นพ. พูนศักดิ์ เลาหชวลิต
อายุรศาสตร์ต่อมไร้ท่อ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งมีผลมาจากความบกพร่องของการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ภาวะดื้ออินซูลินหรือภาวะทั้งสองอย่างร่วมกัน
เนื่องจากคนปรกติจะมีการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้พอเหมาะ แต่กลไกนี้มีความบกพร่องหรือออกฤทธิ์ได้ไม่ดีในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจระดับน้ำตาลและปรับขนาดของยา การที่ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานยาขนาดเดียวกันอยู่ตลอดเวลาอาจไม่สามารถควบคุมน้ำตาลให้สม่ำเสมอ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของอาหารและการพัฒนาของโรค) ตรวจหาภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น เส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน (Diabetic Neuropathy) จอประสาทตาเสื่อม (Retinopathy) หากเมื่อพบภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยเร็ว แพทย์จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที
เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงย่อมส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการ
หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานและไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมจะส่งผลให้ภาวะเลือดเป็นกรด (DKA: Diabetic Ketoacidosis) ซึ่งนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังทางตา ไต ปลายประสาท และความเจ็บป่วยอื่นตามมา
อ่านเพิ่มเติม: ระวัง!.. 5 พฤติกรรมเสี่ยง "เบาหวาน" ที่คุณอาจไม่รู้ตัว
ดังนั้น เบาหวานจึงเป็นโรคที่ต้องการการรักษาที่สม่ำเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้รับการควบคุมรักษาอย่างถูกต้องพบว่ามีอาการผิดปกติทางตาได้บ่อย เช่น ตามัว จอประสาทตาเสื่อมหรือเบาหวานขึ้นตา ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการตรวจตาอย่างละเอียด โดยจักษุแพทย์ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ อย่างน้อยปีละครั้ง ถ้าตรวจพบได้เร็วและได้รับการดูแลในระยะแรกของโรค ก็จะช่วยป้องกันสายตาของเราจากจอประสาทตาเสื่อม จากโรคเบาหวานได้
อ่านเพิ่มเติม: เบาหวานในเด็ก
ภาวะไตเสื่อมจากเบาหวานในระยะแรกเริ่มจะไม่ปรากฏอาการ การวัดระดับสารพิษในเลือดจะยังไม่พบอะไรผิดปกติ หากรอให้ระดับสารพิษในเลือดสูง ไตมักเสียหายไปกว่า 90% แล้ว แต่การตรวจปัสสาวะจะเริ่มพบอัลบูมินหรือไข่ขาวเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการตรวจระดับไข่ขาวในปัสสาวะจึงสำคัญมากในการคัดกรองความผิดปกติของไตในระยะแรกเริ่มและควรได้รับการตรวจอย่างสม่ำเสมอทุกปี
ผู้ป่วยเบาหวานควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจระดับน้ำตาลและปรับขนาดของยา และตรวจหาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หากเมื่อพบภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยเร็ว แพทย์จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที
อายุรศาสตร์ต่อมไร้ท่อ
อายุรศาสตร์ต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสึม
อายุรศาสตร์ต่อมไร้ท่อ
อายุรศาสตร์ต่อมไร้ท่อ