่ง อาจต้องทำซ้ำ 2-3 ครั้ง แต่โดยรวม ถือว่าเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูง และให้ผลดี ทำให้ผู้ที่เข้ารับการรักษาเจ็บตัวน้อย มีโอกาสหายขาดสูง คุ้มค่า และไม่ต้องทานยาไปตลอดชีวิต

 

 

วิธีป้องกันโรคลิ้นหัวใจ

 

 

วิธีการป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่วในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

วิธีการป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่วในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ในกรณีที่ไม่ได้มีความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด โรคลิ้นหัวใจรั่วสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้เช่นเดียวกับโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

 

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง รวมถึงเนื้อสัตว์แปรรูปประเภทต่าง ๆ
  • งดสูบบุหรี่ และงดดื่มแอลกอฮอล์
  • รักษาสุขอนามัยช่องปาก
  • ควบคุมความเสี่ยงที่เกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และภาวะคอเลสเตอรอลสูง เป็นต้น

 

หากพบว่าตัวเองมีความเสี่ยง ก็ควรหมั่นสังเกตตัวเองว่าเข้าข่ายหรือไม่ รวมถึงเข้ารับการตรวจเช็กร่างกายและสุขภาพหัวใจทุกปี ในกรณีที่พบว่ามีอาการแน่นหน้าอก หรือมีอาการผิดปกติ ก็ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อป้องกันความรุนแรงตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม

 

ออกกำลังกายอย่างไร หากมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือลิ้นหัวใจรั่ว

การออกกำลังกายนับว่ามีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ เพราะนอกจากจะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือดแข็งแรงขึ้นแล้ว ยังเป็นการช่วยเพิ่มการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้อย่างดีอีกด้วย แต่ถึงแม้การออกกำลังกายจะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มสมรรถภาพโดยรวมของหัวใจ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ก็ยังมีความจำเป็นที่จะเลือกประเภทกีฬาที่เหมาะสม โดยรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ คือ การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ อาทิ แอโรบิค เดิน วิ่ง ปั่นจักรยานอยู่กับที่ ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่เน้นการเสริมสร้างความแข็งแรงให้หัวใจสามารถนำออกซิเจนมาใช้ได้มากขึ้นนั่นเอง

 

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคหัวใจควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กำหนดระยะเวลาครั้งละประมาณ 30 นาทีต่อวัน จำนวน 3-5 วันต่อสัปดาห์ แต่ควรระมัดระวังไม่ออกกำลังกายอย่างหักโหมจนเกินไป โดยเฉพาะในช่วงแรกที่เริ่มออกกำลังกาย ถ้าเป็นไปได้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจเพื่อหาขอบเขตและโปรแกรมออกกำลังกายที่ปลอดภัย ควรซ้อมเบา ๆ ไม่รีบร้อน รวมถึงหยุดพักเมื่อรู้สึกเหนื่อยหรือเริ่มมีอาการแน่นหน้าอก และควรรีบหยุดออกกำลังกายทันที หากมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะ หน้ามืด และควรนั่งพักในที่ที่มีอากาศถ่ายเท โดยสามารถอมยาใต้ลิ้นตามข้อบ่งใช้ และหากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

 

 


TAVI รักษาลิ้นหัวใจ

 

 

TAVI เทคนิครักษาลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด

 

ในปัจจุบันการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด หรือ ‘TAVI’ (Transcatheter Aortic Valve Implantation) เป็นอีกหนึ่งวิธีการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจเดิมที่เสื่อมสภาพ ด้วยการใช้สายสวนผ่านบริเวณหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณขาหนีบ โดยเมื่อสายสวนเข้าถึงบริเวณลิ้นหัวใจที่ตีบ แพทย์จะทำการปล่อยลิ้นหัวใจเทียมที่ม้วนพับอยู่ให้กางออก กลายเป็นลิ้นหัวใจใหม่แทนของเดิมที่ใช้การไม่ได้ โดยวิธีนี้ นอกจากจะสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้อย่างดีแล้ว อุปกรณ์การรักษายังมีขนาดกะทัดรัด ช่วยให้แผลมีขนาดเล็ก เจ็บน้อย ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว ลดระยะเวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาล และได้ผลดีเหมือนการผ่าตัดหัวใจแบบมาตรฐาน ที่ทางศูนย์หัวใจอยากแนะนำ

แพ็กเกจตรวจความเสี่ยงโรคหัวใจที่ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง

แพ็กเกจตรวจความเสี่ยงโรคหัวใจ ที่ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง มีรายละเอียดแต่ละแพ็กเกจดังนี้

 

  • โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Healthy heart package (ชาย-หญิง) ราคา 5,990 บาท
  • โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Healthy heart plus package (ชาย-หญิง) ราคา 6,990 บาท
  • โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Advanced Intensive heart package (ชาย-หญิง) ราคา 9,990 บาท
  • โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Advanced Intensive heart plus (ชาย-หญิง) ราคา 14,990 บาท

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

คุณจะมีความสุขแค่ไหน ? ถ้าไม่จำเป็นต้องใส่แพมเพิสอีกต่อไป

คุณจะมีความสุขแค่ไหน?.. ถ้าไม่ต้องใส่แพมเพิส

ราคา 3,500 บาท

แพ็กเกจวัคซีนปอดอักเสบ Vaxneuvance (PCV 15) 1 เข็ม

เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย ห่างไกลโรค IPD

ราคา 3,250 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Platinum plus Check up สุภาพสตรี

เพราะร่างกายผู้หญิงซับซ้อนมากกว่าที่คิด ตรวจสุขภาพดูแลป้องกันก่อนที่จะสายเกินไป เพื่อให้คุณใช้ชีวิตได้แบบที่ต้องการ

ราคา 59,990 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Platinum Check up สำหรับกลุ่มสุภาพบุรุษ

เตรียมสุขภาพให้พร้อมสำหรับอนาคต ป้องกันความเสี่ยงจากโรคร้ายแรง

ราคา 30,990 บาท

บัตรกำนัลเงินสด Ramkhamhaeng Gift Card

"แทนความห่วงใย" & "ของขวัญเยี่ยมไข้" มอบสุขภาพดีเป็นของขวัญสุดพิเศษ ด้วยบัตรกำนัลเงินสด Ramkhamhaeng Gift Card

ราคา 1,000 บาท