พญ. ธิตินันท์ ตัณสถิตย์
สูติ-นรีเวช (เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์)
คำแนะนำการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์
พญ. ธิตินันท์ ตัณสถิตย์
สูติ-นรีเวช สาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
คุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวในช่วงสัปดาห์ที่ 16-20 ของการตั้งครรภ์โดยอาการลูกดิ้นในช่วงแรกจะให้ความรู้สึกเหมือนปลาตอดอยู่ภายในท้อง บ้างก็รู้สึกเหมือนเส้นประสาทกระตุกเบา ๆ การขยับตัวของทารกจะมีทั้งการเตะ ต่อย การพลิกตัวและม้วนตัว
ช่วงแรกทารกในครรภ์จะขยับตัวเพียงเล็กน้อยและไม่บ่อย แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงของการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน) ทารกจะขยับตัวมากขึ้น ทำให้คุณแม่สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของเด็กได้อย่างชัดเจนและบ่อยมากขึ้น แต่เนื่องจากทารกยังมีขนาดตัวเล็กและน้ำคร่ำยังมีปริมาณมากอยู่ ทำให้คุณแม่ไม่สามารถรับรู้การขยับตัวได้ทุกครั้ง คุณแม่เพียงสังเกตว่าทารกดิ้นทุกวันก็เพียงพอแล้ว
เมื่อทารกอายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ขึ้นไป คุณแม่จะรับรู้การเคลื่อนไหวของเด็กได้ชัดขึ้น การสังเกตความถี่ของการดิ้นของทารกจะต้องทำในช่วงเวลาที่เด็กมักจะขยับตัวมากที่สุด โดยเมื่อถึงช่วงเวลานั้น ให้คุณแม่นั่งหรือเอนหลังลงกับเก้าอี้ที่นั่งสบาย โดยให้ทารกแนบกับตัวคุณแม่ จากนั้นให้นับจำนวนการดิ้นของทารกที่รู้สึกได้ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 8 ครั้งในระยะเวลา 2 ชั่วโมง
หากน้อยกว่านี้ควรมาพบแพทย์ เพื่อตรวจเพิ่มเติม ควรนับลูกดิ้นแบบนี้ทุกวันกระทั่งคลอด อีกวิธีหนึ่งคือนับจำนวนครั้งของการดิ้น ใน 1 ชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 4 ครั้งใน 1 ชั่วโมง
หลังอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ เราสามารถกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลูกได้ ด้วยวิธีง่ายๆที่มีความปลอดภัย
อ่านเพิ่มเติม: การตรวจอัลตราซาวด์ 4 มิติ ติดตามการเจริญเติบโตทุกช่วงอายุครรภ์
การดิ้นของลูก บ่งบอกถึงความสมบูรณ์แข็งแรงของลูกน้อยในครรภ์ การนับลูกดิ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ต้องใส่ใจ
สูติ-นรีเวช (เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์)