พญ. ธิตินันท์ ตัณสถิตย์
สูติ-นรีเวช (เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์)
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
พญ. ธิตินันท์ ตัณสถิตย์
สูติ-นรีเวช สาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งมักเกิดหลังจากอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะร่วม
สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีหลักฐานบางส่วนเผยให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่เกิดจากเลือดไปหล่อเลี้ยงมดลูกและรกไม่เพียงพอรกจึงทำงานได้ไม่ดี โดยเฉพาะกลุ่มคุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีอาการ แต่เมื่อมาฝากครรภ์กลับพบว่ามีความดันโลหิตสูงขึ้น หากอาการรุนแรงก็เกิดอาการปวดหัว ตาพร่า จุกแน่นลิ้นปี่ มีบวมที่แขนหรือขา ซึ่งหลังจากแพทย์
หากเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ
ลูกในครรภ์อาจเกิดเจริญเติบโตช้าและเสียชีวิต รกลอกตัวก่อนกำหนด มีตกเลือดก่อนหรือหลังคลอด สตรีมีครรภ์ควรเข้าพบสูตินรีแพทย์เพื่อเฝ้าระวังและหมั่นสังเกตอย่างใกล้ชิดว่ามีอาการหน้าบวม แขนขาบวม ปัสสาวะเป็นฟอง หรือเกิดอาการปวดหัวตาพร่า
หากพบอาการดังกล่าวควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่ามีโอกาสเสี่ยงเกิดครรภ์เป็นพิษหรือไม่ โดยตรวจดูว่าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกมีความต้านทานของหลอดเลือดหรือไม่ รวมทั้งเจาะเลือดบางตัว เช่น placental growth factor และ pregnancy associated plasma protein A (PAPP-A) เพื่อดูว่าหลอดเลือดในรกเจริญฝังตัวในมดลูกดีหรือเปล่าก็ช่วยให้ทำนายโอกาสเสี่ยงเกิดครรภ์เป็นพิษได้ และอาจพิจารณาให้ยาแอสไพรินในขนาดต่ำๆ เพื่อลดเสี่ยงเกิดครรภ์เป็นพิษและภาวะแทรกซ้อน
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ “ครรภ์เป็นพิษ” ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดครรภ์เป็นพิษและภาวะแทรกซ้อน
แก้ไขล่าสุด 25/08/64
สูติ-นรีเวช (เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์)