พญ. ปนัดดา สุวานิช
อายุรกรรมโรคหัวใจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
บางท่านอ่านหัวข้อแล้วอาจจะรู้สึกตกใจว่า 'โรคความดันโลหิตสูง' เป็นสุดฮิตที่พบมากถึง 30-45% และเมื่อเป็นแล้วจะเกิดโรคร้ายตามมา เช่น อัมพฤกษ์-อัมพาต ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไต หรือแม้แต่อาการผิดปกติอย่างอาการปวดต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม บางท่านที่เป็นอาจยังไม่มีอาการอะไร แต่หากปล่อยไว้นานจะเกิดอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ หมอจึงขอนำเสนอหนทางรักษาโรคที่น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยและญาติที่เป็นโรคนี้ค่ะ
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือ ภาวะที่แรงดันของเลือดที่มีต่อผนังเลือดสูงพอที่อาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจต่าง ๆ ได้ในระยะยาว ความดันโลหิตแปรผันด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่
บางคนที่เป็นความดันโลหิตสูงอยู่หลายปีอาจไม่มีอาการใด แต่เมื่อรู้ตัวอีกทีก็เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง บางรายอาจมีอาการปวดหัว เลือดกำเดาไหล หายใจไม่ทัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะมีก็ต่อเมื่อมีความดันสูงมากจนอยู่ในเกณฑ์อันตรายและอาจเสียชีวิตได้
โดยทั่วไปโรคความดันโลหิตสูงเกิดได้ใน 2 แบบ ได้แก่
เราสามารถควบคุมความดันโลหิตสูงได้แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการป้องกัน
ตามแนวทางการรักษาของสมาคมโรคหัวใจยุโรปควรจะต้องตรวจหาว่า ความดันโลหิตสูงได้ทำลายอวัยวะภายในโดยที่เรายังไม่มีอาการหรือเปล่า ซึ่งจะมีผลต่อให้แพทย์เลือกใช้ยารักษาที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
ความดันโลหิตสูงสามารถวัดด้วย "เครื่องวัดความดัน" ซึ่งวัดได้จากท่อนแขนส่วนบนจนปรากฏเป็น 2 ค่า ได้แก่
วัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การรักษาโรคความดันโลหิตสูงจึงแบ่งได้ 2 วิธี ได้แก่
เป้าหมายคือการคุมความดันให้ได้ตามเกณฑ์ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามภาวะของผู้ป่วย โดยทั่วไปถือให้ความดันไม่เกิน 140/90 แต่ถ้าอายุมากหมอจะขยับเป็นไม่เกิน 150 ค่ะ ถ้าคุมได้ ไม่ว่าจะใช้ยาหรือปรับพฤติกรรม ก็พบว่าผู้ป่วยมีอัตราตายลดลง หรือพูดง่ายๆ ว่าอายุยืนกว่าคนที่ไม่ได้รักษา ดังนั้นโรคนี้จำเป็นต้องรักษาต่อเนื่อง หากความดันดีแล้วคุณหมออาจจะลดยาหรืออาจจะไม่ต้องใช้ยาแล้วก็ได้ค่ะ
การรักษาความดันโลหิตสูง โรคฮิตร้ายกาจที่ไม่ออกอาการอะไร ทำได้ง่ายหากเราใส่ใจตัวเอง ทานยาต่อเนื่อง ปรับพฤติกรรมและเข้าพบแพทย์ตามนัด ผลตอบแทนที่ได้คือสุขภาพที่ดี ไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน ช่วยเหลือตัวเองได้และมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย อย่าลืมดูแลตัวเองนะคะ
อายุรกรรมโรคหัวใจ