ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน รู้ก่อนค่อยอุ่นใจทั้งก่อน-หลังเริ่มชีวิตคู่

March 12 / 2025

ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน

 

 

     ชีวิตคู่อาจไม่ราบรื่นหากไม่รู้เรื่องสุขภาพของแต่ละฝ่ายตั้งแต่เนิ่น ไม่ใช่แค่ผลกระทบจากโรค แต่ยังเกี่ยวพันถึงอนาคตของลูกน้อยทั้งก่อนและหลังลืมตาดูโลก ซึ่งเป็นเหตุผลที่ควรตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน รู้ไว้.. อุ่นใจ 

 

เหตุผลที่ควรตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน

1. สกัดกั้นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

     โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ลุกลามได้ง่ายหากรักษาช้า ทั้งยังเป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ชีวิตรักไม่ราบรื่นเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นซิฟิลิส เอดส์ HIV ไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซีเป็นตัวอย่างที่พบบ่อย

 

2. เตรียมพร้อมรับบทบาท ‘แม่’

     กว่าจะรู้ตัวว่าลูกของเราเป็นโรคอะไรก็อาจสายไป การรู้โอกาสเสี่ยงเกิดโรคก่อนกำเนิดจึงเป็นเทรนด์อนาคตที่เราวางแผนชีวิตน้อยให้เกิดมาอย่างสมบูรณ์และเติบโตแข็งแรงสมวัย  ไม่ว่าจะเป็นอายุของคุณแม่ ความแข็งแรงของเชื้ออสุจิ ภาวะครรภ์เป็นพิษ ความผิดปรกติระดับยีนส์ซึ่งส่งผลต่อเด็ก เช่น โรคดาวน์ซินโดรม ตาบอดสี

 

3.  ประเมินรับความเสี่ยงยามฉุกเฉิน

     การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานจัดเป็นแผนสำรองรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จำเป็นต้องใช้เลือด หากอีกฝ่ายต่างรู้แก่กันว่าใครมีหมู่เลือดใด ก็สามารถใช้ทดแทนแก่กันได้

 

ประเภทการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน

1. การตรวจแบบทั่วไป

     การตรวจสุขภาพโดยทั่วไปครอบคลุมเรื่องโรคความผิดปรกติทางเพศสัมพันธ์ ลักษณะถ่ายทอดทางพันธุกรรม และความสมบูรณ์ของร่างกายโดยรวม

 

2. การตรวจสุขภาพด้วยโปรแกรมพิเศษ

ผู้เข้ารับการตรวจสามารถตรวจหาความผิดปรกติในเชิงลึกเฉพาะโรค ไม่ว่าจะเป็น

 

  • ตรวจสุขภาพหัวใจ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย ตรวจการทำงานของหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง

 

 

ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน

 

 

การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ต้องตรวจอะไรบ้าง

1.  การตรวจความสมบูรณ์ของร่างกายโดยรวม (Physical Examination)

     ผู้เข้ารับการตรวจจะได้รับการดูแลของอายุรแพทย์ในแต่ละด้าน ซึ่งครอบคลุมการตรวจความดันเลือด ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจการทำงานของไตเอกซเรย์ปอด ไทรอยด์ ฯลฯ

 

2.  การตรวจวัดความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)

     การตรวจวัดความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดทำไปเพื่อสืบสาวสาเหตุของหลากอาการ เช่น ไข้ น้ำหนักลดแบบไร้สาเหตุ ภาวะหมดแรง โดยดูจากลักษณะของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด หากพบความผิดปรกติก็อาจบ่งชี้ว่าอาจเป็นโรคโลหิตจาง มะเร็งเม็ดเลือด ธาลัสเมีย หรือภาวะติดเชื้ออื่น

 

3.  การตรวจหมู่เลือด (ABO and Rh Blood)

     สำหรับใช้กรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้เลือด ก็สามารถเตรียมรับภาวะเสี่ยงได้ไว นอกจากนี้การตรวจค่า Rh ของเลือดยิ่งจำเป็นโดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์ หากมี Rh- ขณะที่คู่สมรสเป็น Rh+ ก็มีโอกาสที่ลูกในครรภ์มี Rh+ และเลือดของแม่ทำอันตรายต่อลูกได้

 

4.  การตรวจหาโรคทางพันธุกรรม

     การตรวจหาโรคทางพันธุกรรมยังช่วยเราประเมินความเสี่ยงที่เกิดกับลูกได้อย่างดี หนึ่งในนั้นคือธาลัสซิเมียและความผิดปรกติทางพันธุกรรมอื่นที่แอบแฝงซึ่งมีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคจากพาหะ

 

5.  การตรวจหาเชื้อและภูมิคุ้มกันตับอักเสบบีและซี (HBsAg and Anti HBs)

     ล้วนเป็นโรคที่ถ่ายทอดการมีเพศสัมพันธ์และการสัมผัส ทั้งยังเป็นจุดเริ่มของมะเร็งตับและโรคแทรกซ้อนชนิดอื่น

 

6.  การตรวจหาเชื้อเอดส์ (Anti HIV)

     เพื่อให้ใช้ชีวิตคู่อยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัยและรักษาได้ทันท่วงที

 

7.  การตรวจหาเชื้อซิฟิลิส (VDRL)

     ไว้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ การติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานและภาวะมีบุตรยา

 

8.  การตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน (Rubella IgG)

     โดยเฉพาะสุภาพสตรี หากไม่ได้รับข้อชี้แนะจากแพทย์ประจำตัวก่อนตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เด็กในครรภ์ได้รับผลกระทบจากความผิดปรกติดังกล่าว

 

 

 

 

คำแนะนำหลังการตรวจ

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำ แพทย์อาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้ชีวิต
  • เลือกรับประทานอาหาร รักษาสมดุลเลือกอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ โปรตีนและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ หรือโยคะ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง
  • จัดการกับความเครียด เช่น การฝึกหายใจ หรือการใช้เวลากับกิจกรรมสันทนาการผ่อนคลายจิตใจ
  • ตรวจสุขภาพต่อเนื่อง ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อให้สามารถติดตามสุขภาพได้อย่างใกล้ชิด

 

อุ่นใจทั้งก่อนและหลังแต่งงานกับโรงพยาบาลรามคำแหง

     โรงพยาบาลรามคำแหงพร้อมใส่ใจสุขภาพให้คุณดำเนินชีวิตคู่ได้อย่างราบรื่นด้วยเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงและหลักการตรวจสุขภาพสมัยใหม่จากอายุรแพทย์ชำนาญการเฉพาะด้าน ให้ล่วงรู้สภาพร่างกายเชิงลึกเพื่อให้คุณวางแผนชีวิตให้ตั้งตรงมั่นคงจากฐานราก

 

รายการตรวจสุขภาพแนะนำ